กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ work health work place

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานประจำปี ๒๕๖๕ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ระบุว่ากลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพและการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยผลการสำรวจ NHES ครั้งที่ 6 พบว่า ประชากรไทยร้อยละ 48.8 หรือเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง และ 1 ใน 3 ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน และไม่ทราบตัวเลขและความเสี่ยงของตนเอง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อน อาทิ โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ข้อมูลกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ พบอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๒๐๖,๓๐๐ราย พื้นที่อำเภอหาดใหญ่พบอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวม ๕๐,๙๗๑ ราย ในตำบลทุ่งตำเสา มีอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูง ๑๗๙ คน และโรคเบาหวาน ๒๘๕ คน (ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดสงขลา) ข้อมูลปี ๒๕๕๙ จังหวัดสงขลาพบสาเหตุการเสียชีวิต ๑๐ อันดับแรก เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และในปี ๒๕๖๖ เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบุคลากรอยู่ในวัยทำงานได้เสียชีวิตจากภาวะโรคหลอดเลือดสมอง ๒ ราย
โรคความดันโลหิตสูง ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากการหัวใจมีแรงดันเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และแตกเปราะง่ายจึงเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองแตก การป้องกันโรคจำเป็นต้องให้ความรู้ กระตุ้นเตือน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ซึ่งผลการวิจัยระบุว่าแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความรุนแรงของการเกิด โรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง) มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ (กรรณิการ์ เงินดี, 2563) และการควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาตได้ (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2563) รวมถึงผลการศึกษาที่ระบุว่าการป้องกันโดยการปรับเปลี่ยนปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรค ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองมากที่สุด ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่จากผู้อื่น การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และภาวะอ้วน ซึ่งบุคคลสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยการเริ่มต้นดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเอง โดยการหมั่นตรวจสุขภาพ และลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด (ชลธิรา กาวไธสง และรุจิรา ดวงสงค์, 2557)
เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เป็นองค์กรที่มีบุคลากรรวม ๑๘๙ คน ซึ่งอยู่ในวัยทำงาน ที่มีความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและองค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นอย่างมาก จากสถานการณ์ที่พบอัตราตายของบุคลากรจากภาวะหลอดเลือดสมอง ๒ ราย บ่งชี้ว่าพนักงานให้ความสำคัญกับการทำงาน ประกอบอาชีพหารายได้มากกว่าการดูแลสุขภาพตนเอง ชีวิตรีบเร่งมีความเครียดจากการทำงาน ปัจจัยภายนอกเหล่านี้ทำให้เกิดพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ได้แก่อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารที่มีไขมันสูง ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง จัดการความเครียดไม่เหมาะสม ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ พฤติกรรมเหล่านี้จึงส่งผลต่อการเกิดโรค ดังนั้นงานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุขกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา จึงจัดทำโครงการ work healthwork place ขึ้นเพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านโรคไม่ติดต่อเรื้องรังในกลุ่มวัยทำงาน เพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพของบุคลากรในองค์กร และเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคติดต่อไม่เรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองความเสี่ยงด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มวัยทำงาน

ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของกลุ่มวัยทำงาน ในองค์กร

๑. องค์กรมีฐานข้อมูลสุขภาวะสุขภาพของบุคลากร ๒. มีจุดในคำปรึกษาและประเมินภาวะสุขภาพของบุคลากรอย่างน้อย ๑ จุด ๓. ร้อยละ ๘๐ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลสุขภาพโดยบุคลากรสาธารณสุข

0.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ร้อยละ๘๐ ของกลุ่มเสี่ยงด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 189
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งจุดบริการสุขภาพดีวัยทำงานในองค์กรเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา “จุดบริการสุขภาพเบื้องต้น”

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งจุดบริการสุขภาพดีวัยทำงานในองค์กรเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา “จุดบริการสุขภาพเบื้องต้น”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ไวนิล/ป้ายสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ด ประชาสัมพันธ์เชิญชวนการใช้บริการ     - คู่มือสุขภาพ
        -จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ  แบบสอดแขน จำนวน ๑ เครื่องเป็นเงิน ๗๐,๐๐๐.-บาท (อ้างอิงบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ สำนักงบประมาณ ๒๕๖๔)
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด ๑ x ๑.๖ เมตร x ๑ แผ่น  x ๒๔๐ บาท  เป็นเงิน ๒๔๐.-บาท
    • ป้ายสติ๊กเกอร์โฟม ขนาด ๓๐ x ๔๐ซม. x ๑ แผ่น  เป็นเงิน ๔๐๐.-บาท
  • ค่าจัดทำคู่มือสุขภาพ ๕๐ บาท x ๑๘๙ เล่มเป็นเงิน ๙,๔๕๐.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับคู่มือสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
80090.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองความเสี่ยงสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงานสังกัดเทศบาล

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองความเสี่ยงสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงานสังกัดเทศบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำทะเบียนคัดกรองสุขภาพ
    • จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง
  • จัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์
       เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐.-บาท     ๑) แผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน ๘ กล่อง กล่องละ ๕๐ ชิ้น
        ๒) เข็มเจาะเลือด (บรรจุ ๒๐๐ชิ้น/กล่อง) จำนวน ๒ กล่อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ได้ทราบถึงสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓อ ๒ส
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ๓ ชั่วโมง x ๖๐๐ บาท x ๒ คน  เป็นเงิน ๓,๖๐๐.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑๘๙ คน x ๒๕ บาท x ๑ มื้อ   เป็นเงิน ๔,๗๒๕.-บาท - ค่าไวนิล ๑.๒ x ๒.๔ เมตร x ๑ ผืน  เป็นเงิน ๔๓๒.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓อ ๒ส

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8757.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เดือนละ   ๑ ครั้ง จำนวน ๔ ครั้ง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๕๐ คน x ๒๕ บาท x ๔ มื้อ   เป็นเงิน ๕,๐๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 29 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมได้รับทราบผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเสริมสร้างแจงจูงใจแก่บุคลากรในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเสริมสร้างแจงจูงใจแก่บุคลากรในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเสริมสร้างแจงจูงใจแก่บุคลากรในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการมอบรางวัล “บุคคลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพภายในองค์กร” จำนวน ๓ รางวัล เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจให้กลุ่มเป้าหมายหันมาดูแลสุขภาพตนเอง 
- ค่าจัดทำเกียรติบัตร จำนวน ๓ อัน อันละ ๒๐๐ บาท  เป็นเงิน   ๖๐๐.-บาท - ค่าจัดซื้อของรางวัลชิ้นละ ๕๐๐.-บาท จำนวน ๓ ชิ้น   เป็นเงิน ๑,๕๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2567 ถึง 24 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมได้รับการเสริมสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการมอบรางวัล “บุคคลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพภายในองค์กร”

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปและรายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและรายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปและรายงานผลโครงการ - ค่าจัดทำเล่มสรุปรายงานโครงการ  ๒๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำเล่มสรุปโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 106,147.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และพนักงานในสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ได้รับการคัดกรองเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
๒. คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และพนักงานในสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา สามารถเข้าถึงบริการตรวจวัดความดันโลหิตได้สะดวก สามารถจัดการตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
๓. คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และพนักงานในสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง


>