กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดเสี่ยงเลี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

โรงพยบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา

นางอาภรณ์ เจะอุบง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ตำบลบานา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองตีบ (อัมพฤกษ์ อัมพาต) เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญระดับประเทศ เป็นสาเหตุการป่วย พิการ และเสียชีวิตอันดับต้นๆของโลกรวมถึงประเทศไทย ส่งผลให้เกิดภาระและการสูญเสียในทุกมิติทั้ง กาย จิต สังคม เศรษฐกิจ ต่อทั้งผู้ป่วยครอบครัว และประเทศชาติ โดยปัจจัยเสี่ยงหลักต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนไทยที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วน และการมีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองในครอบครัว การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีโรคประจำตัว เบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ใช้ยาในการรักษามากกว่า 3 ตัว ต้องได้รับการดูแลรักษา อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา มีบทบาทหน้าที่ในการดูแล รักษา ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ ประชาชนตำบลบานาในปี2565 ,2566 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,760,1,783 ราย สามารถคุมระดับความดันโลหิตได้ดี จำนวน401, 422 รายคิดเป็นร้อยละ 22.78 ,23.67และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 985 ,1,008 ราย สามารถคุมระดับเบาหวานได้ดี จำนวน 184 ,245 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.68 ,24.31 ตามลำดับ และยังพบว่า อุบัติการณ์การป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดความพิการปี2565 ,2566 มีจำนวน 50 ,70 คน ตามลำดับ(อ้างอิงข้อมูลHDC จังหวัดปัตตานี)ซึ่งจากการลงติดตามเยี่ยมบ้าน พบว่ากลุ่มพิการดังกล่าว ส่วนใหญ่ มีโรคความดันโลหิตสูง ,เบาหวานและไขมัน ได้รับการรักษาโดยใช้ยามากกว่า3 ตัวขึ้นไป, ขาดความต่อเนื่องในการรักษา , ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังไม่มีผู้ดูแล, ไม่อยากรับประทานยา เกิดความเบื่อหน่ายในการรับประทานยาจำนวนมากๆ ระยะเวลานานๆ ,ขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพเป็นต้นส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนโรคระบบหลอดเลือดตามมา กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งในปี2566 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตตำบลบานา ใช้ยารักษามากกว่า3ตัว มีจำนวน 173 รายและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ใช้ยาในการรักษามากกว่า3 ตัวมีจำนวน43 ราย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ใช้ยาในการรักษามากกว่า 3 ตัวขึ้นไป ( polypharmacy )ให้มีความรู้และตระหนักในการดูแลตนเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการลดเสี่ยงเลี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยและผู้ดูแล รวมถึง เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถประเมินภาวะเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้แบบประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) ให้แก่ประชาชนในเขตตำบลบานาได้ทราบโอกาสเสี่ยงของตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับถูกต้อง เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  2. ร้อยละ80 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เหมาะสม
  3. ร้อยละ95 กลุ่มเป้าหมายรับการรักษาต่อเนื่องไม่ขาดยา
0.00
2 เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย

ร้อยละ 90 ผู้ดูแล สามารถประเมินภาวะเสี่ยง และติดตามผู้ป่วยได้

0.00
3 เพื่อค้นหาบุคคลตัวอย่างในการดุแลสุขภาพให้เลี่ยงโรคหลอดเลือด

ติดตามกลุ่มเป้าหมายและประเมินสุขภาพโดยใช้ CVD risk มีแนวโน้มลดลง  จำนวน 3 ราย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/09/2023

กำหนดเสร็จ 31/10/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รู้เร็ว รู้ไว ลดเสี่ยงหลอดเลือด

ชื่อกิจกรรม
รู้เร็ว รู้ไว ลดเสี่ยงหลอดเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม รู้เร็วรู้ไว ลดเสี่ยงหลอดเลือด

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ใช้ยามากว่า3ตัวจำนวน 40 คน และญาติผู้ดูแล 40 คน

  1. นัดประชากรกลุ่มเป้าหมาย ณ. ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา

  2. มีการประเมินความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับโรคการรักษาและภาวะแทรกซ้อน ก่อนและหลังการอบรม

  3. ให้ความรู้เกี่ยวโรคเรื้อรัง/โรคหลอดเลือดสมองการสร้างแรงจูงใจในการรักษา ( Motivation Interview )และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

  4. มีการฝึกปฏิบัติการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVDrisk )

  5. ถอดบทเรียน อยู่อย่างไรไม่ให้เสี่ยงโรคแทรกซ้อน

  6. ให้ความรู้เรื่อง ยา , การบริหารยาด้วยตนเอง , การผ่อนคลาย จิตบำบัด

  7. แลกเปลี่ยนเรียนรู้(rolemodel )นำผู้ป่วยที่เคยเป็นstroke และสามารถดูแลตนเองได้ดี

  8. ติดตามเยี่ยมบ้าน โดย อสม. ครอบคลุมผู้ป่วย 40 คนพร้อมรายงานผล

  9. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

  • อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ( จำนวน 80 คน ผู้จัดอบรม 5 คน รวม 85 คน ) 35 บาท X 2 มื้อ X 85 คน เป็นเงิน 5,950.- บาท

  • อาหารกลางวัน( พร้อมผู้จัดอบรม) 60 บาท X 85คน เป็นเงิน 5,100.-บาท

  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม 40 บาทX 40 ชุด เป็นเงิน 1,600.-บาท

  • ค่าสมุดประจำตัว 30 บาท X 40 ชุด เป็นเงิน 1,200.-บาท

  • กล่องยาของฉัน 120 บาท X 40 ชุด เป็นเงิน 4,800.-บาท

  • ค่านวัตกรรมปฏิทินยา คู่ใจ 100 บาท X 40 ชิ้น เป็นเงิน 4,000.-บาท

  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด1เมตรX3เมตรจำนวน1 ป้าย เป็นเงิน 750.- บาท

  • ค่าสื่่อไวนิลความรู้โรคหลอดเลือดสมอง ( roll up )ขนาด80 X 160 cm จำนวน 3 ป้าย x 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท

  • ค่าสื่่อไวนิลความรู้โรคหลอดเลือดหัวใจ ( roll up )ขนาด80 X 160 cm จำนวน 3 ป้าย x 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท

  • ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ ในการจัดอบรมเป็นเงิน 4,000.- บาท

  • ค่าวิทยากร 600 บาทX 6 ชม เป็นเงิน 3,600.- บาท

  • ค่าพาหนะ อสม.ติดตามผู้ป่วย ราคา 100 บาท x 40 คน เป็นเงิน 4,000.-บาท

  • ค่าเอกสารติดตามผู้ป่วย ราคา 40 บาท x 40 คน เป็นเงิน 1,600.-บาท

  • สื่อความรู้แผ่นพับ ราคา 25 บาท x 150 แผ่น เป็นเงิน 3,750.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วย/ผู้ดูแล และอาสาสมัครสาธรณสุขมีความรู้ –ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ,การรักษา,การใช้ยา ตลอดจนมารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและประเมิน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วยได้
2.กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
3. กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้ยาได้ถูกต้องและเหมาะสม
4.กลุ่มเป้าสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เหมาะสม และมีสุขภาพจิตดี
5.ชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจผ่านสื่อไวนิลเกี่ยวกับโรคเรื้อรังและนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องชุมชน
6.ผู้ป่วย ผู้ดูแลและ อาสาสมัครสาธารณสุขแปรผลจากสมุดประจำตัวได้และ ร่วมกันดูแลซึ่งกันและกัน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น


>