กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดเสี่ยงเลี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ
รหัสโครงการ 66-L3013-01-30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานาา
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กันยายน 2566 - 31 ตุลาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 46,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองตีบ (อัมพฤกษ์ อัมพาต) เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญระดับประเทศ เป็นสาเหตุการป่วย พิการ และเสียชีวิตอันดับต้นๆของโลกรวมถึงประเทศไทย ส่งผลให้เกิดภาระและการสูญเสียในทุกมิติทั้ง กาย จิต สังคม เศรษฐกิจ ต่อทั้งผู้ป่วยครอบครัว และประเทศชาติ โดยปัจจัยเสี่ยงหลักต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนไทยที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วน และการมีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองในครอบครัว การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีโรคประจำตัว เบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ใช้ยาในการรักษามากกว่า 3 ตัว ต้องได้รับการดูแลรักษา อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา มีบทบาทหน้าที่ในการดูแล รักษา ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ ประชาชนตำบลบานาในปี2565 ,2566 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,760,1,783 ราย สามารถคุมระดับความดันโลหิตได้ดี จำนวน401, 422 รายคิดเป็นร้อยละ 22.78 ,23.67และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 985 ,1,008 ราย สามารถคุมระดับเบาหวานได้ดี จำนวน 184 ,245 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.68 ,24.31 ตามลำดับ และยังพบว่า อุบัติการณ์การป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดความพิการปี2565 ,2566 มีจำนวน 50 ,70 คน ตามลำดับ(อ้างอิงข้อมูลHDC จังหวัดปัตตานี)ซึ่งจากการลงติดตามเยี่ยมบ้าน พบว่ากลุ่มพิการดังกล่าว ส่วนใหญ่ มีโรคความดันโลหิตสูง ,เบาหวานและไขมัน ได้รับการรักษาโดยใช้ยามากกว่า3 ตัวขึ้นไป, ขาดความต่อเนื่องในการรักษา , ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังไม่มีผู้ดูแล, ไม่อยากรับประทานยา เกิดความเบื่อหน่ายในการรับประทานยาจำนวนมากๆ ระยะเวลานานๆ ,ขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพเป็นต้นส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนโรคระบบหลอดเลือดตามมา กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งในปี2566 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตตำบลบานา ใช้ยารักษามากกว่า3ตัว มีจำนวน 173 รายและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ใช้ยาในการรักษามากกว่า3 ตัวมีจำนวน43 ราย ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ใช้ยาในการรักษามากกว่า 3 ตัวขึ้นไป ( polypharmacy )ให้มีความรู้และตระหนักในการดูแลตนเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการลดเสี่ยงเลี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยและผู้ดูแล รวมถึง เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถประเมินภาวะเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้แบบประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) ให้แก่ประชาชนในเขตตำบลบานาได้ทราบโอกาสเสี่ยงของตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับถูกต้อง เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  2. ร้อยละ80 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เหมาะสม
  3. ร้อยละ95 กลุ่มเป้าหมายรับการรักษาต่อเนื่องไม่ขาดยา
0.00
2 เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย

ร้อยละ 90 ผู้ดูแล สามารถประเมินภาวะเสี่ยง และติดตามผู้ป่วยได้

0.00
3 เพื่อค้นหาบุคคลตัวอย่างในการดุแลสุขภาพให้เลี่ยงโรคหลอดเลือด

ติดตามกลุ่มเป้าหมายและประเมินสุขภาพโดยใช้ CVD risk มีแนวโน้มลดลง  จำนวน 3 ราย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 85 46,350.00 0 0.00
28 - 30 ก.ย. 66 รู้เร็ว รู้ไว ลดเสี่ยงหลอดเลือด 85 46,350.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วย/ผู้ดูแล และอาสาสมัครสาธรณสุขมีความรู้ –ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ,การรักษา,การใช้ยา ตลอดจนมารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและประเมิน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วยได้ 2.กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น 3. กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้ยาได้ถูกต้องและเหมาะสม 4.กลุ่มเป้าสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เหมาะสม และมีสุขภาพจิตดี 5.ชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจผ่านสื่อไวนิลเกี่ยวกับโรคเรื้อรังและนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องชุมชน 6.ผู้ป่วย ผู้ดูแลและ อาสาสมัครสาธารณสุขแปรผลจากสมุดประจำตัวได้และ ร่วมกันดูแลซึ่งกันและกัน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2566 00:00 น.