กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา รหัส กปท. L5275

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการบูรณาการ ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน เพื่อสุขภาพกายดี ชีวีมีสุข
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควรจากสถิติข้อมูลของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ปี 2565 พบว่าการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรระหว่างอายุ 30- 69 ปีพบว่า อัตรา การตายสูงที่สุดคือโรคหลอดเลือดสมอง 48.7 ต่อแสน ประชากร รองลงมาคือโรคหัวใจขาดเลือด อัตราการตาย 32.3ต่อแสนประชากร, โรคเบาหวาน อัตราการตาย22.3 ต่อแสนประชากร, ภาวะความดันโลหิตสูง อัตราการตาย 12.2ต่อแสนประชากรและโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีอัตราการตาย11.4 ต่อแสนประชากรซึ่งสาเหตุการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเหล่านี้ เป็นปัญหาที่ยังคงจัดการได้ยากในการจะลดจำนวนคนที่จะไม่เป็นความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีโดยเฉพาะสาเหตุจากการใช้วิถีชีวิตแบบสังคมคนเมืองสมัยใหม่ ที่มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลงไป โดยการบริโภคอาหารหวาน มัน และเค็มเพิ่มขึ้นซึ่งส่วนใหญ่มาจากขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลมและเครื่องดื่ม ประเภทกาแฟและน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาลอาหารสําเร็จรูปประเภทถุงมีวางจําหน่าย หาซื้อง่าย ราคาถูกการโฆษณาอาหารที่ให้พลังงานสูงอาหารบริการด่วนและบริการส่งถึงบ้าน ทําให้อาหารที่ให้พลังงานสูงที่นานๆ เคยได้กินที กลายเป็นสิ่งที่กินได้ทุกวัน กินผักผลไม้น้อย คนไทยเฉลี่ยกินผักและผลไม้วันละ 270 กรัม ซึ่งต่ำกว่าปริมาณที่แนะนําวันละ 400 กรัมต่อวัน และขาดการออกกําลังกายจึงส่งผลให้คนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นและนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD)แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและระดมพลังทั้งสังคมเพื่อแก้ไขและขจัดปัญหาดังกล่าวผ่านกระบวนการทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยพ.ศ. 2561-2570 ซึ่งเป็นแผนระดับชาติเพื่อใช้เป็นกรอบชี้ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการเป็นเอกภาพด้วยการรวมพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนประชาชนมีศักยภาพในการจัดการปัจจัยเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อโรควิถีชีวิตเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ที่ลดเสี่ยงลดโรคลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดความตาย และลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งระดับบุคคลครอบครัวชุมชนสังคมสังคมสุขภาวะบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด ได้เล็งเห็นความสำคัญได้ดำเนินการตามนโยบายสาธารณสุขในการจัดทำโครงการบูรณาการ โดยลงค้นหาเชิงรุกในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในความรับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย ปี 2566 คัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 2,549 ราย และกลุ่มเป้าหมายคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2,144 รายผลการคัดกรอง ได้ร้อยละ 98 และยังค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังที่ขาดหายไปจากการรักษาหรือไม่รักษาต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการทางด้านสาธารณสุขให้ได้มากที่สุดจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุดในปีงบประมาณ 2565 - 2566พบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จํานวน 17 รายคิดเป็นร้อยละ9.65 และจำนวน16รายคิดเป็นร้อยละ8.64 โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จํานวน 59 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.40 จํานวน 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.78และผลการคัดกรอง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้นไป มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ เช่น ด้านดัชนีมวลกายเกิน , รอบเอวเกิน เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่ายังคงมีผู้ป่วยรายใหม่ไม่ลดลงจากเดิมเท่าที่ควรเพราะกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวอยู่ในช่วงวัยทํางานและเข้าถึงได้ยาก เพราะต้องทํางานหาเลี้ยงครอบครัวไม่ค่อยมีเวลาอยู่บ้านและเวลาในการปรุงหรือประกอบอาหารจึงซื้ออาหารปรุงสําเร็จ ซึ่งสะดวกกว่าและขาดการออกกําลังกายที่เหมาะสมดังนั้นจึงต้องดำเนินการเชิงรุกต่อเนื่องใน การคัดกรอง การดำเนินการปรับเปลี่ยนและติดตามพฤติกรรมผู้ที่อาจมีภาวะเสี่ยงเป็นโรคให้เข้มข้นมากขึ้นเพื่อให้เกิดสุขภาวะทางกายและทางจิตที่ดี และเป็นแรงผลักดันให้ชีวิตก้าวต่อไปในสังคมปัจจุบันอย่างมีคุณภาพ

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 99 ของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 99 ของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 50 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. เพื่อตรวจคัดกรองประเมินภาวะแทรกซ้อนทางตา และทางเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
    ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนได้รับการตรวจคัดกรองตา เท้า ร้อยละ 60
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป
    รายละเอียด

    กิจกรรมคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป  จำนวน  2,525  ราย ปี 2567 1.1  คัดกรองโดยใช้วัสดุการแพทย์ (รพ.สต.จัดซื้อ 50 % ตามเกณฑ์ตัวชี้วัด ยอดขอสนับสนุนจากเงินกองทุนสุขภาพ จำนวน 1,260 ราย เพื่อจัดคัดกรองแบบเชิงรุก ให้ประชาชนเข้าถึง 100%) ** ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น 1.วัสดุทางการแพทย์แถบตรวจน้ำตาลในเลือด 12 กล่อง ๆ ละ 100 ชิ้น กล่องละ 1,350  บาท  =  16,200  บาท 2.เข็มเจาะตรวจน้ำตาลในเลือด 200 ชิ้นต่อกล่อง จำนวน 6 กล่อง ๆ ละ990 บาท  =  5,940  บาท
    3. บัตรสีบอกโรค จำนวน 2,525 แผ่น ๆละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 1,262.5 บาท 4. อาหารว่างในการคัดกรอง  (ใช้ยอดจำนวนผู้เข้ารับการคัดกรองเชิงรับ จาก 3 ปี ย้อนหลัง โดยประมาณ จำนวน 4 หมู่บ้านเป็นยอด 700 ราย จำนวน 1 มื้อ ๆละ 10 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท (ข้าวต้ม) 5. ป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2*2.4 ม. เป็นเงิน 432 บาท

    งบประมาณ 30,835.00 บาท
  • 2. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามการแบ่งกลุ่มสัญญาณเตือนตน 8 สี
    รายละเอียด

    กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามการแบ่งกลุ่มสัญญาณเตือนตน 8 สี  กลุ่มเสี่ยง  60  ราย  และกลุ่มสงสัยป่วย  60  ราย  รวม  120  ราย 2.1 คัดกรองซ้ำหลังจากแนะนำปรับเปลี่ยน - เอกสารติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2 ส จำนวน 120 รายๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าป้ายปิงปอง 8 สี ในการทำกิจกรรมแปะชื่อเปลี่ยนสีแก่กลุ่มเสี่ยง จำนวน 4 แผ่น หมู่บ้านละ  1 แผ่น ๆ ละ 432 บาท ขนาด1.2*2.4 ม. เป็นเงิน 1,728 บาท
    - วัสดุทางการแพทย์แถบตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 120 คนๆ จำนวน 4 กล่อง ๆ ละ 1,350 บาท เป็นเงิน5,400 บาท - เข็มเจาะตรวจน้ำตาลในเลือด  จำนวน 2 กล่องๆ ละ990 บาทเป็นเงิน 1,980 บาท

    งบประมาณ 11,508.00 บาท
  • 3. กิจกรรมรณรงค์คัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา เท้า หลอดเลือดสมอง ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ
    รายละเอียด

    กิจกรรมรณรงค์คัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา  เท้า  หลอดเลือดสมอง ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (เบาหวาน จำนวน  240 ราย, ความดันโลหิตสูงจำนวน 316 ราย) 3.1 คัดกรองโดยใช้วัสดุการแพทย์ 3.2 ให้ความรู้ เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการเป็นโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ  การปฏิบัติตัว  การรับประทานอาหาร

    งบประมาณ 450.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 42,793.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

กิจกรรมที่1กิจกรรมคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป 1. ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมากขึ้น 2. ประชาชนสามารถเข้าถึงการให้บริการทางด้านสาธารณสุข 3. ประชาชนได้รับทราบถึงภาวะสุขภาพของตนจากการคัดกรองโรค 4. ประชาชนมีความตระหนักในการจัดการและดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรวมทั้งได้รับบริการจาก สถานบริการที่ได้มาตรฐานครบวงจร กิจกรรมที่2กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามการแบ่งกลุ่ม สัญญาณเตือนตน 8 สี 1. กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ทักษะสามารถนำไปปฏิบัติตัวในการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่ 2. กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักและกระตือรือร้นมากขึ้นเกี่ยวกับการคัดกรองโรคและการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ 3. กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปฏิบัติตัว ควบคุมอาหารได้ดี โดยยึดหลัก 3 อ. 2 ส. 4. กลุ่มเป้าหมายที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีได้รับการยกย่องและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชากรในหมู่บ้าน กิจกรรมที่3กิจกรรมคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตาเท้า หลอดเลือดสมอง ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ 1. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 90 2. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองประเมินภาวะแทรกซ้อนทางตาและเท้า 3.สามารถแก้ไขปัญหาภาวะแทรกซ้อนและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา รหัส กปท. L5275

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา รหัส กปท. L5275

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 42,793.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................