กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบ SOR บ้านเกาะยวน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านเกาะยวน

1. นางกฤติยาภรณ์ สีมัสมิง
2. นางสายพิน แก้วสุวรรณ์
3. นางประพิมนุช กิ้มเซ้ง
4. นายมณฑลเครือวัลย์
5. นางอุทัย รุกขชาติ

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเปลี่ยนแปลงของลักษณะภูมิอากาศในภาคใต้ที่มีฝนตกชุกในช่วงเดือน ตุลาคม – มกราคม ของทุกปีมักจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่จะกลายเป็นตัวเต็มวัยไปกัดและแพร่เชื้อโรคไข้เลือดออกสู่คนได้นั้น เช่นเดียวกันลักษณะภูมิประเทศของชุมชนบ้านเกาะยวนมีลักษณะที่เอื้อต่อการเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายมาตรการหรือวิธีการกำจัดยุงลายโดยเริ่มจากต้นตอของวงจรการขยายพันธุ์ยุงลายนั้น โดยเฉพาะยุงลายแล้วที่มีอยู่ 2 สายพันธุ์ด้วยกันคือ ยุงลายบ้านและยุงลายสวน ซึ่งยุงลายบ้าน มักจะอาศัยอยู่ตามบ้านเรือนและชอบวางไข่ตามแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ ๆ บ้านหรือในตัวบ้านเรือนและโดยนิสัยยุงมักจะอาศัยอยู่ตามซอกอับของบ้าน หรือแหล่งสะสมข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในบ้านและแหล่งกองขยะบริเวณบ้านเรือน เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการกำจัดต้นเหตุของวงจรการขยายพันธุ์ยุงลายจะมีวิธีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยยึดหลัก5ป1 ขและหลัก3 เก็บและใช้วิธีการกำจัดโดยสารเคมีภัณฑ์ เช่น ใส่ทรายอะเบต โดยยึดหลัก SOR( SORคือ การ คือ SSupportสนับสนุนOOrganization องค์กรRRoutineงานประจำ “องค์กรสนับสนุนงานประจำ”เป็นการทำงานแบบการร่วมมือกันของคนในพื้นที่ ทำให้ประชาชนเจ้าของบ้านเกิดความร่วมมือในการป้องกันตนเอง ) กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ ความเข้าใจสามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันและนำเอาวิธีการดังกล่าวไปถ่ายทอดสร้างเครือข่ายให้คนในชุมชนได้ จึงได้จัดทำโครงการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบ SOR ม.2 บ้านเกาะยวนปี 2566 ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ ความเข้าใจ ความร่วมมือ ในการป้องกันและควบคุมโรค ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันต่อไปได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มกลุ่มเป้าหมายความรู้ ความเข้าใจ การป้องกันโรคไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมอบรม มากกว่า ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้สำรวจค่า HI และ CI เฉลี่ยทั้งหมู่บ้าน

ค่า HI และ  CI  เฉลี่ยทั้งหมู่บ้าน น้อยกว่า 10

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อเคมีภัณฑ์ทรายอะเบต

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อเคมีภัณฑ์ทรายอะเบต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดซื้อทรายอะเบต จำนวน 1 ถัง ๆ ละ 5,500 บาท  เป็นเงิน 5,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน ละ 2 ชม.ๆ ละ  600 บาท  เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน  50  คน ๆ ละ 1  มื้อ ๆ ละ 30  บาท เป็นเงิน  1,500  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

กิจกรรมที่ 3 สำรวจหาค่า HI CI และกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยยึดหลัก 5 ป 1 ข และการใส่ทรายอะเบตตามแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
สำรวจหาค่า HI CI และกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยยึดหลัก 5 ป 1 ข และการใส่ทรายอะเบตตามแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมติดตามผลการดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลาย การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตามผลการดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลาย การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน คนละ 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท จำนวน  2  ครั้ง     เป็นเงิน 3,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 5 ประเมินและสรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและสรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
2. ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน


>