กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัยในตำบลโคกม่วง ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโคกม่วง

ตลาด ร้านอาหารและแผงลอยในเขตพื้นที่ตำบลโคกม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้านอาหาร,แผงลอย และตลาดไม่ได้รับการตรวจประเมินตามแบบตรวจมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (ตลาดประเภทที่ 2 จำนวน 5 แห่ง ร้านอาหาร จำนวน 7 ร้าน แผงลอย 38 แห่ง รวม 50 แห่ง )

 

50.00

อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหาร นอกเหนือจากสารอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงและพิจารณาควบคู่กันไปด้วยคือ คุณค่าและโภชณาการ ความสะอาด และปราศจากสารปนเปื้อน
ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนได้สามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลและควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่สามารถรับทราบข่าวสารและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโคกม่วงได้ดำเนินการตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอย รวมไปถึงตลาดในเขตพื้นที่ตำบลโคกม่วง เพื่อให้ได้มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN) ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด พบว่าร้อยละ 80 ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลโคกม่วง ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัยในตำบลโคกม่วง ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น โดยการออกตรวจประเมินคุณภาพร้านอาหารและแผงลอย รวมไปถึงตลาด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร และเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อยกระดับตลาด ร้านอาหารและแผงลอยให้ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN)

ร้อยละของตลาด ร้านอาหารและแผงลอยผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN)

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ตลาดประเภทที่ 2จำนวน 5 แห่ง ร้านอาหาร จำนวน 7 ร้าน 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจประเมินตลาด ร้านอาหารและแผงลอยในเขตพื้นที่ตำบลโคกม่วง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินตลาด ร้านอาหารและแผงลอยในเขตพื้นที่ตำบลโคกม่วง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม -ตรวจประเมินตามแบบตรวจมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN) พร้อมให้คำแนะนำ (เป้าหมาย คือ ตลาดประเภทที่ 2 จำนวน 5 แห่ง ร้านอาหาร จำนวน 7 ร้าน แผงลอย 38 แห่ง รวม 50 แห่ง ) -ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำ อย่างน้อยปีละ 1 - 2 ครั้ง
งบประมาณ 1.ตรวจสอบสารโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น SI-2 ชุดละ 1,200 บาท 2 ชุด (100 test) เป็นเงิน 2,400 บาท
2.ตรวจสอบสารโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง อ.11 ชุดละ 1,800 บาท 2 ชุด (100 test) เป็นเงิน 3,600 บาท
3.ตรวจสอบสารบอแรกซ์ ชุดละ 320 บาท 1 ชุด (50 test) เป็นเงิน 320 บาท
4.ตรวจสอบสารฟอกขาว ชุดละ 280 บาท 1 ชุด (100 test) เป็นเงิน 280 บาท
5.ตรวจสอบสารกันรา (กรดซาซิลิก) ชุดละ 350 บาท 1 ชุด (50 test) เป็นเงิน 350 บาท
6.ตรวจสอบสารฟอร์มาลีน ชุดละ 2,180 บาท 1 ชุด (30 test) เป็นเงิน 2,180 บาท
7.ตรวจสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ชุดละ 1,200 บาท 2 ชุด (50 test) เป็นเงิน 2,400 บาท
8.ค่าจัดทำป้ายไวนิลขนาด 1.5 X 2 เมตร เป็นเงิน 400 บาท
9.ค่าวัสดุอุปกรณ์ ในกิจกรรมการตรวจสอบสารปนเปื้อน เช่น ช้อนพลาสติก ถ้วยกระดาษ หลอดหยด ฯลฯ เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ตลาดประเภทที่ 2 จำนวน 5 แห่ง ร้านอาหาร จำนวน 7 ร้าน แผงลอย 38 แห่ง รวม 50 แห่งได้รับการตรวจตามแบบตรวจมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN) ผลลัพธ์-ตลาดประเภทที่ 2 จำนวน 5 แห่ง ร้านอาหาร จำนวน 7 ร้าน แผงลอย 38 แห่ง รวม 50 แห่ง ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12530.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ ผู้บริโภค ผู้ประกอบการตลาด ร้านอาหารและแผงลอย ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ผ่านสื่อออนไล์ (เว็บไซด์ เฟสบุ๊ค ไลน์ ฯ) ผ่านเสียงตามสาย วิทยุ เอกสารแผ่นพับ เป็นต้น งบประมาณ - ค่าจัดทำแผ่นพับให้ความรู้ เป็นเงิน 250 บาท 2.โฆษณาประชาสัมพันธ์ตลาด ร้านอาหารและแผงลอยที่ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN) ผ่านสื่อออนไล์ เช่น เว็บไซด์ เฟสบุ๊ค ไลน์ ผ่านเสียงตามสาย วิทยุ เป็นต้น ให้ประชาชนในพื้นที่และนอกพื้นที่รับทราบ และเพื่อขวัญกำลังใจให้ผู้ประกอบการที่ผ่านมาตรฐาน และสร้างแรงบันดาลใจ จูงใจให้ผู้ประกอบที่ยังไม่ผ่านมาตรฐานเกิดการพัฒนาต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ผู้บริโภค ผู้ประกอบการตลาด ร้านอาหารและแผงลอยได้รับความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ผลลัพธ์-ประชาชนรู้จักการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย -ผู้ประกอบการเกิดการพัฒนาตามมาตรฐานฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประเมินผลการตรวจตลาด ร้านอาหารและแผงลอยตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินผลการตรวจตลาด ร้านอาหารและแผงลอยตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม -มอบเกียรติบัตร และป้าย สำหรับตลาด ร้านอาหารและแผงลอยที่ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN) -ตลาด ร้านอาหารและแผงลอย ตลาดที่ไม่ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN) จะมีการตรวจติดตามและให้คำแนะนำเป็นระยะๆ จนกว่าจะผ่านมาตรฐาน งบประมาณ 1.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำเกียรติบัตรพร้อมเคลือบ สำหรับตลาด ร้านอาหารและแผงลอยที่ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN) เป็นเงิน 700 บาท
2.ค่าจัดทำป้ายสำหรับร้านอาหารและแผงลอยที่ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN) ขนาด กว้าง 27 ซม. X ยาว 27 ซม.ป้ายละ 120 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ตลาดประเภทที่ 2 จำนวน 5 แห่ง ร้านอาหาร จำนวน 7 ร้าน แผงลอย 38 แห่ง รวม 50 แห่งได้รับการตรวจตามแบบตรวจมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN) ผลลัพธ์-ตลาดประเภทที่ 2 จำนวน 5 แห่ง ร้านอาหาร จำนวน 7 ร้าน แผงลอย 38 แห่ง รวม 50 แห่ง ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN) และได้รับมอบเกียรติบัตร และป้าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3700.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม -ประเมินความพึงพอใจของผู้ประกอบการตลาด ร้านอาหารและแผงลอย -จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการเสนอผู้บริหารและคณะกรรมการกองทุนฯ รับทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ผู้ประกอบการเกิดความพึงพอใจ่อการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์-ผู้ประกอบการเกิดการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สถานประกอบการผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,480.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ตลาด ร้านอาหาร และแผงลอย ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN)
2. ประชาชนได้รับการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จากตลาด ร้านอาหารและแผงลอย ที่ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (SAN)


>