กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านนาท่อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม

นายศักดิ์ชาย โรจชะยะ

ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

25.00

โรคไข้เลือดออก (Dengue fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มักพบในประเทศเขตร้อน และจะระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี ไข้เลือดออกพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี แต่พบว่าในวัยทำงานมีการเสียชีวิตสูงสุด สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2566 สถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมแล้วกว่า 110,809 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 106 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566) ทั้งนี้ พบตัวเลขการระบาดที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี ในปี 2566 ระบาดหนักในที่สุดในรอบ 5 ปี พบผู้ป่วยแล้วกว่า 1.1 แสนราย เสียชีวิตกว่า 106 ราย จากการประเมินความเสี่ยง แนวโน้มผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทยเริ่มลดลง แต่ยังมีแนวโน้มสูงในบางพื้นที่ จึงยังต้องดําเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างเข้มข้น ได้แก่ กําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สื่อสารความเสี่ยง และควบคุมโรคตามมาตรการ 3-3-1 เพื่อลดความรุนแรงของการระบาดและจํานวนผู้เสียชีวิต และจากสถานการณ์ไข้เลือดออกในจังหวัดพัทลุง ปี พ.ศ.2565 พบว่า ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งหมด 30 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 23.93 ต่อประชากรแสนคน และในปี พ.ศ.2566 นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 อ.เมืองพัทลุง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก จํานวนทั้งสิ้น 257 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 204.96 ต่อประชากรแสนคน พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยพบเพศหญิง 136 ราย เพศชาย 121 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1.12 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปีคิดเป็นอัตราป่วย 788.21 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 5 - 9 ปี และ 15 - 24 ปี อัตราป่วยเท่ากับ 453.77 และ 445.69 ต่อประชากรแสนคน ตามลําดับ และในเดือน พบผู่ป่วยสูงสุดในเดือนตุลาคม จํานวนผู้ป่วย เท่ากับ 76 ราย โดยมีรายงานผู้ป่วยเดือน มกราคม 7 ราย กุมภาพันธ์ 9 ราย มีนาคม 6 ราย เมษายน 11 ราย พฤษภาคม 12 ราย มิถุนายน 19 ราย กรกฎาคม 31 ราย สิงหาคม 48 ราย กันยายน 30 ราย ตุลาคม 76 ราย และ พฤศจิกายน 8 ราย ซึ่งเข้าสู่ฤดูฝนแนวโน้มที่จะเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นเพราะการที่ฝนตกจะทำให้เกิดน้ำขังตามพื้นที่ต่าง ๆเป็นผลให้ยุงลายสามารถมาวางไข่ไว้ที่ผิวน้ำนั้นๆ ได้ จนเกิดการแพร่กระจายยุงลาย และในเขตอำเภอเมืองพัทลุง พบว่า ตําบลที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือ ตําบลนาท่อม อัตราป่วยเท่ากับ 548.87 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 25 ราย และในเดือนตุลาคม ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม รายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 9 ราย และเดือนพฤศจิกายน 2 ราย ซึ่งเห็นได้ว่าแนวโน้มการเกิดโรคผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม มุ่งหวังเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน โรงเรียน และวัด ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน เทศบาลตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายต่อเนื่อง

การส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

0.00 50.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคที่นำโดยยุงลายเป็นพาหะในเขตเทศบาลตำบลนาท่อม

หมูบ้าน/ชุมชนสามารถควบคุมไข้เลือดออกได้ (ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ใน 28 วันหรือ 4 สัปดาห์ นับจากวันที่เริ่มป่วย

25.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 105
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตือนภัยเฝ้าระวังพื้นที่ชุมชนไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
เตือนภัยเฝ้าระวังพื้นที่ชุมชนไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการติดป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์เตือนภัยไข้เลือดออก ในพื้นที่ระบาด เพื่อเป็นการเตือนภัยให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก และรณรงค์แจกเอกสารแผ่นพับเตือนภัยด้วยโรคไข้เลือดออก นำไปแจกให้แก่ผู้นำชุมชน ในที่ประชุมหมู่บ้าน เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้แก่ประชาชน ให้มีการเฝ้าระวังการระบาดในพื้นที่และสามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.จัดทำเอกสารแผ่นพับเตือนภัยไข้เลือดออก เป็นเงิน 1,000 บาท
2.ค่าป้ายไวนิลเตือนภัยโรคไข้เลือดออกพร้อมโครงไม้และติดตั้ง ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 2 ป้ายๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 ธันวาคม 2566 ถึง 4 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
2.ประชาชนมีความตระหนักถึงโรคไข้เลือดออก และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก ในชุมชน โดยการจัดหาวัสดุ/อุปกรณ์เคมีภัณฑ์ และในวันประชุมอาสาสมัครธารณสุขประจำเดือน ให้อสม.เขตพื้นที่รับผิดชอบแต่ละครัวเรือนนำทรายอะเบทไปแจกในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
ดำเนินการทุกครัวเรือน ทุกหมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลนาท่อม เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก และคัดเลือกตัวแทนหมู่บ้าน หมู่ละ 1 คน จำนวน 8 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 8 คน เพื่อดำเนินการแต่งตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว
โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าทรายอะเบท ถังละ 5,000 บาท จำนวน 2 ถัง เป็นเงิน 10,000 บาท
2. โลชั่นกันยุง ขนาด 8 กรัม จำนวน 250 ซองๆละ 8 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 ธันวาคม 2566 ถึง 6 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีวัสดุอุปกรณ์เคมีภัณฑ์ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
2.ประชาชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
3.ตัวแทนหมู่บ้าน หมู่ละ 1 คน ทั้งหมด 8 หมู่ บ้าน รวมทั้งหมด 8 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 3 แต่งตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ทีม SRRT

ชื่อกิจกรรม
แต่งตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ทีม SRRT
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแต่งตั้งทีม SRRT หมู่ละ 1 คน ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 8 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 8 คน เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านนาท่อม จำนวน 2 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากเทศบาลตำบลนาท่อม จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 20 คน
ใช้เวลาทั้งวัน เพื่อชี้แจงรายละเอียดกรณีการเกิดโรค ดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมโรคร่วมกัน รายละเอียดกิจกรรมดังนี้
1.พัฒนาทีม SRRT ระดับพื้นที่ให้มีความรู้ถึงขีดความสามารถในการเฝ้าระวังสอบสวนและตอบสนอง เร่งด่วนต่อภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้
2.เพื่อให้ทีม SRRT สามารถป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงระบาดของโรคได้
3.ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กร ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง
โดยมีรายละเอียดการใช้งบประมาณดังนี้
1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 21 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 420 บาท
3.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 21 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2566 ถึง 15 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทีม SRRT ระดับพื้นที่มีความสามารถในการเฝ้าระวังสอบสวนและตอบสนอง เร่งด่วนต่อภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้
2.ไม่เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงการระบาดของโรค
3.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลงจนเท่ากับศูนย์
4.มีช่องทางการติดตามตัวแทนหมู่บ้านผ่านกลุ่ม Line

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3270.00

กิจกรรมที่ 4 ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็ง กรณีเกิดโรคระบาดในพื้นที่ โดยมีรายละเอียดการใช้งบประมาณดังนี้
1.สเปรย์ไล่ยุง ขนาด 300 มิลลิลิตร จำนวน 100 กระป๋องๆละ 85 บาท เป็นเงิน 8,500 บาท
2.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 90 ครั้ง ในรัศมี 100 เมตร ตั้งไว้ 3,000 บาท
3.ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่พ่นหมอกควันกำจุดยุง พ่น 3 ครั้ง จะพ่นในวันที่ 0,3,7 ตั้งไว้ 30 หลังๆละ 3 ครั้ง เหมาจ่าย 100 บาท/ครั้ง เป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 ธันวาคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อัตราการระบาดไข้เลือดออกลดลง และลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20500.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะกรรมการ SRRT ติดตามผลดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการ SRRT ติดตามผลดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการ SRRT จำนวนทั้งหมด 20 คน เพื่อรายงานและติดตามผลการลงพื้นที่ปฏิบัติงานการป้องกันและควบคุมโรคระบาด โดยมีรายละเอียดการใช้งบประมาณ ดังนี้
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มีนาคม 2567 ถึง 4 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทีม SRRT ออกพื้นที่ดำเนินการควบคุมโรคระบาด จำนวน ..... หลัง
2.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน....ราย
3.ปัญหาอุปสรรค
4.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
2.ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันไข้เลือดออก
3.ความชุกของลูกน้ำ ยุงลาย ในชุมชนลดลง
4.ประชาชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง


>