กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนักเรียนปลอดเหา โรงเรียนบ้านบูเกะบากง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงเรียนบ้านบูเกะบากง

1. นายเสรีพงษ์คงสา
2. นางซัลวานีดิงนามอ
3. นางสาวนูรมาบือราเฮง
4. นางสาวกูซามิลาซือนิ
5. นางอามีเนาะหะยีดาโอะ

โรงเรียนบ้านบูเกะบากง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เหา หรือที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pediculus humanus เป็นแมลงในกลุ่มปรสิต อาศัยอยู่บนร่างกายคนและดำรงชีวิตด้วยการกินขี้ไคลบนหนังศีรษะของคนเรา เหามีมากกว่า 3,000 ชนิด ซึ่งบางส่วนเป็นปรสิตที่อยู่ในสัตว์ แต่ที่เป็นชนิดที่อยู่ในคนนั้นมีเพียงแค่ 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่อยู่บนศีรษะ เหาที่เกาะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเหาแต่ละชนิดจะอาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย อาทิเช่น บนศีรษะ บนร่างกาย เหาสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยการอยู่ใกล้ชิดและคลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคเหา จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคเหานั้นก็มักจะถูกสังคมรังเกียจ ซึ่งอาการที่มักจะพบได้จากคนที่เป็นเหาก็คืออาการคันและเป็นแผลติดเชื้อบนหนังศีรษะ อันเนื่องมาจากการระคายเคือง นอกจากนี้เหายังชอบวางไข่เอาไว้ตามเส้นผมของเราจนทำให้เห็นเป็นจุดขาว ๆ ตามเส้นผม แถมยังเกาะแน่นอีกด้วย โดยจะไม่หลุดไปถึงแม้ว่าจะหายเป็นเหาแล้วก็ตาม โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในกลุ่ม นักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาโดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80-90% ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเนื่อง จากมีอาการคันศีรษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหาจะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไปโดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำโดย ใช้ยาเพื่อฆ่าเหาซึ่งยามีทั้งในรูปครีม เจล โลชั่น และยาสระผม ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน ดังนั้น โรงเรียนบ้านบูเกะบากง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เป็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการนักเรียนปลอดเหานี้ขึ้นเพื่อกำจัดเหานักเรียนในโรงเรียนบ้านบูเกะบากง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการรักษาความสะอาดของร่างกาย และวิธีกำจัดเหา 2.เพื่อนักเรียนในโรงเรียนบ้านช่องหารได้รับการกำจัดเหาให้ลดลงหรือหมดไป
  1. นักเรียนหญิงชั้น อนุบาล 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 100  มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการรักษาความสะอาดของร่างกาย และวิธีกำจัดเหา
  2. นักเรียนหญิงชั้นอนุบาล 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ร้อยละ 100 ได้รับการกำจัดเหา เกิดความสะอาดของศีรษะ
100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/05/2024

กำหนดเสร็จ 28/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองนักเรียนโรคเหา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองนักเรียนโรคเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2567 ถึง 28 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. การคัดกรองนักเรียนที่มีเหาและไม่มีเหาชั้นอนุบาล 1 -ประถมศึกษาปีที่ 6โดยครูประจำชั้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเหา

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.) ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ โครงการขนาด 1.2×2.4 เมตรๆละ 250บาทเป็นเงิน600 บาท 2.) ค่าวิทยากรในการอบรมจำนวน2ชั่วโมงๆละ600บาทเป็นเงิน1,200บาท 3.)ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวนผู้เข้าร่วมการอบรม100คนๆละ35บาทเป็นเงิน3,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2567 ถึง 28 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับการกำจัดเหาและรู้ขั้นตอนการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5300.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมกำจัดเหาในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมกำจัดเหาในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.) ค่ายากำจัดเหาจำนวน 80 หลอดๆละราคา 55บาทเป็นเงิน 4,400บาท 2.) ค่าแชมพูกำจัดเหาฮาฟิฟ ราคาขวดละ 65 บาทจำนวน50ขวดเป็นเงิน 3,250 บาท 3.) ค่าหวีเสนียดจำนวน 40อันๆละราคา 25 บาทเป็นเงิน1,000 บาท 4.) ผ้าขนหนูจำนวน40ผืนๆละ ราคา 30บาทเป็นเงิน1,200 บาท 5.) หมวกคลุมผมจำนวน40ผืนๆ ราคา 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2567 ถึง 28 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการรักษาความสะอาดของร่างกาย และวิธีกำจัดเหาได้อย่างถูกต้อง
2.นักเรียนได้รับการกำจัดเหาให้ลดลงและหมดไป


>