กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวเด่น ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางขุด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพภาพตำบลบ้านหัวเด่น

นางสาวปรียาวดีเมฆขยายและคณะ

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดหัวเด่น หมู่ที่ 10 ตำบลบางขุด- โรงเรียนวัดโฆสิตาราม หมู่ที่ 9 ตำบลบางขุด - โรงเรียนวัดหัวเด่น หมู่ที่ 10 ตำบลบางขุด - โรงเรียนวัดหอระฆังหมู่ที่ 12 ตำบลบางขุด - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวเด่น

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคในช่องปากเป็นปัญหาที่พบมากในประชากรทุกวัย ธรรมชาติการเกิดโรคในช่องปาก จะมี พัฒนาการไปตามช่วงวัย เริ่มจากปัญหาการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มเด็ก เยาวชน ไปจนถึงปัญหาการสูญเสียฟัน ในวัยทำงานและผู้สูงอายุ ปัญหาโรคฟันผุจึงเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะในช่องปากเริ่มตั้งแต่โดยช่วงตั้งครรภ์จะ พบเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์และฟันผุมากกว่าปกติ สาเหตุหลักเกิดจากการทานอาหารบ่อย ทานอาหารหวานมากกว่าปกติ การอาเจียนในขณะที่ตั้งครรภ์ และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนProgesterone ที่มีผลทำให้เหงือกอักเสบได้ง่ายกว่าคนปกติและพบว่า กลุ่มเด็กปฐมวัยเริ่มมีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 3 ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และเพิ่มเป็นร้อยละ 51.7 เมื่ออายุ 3 ปี และจะเพิ่มสูงมากขึ้น ร้อยละ 97.5 เมื่ออายุ 5 ปี
จากผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งล่าสุดยังพบว่า เด็กวัยเรียนที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นในปากช่วงอายุ 12 ปี ร้อยละ 52.3 เป็นโรคฟันผุ และร้อยละ 50 พบเหงือกอักเสบ โดยปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสภาวะทันตสุขภาพคือ การแปรงฟัน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่น ขนมกรุบกรอบ ลูกอม และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง กลุ่มวัยรุ่นและ วัยทำงาน มีปัญหาสภาวะเหงือกอักเสบ ร้อยละ 39.3 และยังพบปัญหาโรคฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 35.2 และพบโรคปริทันต์รุนแรงที่เสี่ยงต่อการสูญเสียฟัน ร้อยละ 15.6 ซึ่งส่วนหนึ่งจะพบภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า ปัญหาหลักคือ ไม่มีฟันธรรมชาติเหลือพอในการบดเคี้ยวอาหาร และยังพบว่า ผู้สูงอายุ 60-74 ปี สูญเสียฟันบางส่วนร้อยละ 88.3 สูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 7.2 และมีอัตราการสูญเสียฟันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามอัตราการเพิ่มขึ้นของอายุ จึงจำเป็นต้องรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพ และรักษาสุขภาพในช่องปากอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันโรคฟันผุยังคงเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขของประเทศไทย จากผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งล่าสุดยังพบว่า ความชุกในการเกิดโรคฟันผุลดลงจากเดิมเพียงเล็กน้อย จึงนับว่ายังคงเป็นปัญหาที่ต้องการการป้องกันและแก้ไข การใช้ฟลูออไรด์เป็นวิธีที่ยอมรับกันทั่วไปว่าสามารถป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลในการป้องกันฟันผุของฟลูออไรด์เป็นผลเฉพาะที่บนผิวฟันและบริเวณรอบ ๆ ตัวฟัน (topicaleffect) มากกว่าผลจากทางระบบ (systemic effect) กลไกหลักที่สำคัญของฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุคือ การส่งเสริมการสะสมของแร่ธาตุที่ผิวฟัน (enhancement of tooth mineralization) และทำให้เกิดการย้อนกลับของการละลายตัวของแร่ธาตุที่ผิวฟัน (reversal of tooth demineralization) ดังนั้นฟลูออไรด์วานิชจึงมีประสิทธิภาพโดยเราเริ่มทาฟลูออไรด์ตั้งแต่ฟันซี่แรก ช่วงเด็กอายุประมาณ 6 เดือน ในการป้องกันฟันผุร้อยละ 43 ในฟันแท้ และร้อยละ 33 ในฟันน้ำนม ซึ่งสามารถใช้เสริมจากยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในเด็กที่มีความเสี่ยงของการเกิดฟันผุสูงได้ โดยอยู่ในดุลยพินิจของทันตแพทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวเด่น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม ป้องกันและรักษาทันตสุขภาพ เพื่อมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียนและ เด็กวัยเรียน เยาวชน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
2. เพื่อให้เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน เยาวชนมีสุขภาพช่องปากดีขึ้น
3. เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน เยาวชน มีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 237
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เด็กแรกเกิด ถึง 6 เดือน 6

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม

ชื่อกิจกรรม
ประชุม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง/วางแผนการดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 1 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจสุขภาพช่องปาก และบริการทาฟลูออไรด์วานิช ในเด็กกลุ่มอายุ 6 เดือน 12 ปี -จัดหาวัสดุอุปกรณ์และดำเนินงานตามแผนให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
  • สรุปผลการดำเนินงาน จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางขุด จำนวน 37,393 .-- บาท รายละเอียดดังนี้ 6.1ค่าจ้างถ่ายเอกสาร
    • แบบตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 100 คนเป็นเงิน100 บาท
  • แบบตรวจสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 237 คนเป็นเงิน237 บาท
  • ใบแจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 119 แผ่น (1แผ่น/2คน) ราคาแผ่นละ 0.70 บาท (1 หน้า) เป็นเงิน83.3บาท
    -ใบขออนุญาตผู้ปกครองในการทำหัตถการจำนวน 119 แผ่น (1แผ่น/2คน)ราคาแผ่นละ 0.70บาท (1 หน้า)
    เป็นเงิน 83.3 บาท 6.2 พู่กันทาฟลูออไรด์จำนวน 3 แพ๊คละ 150 บาท (100อัน )เป็นเงิน 450 บาท 6.3 กระจกส่องเวลาย้อมสีฟัน จำนวน 52อันละ 20 บาทเป็นเงิน 1,040 บาท 6.4 ค่าฟลูออไรด์วานิช จำนวน 17 หลอด (1 หลอด=20คน) หลอดละ ๑,๒๕๐ บาท เป็นเงิน 21,250 บาท (คุณลักษณะฟลูออไรด์ เป็นสารที่ใช้ในการป้องกันฟันผุได้อย่างได้มีประสิทธิภาพ โดยสามารถป้องกันได้ทั้งฟันที่ยังไม่ขึ้นมาในช่องปากและฟันที่ขึ้นในช่องปากแล้ว ชนิดของฟลูออไรด์ที่นำมาใช้ในทางทันตกรรมมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.ฟลูออไรด์ชนิดรับประทาน2. ฟลูออไรด์ เฉพาะที่ โดยทาในเด็กอายุ 6 เดือน ถึงเด็กอายุ 12 ปี) 6.5. อุปกรณ์ชุดฝึกทักษะในการความสะอาดปากเด็ก 6 เดือน -5 ปี
  • แปรงสีฟันเด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี อันละ 12 บาท จำนวน 100 อัน เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ยาสีฟัน ขนาด 40 กรัม อันละ 20 จำนวน 100 อันเป็นเงิน 2,000 บาท
  • แปรงสีฟันเด็กอายุ 6ปี – 12 ปี อันละ 12 บาท จำนวน 182อัน เป็นเงิน 2,184 บาท
  • ยาสีฟัน ขนาด 35 กรัม อันละ 18 จำนวน 182 อันเป็นเงิน 3,276 บาท
    • แปรงสีฟันเด็กอายุ 13 ปี- 15 ปี อันละ 12 บาท จำนวน 55 อันเป็นเงิน 660 บาท
    • ยาสีฟัน ขนาด 35 กรัม อันละ 18 จำนวน 55 อัน เป็นเงิน990 บาท 6.6. อุปกรณ์ชุดฝึกทักษะในการความสะอาดเด็กแรกเกิด (ถุงนิ้วผ้า)
    • จำนวน 6 ชุด ราคาชุดละ 15 บาท เป็นเงิน90 บาท 6.7 เม็ดย้อมสีฟัน 1 กล่องๆละ1,750 บาท (200เม็ด) เป็นเงิน 1,750 บาท 6.8โมเดลตุ๊กตาหมี ฟันน้ำนม ขนาด 25 นิ้ว 1 ตัว เป็นเงิน 2,000 บาท
      รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 37,393.60 บาท (สามหมื่นเจ็ดพันสามร้อยเก้าสิบสามบาทหกสิบสตางค์)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.  เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียนและ เด็กวัยเรียน เยาวชน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ80
2. เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน เยาวชนมีสุขภาพช่องปากดีขึ้น ร้อยละ80 3. เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน เยาวชน มีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยา                       สีฟันผสมฟลูออไรด์ ร้อยละ100          4. เพื่อให้เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียนได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37393.60

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,393.60 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียนและ เด็กวัยเรียน เยาวชน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ80
2. เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน เยาวชนมีสุขภาพช่องปากดีขึ้น ร้อยละ80
3. เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน เยาวชน มีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ร้อยละ100
4. เพื่อให้เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียนได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ80


>