กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวเด่น ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพภาพตำบลบ้านหัวเด่น
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,393.60 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 237 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคในช่องปากเป็นปัญหาที่พบมากในประชากรทุกวัย ธรรมชาติการเกิดโรคในช่องปาก จะมี พัฒนาการไปตามช่วงวัย เริ่มจากปัญหาการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มเด็ก เยาวชน ไปจนถึงปัญหาการสูญเสียฟัน ในวัยทำงานและผู้สูงอายุ ปัญหาโรคฟันผุจึงเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะในช่องปากเริ่มตั้งแต่โดยช่วงตั้งครรภ์จะ พบเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์และฟันผุมากกว่าปกติ สาเหตุหลักเกิดจากการทานอาหารบ่อย ทานอาหารหวานมากกว่าปกติ การอาเจียนในขณะที่ตั้งครรภ์ และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนProgesterone ที่มีผลทำให้เหงือกอักเสบได้ง่ายกว่าคนปกติและพบว่า กลุ่มเด็กปฐมวัยเริ่มมีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 3 ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และเพิ่มเป็นร้อยละ 51.7 เมื่ออายุ 3 ปี และจะเพิ่มสูงมากขึ้น ร้อยละ 97.5 เมื่ออายุ 5 ปี จากผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งล่าสุดยังพบว่า เด็กวัยเรียนที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นในปากช่วงอายุ 12 ปี ร้อยละ 52.3 เป็นโรคฟันผุ และร้อยละ 50 พบเหงือกอักเสบ โดยปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสภาวะทันตสุขภาพคือ การแปรงฟัน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่น ขนมกรุบกรอบ ลูกอม และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง กลุ่มวัยรุ่นและ วัยทำงาน มีปัญหาสภาวะเหงือกอักเสบ ร้อยละ 39.3 และยังพบปัญหาโรคฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 35.2 และพบโรคปริทันต์รุนแรงที่เสี่ยงต่อการสูญเสียฟัน ร้อยละ 15.6 ซึ่งส่วนหนึ่งจะพบภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า ปัญหาหลักคือ ไม่มีฟันธรรมชาติเหลือพอในการบดเคี้ยวอาหาร และยังพบว่า ผู้สูงอายุ 60-74 ปี สูญเสียฟันบางส่วนร้อยละ 88.3 สูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 7.2 และมีอัตราการสูญเสียฟันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามอัตราการเพิ่มขึ้นของอายุ จึงจำเป็นต้องรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพ และรักษาสุขภาพในช่องปากอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันโรคฟันผุยังคงเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขของประเทศไทย จากผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งล่าสุดยังพบว่า ความชุกในการเกิดโรคฟันผุลดลงจากเดิมเพียงเล็กน้อย จึงนับว่ายังคงเป็นปัญหาที่ต้องการการป้องกันและแก้ไข การใช้ฟลูออไรด์เป็นวิธีที่ยอมรับกันทั่วไปว่าสามารถป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลในการป้องกันฟันผุของฟลูออไรด์เป็นผลเฉพาะที่บนผิวฟันและบริเวณรอบ ๆ ตัวฟัน (topicaleffect) มากกว่าผลจากทางระบบ (systemic effect) กลไกหลักที่สำคัญของฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุคือ การส่งเสริมการสะสมของแร่ธาตุที่ผิวฟัน (enhancement of tooth mineralization) และทำให้เกิดการย้อนกลับของการละลายตัวของแร่ธาตุที่ผิวฟัน (reversal of tooth demineralization) ดังนั้นฟลูออไรด์วานิชจึงมีประสิทธิภาพโดยเราเริ่มทาฟลูออไรด์ตั้งแต่ฟันซี่แรก ช่วงเด็กอายุประมาณ 6 เดือน ในการป้องกันฟันผุร้อยละ 43 ในฟันแท้ และร้อยละ 33 ในฟันน้ำนม ซึ่งสามารถใช้เสริมจากยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในเด็กที่มีความเสี่ยงของการเกิดฟันผุสูงได้ โดยอยู่ในดุลยพินิจของทันตแพทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวเด่น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม ป้องกันและรักษาทันตสุขภาพ เพื่อมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 37,393.60 0 0.00
1 มิ.ย. 67 - 1 ก.ค. 67 ประชุม 0 0.00 -
1 - 30 มิ.ย. 67 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ดำเนินการ 0 37,393.60 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียนและ เด็กวัยเรียน เยาวชน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ80
2. เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน เยาวชนมีสุขภาพช่องปากดีขึ้น ร้อยละ80 3. เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน เยาวชน มีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ร้อยละ100 4. เพื่อให้เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียนได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 10:48 น.