กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยสู่มืออาชีพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสิตี

โรงเรียนอุปถัมภ์ศาสน์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ครูผู้ดูแลเด็กต้องมีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัย ทั้งด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม

 

50.00

หลักสูตรมีความสำคัญยิ่งในการจัดการศึกษาทุกระดับ เพราะเป็นโครงร่างกรอบแนวทางการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ และการพัฒนาคุณภาพการจัดประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้าน อย่างสมดุลเต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง การจัดทำ แผนการจัดประสบการณ์ ที่สอดคล้องกับหลักสูตร คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา ตอบสนองการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล หลากหลายรูปแบบและสร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับ ประสบการณ์ตรง เล่นและลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัส จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ใช้เครื่องมือในการวัดและประเมินผลพัฒนาการอย่างหลากหลาย และนำผลการประเมินไปพัฒนาคุณภาพเด็กพร้อมติดตามอย่างเป็นระบบ โดยส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning) เน้นทักษะกระบวนการ ให้เกิด ทักษะการคิดวิเคราะห์คิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์ทั้งในและนอกห้องเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สนับสนุนการผลิต จัดหาและใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งอํานวยความสะดวกที่หลากหลาย รวมทั้งการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาใน การจัดการเรียนรู้ได้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับประเทศไทยในยุค 4.0 เนื่องด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ทางศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสิตีร่วมกับโรงเรียนอุปถัมภ์ศาสน์ เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาครูคุณภาพยุคใหม่จึงต้องพัฒนาให้ครูผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษานำไปสู่การเป็นครูมืออาชีพ จึงได้จัดให้มีโครงการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยสู่มืออาชีพ ขึ้นมา เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ของครู และยกระดับคุณภาพ การศึกษาให้เด็กได้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษา โดยครูใช้เทคนิคและสื่ออุปกรณ์ที่ หลากหลายในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็ก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และให้การ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ สำเร็จตามเป้าหมายที่มุ่งเน้นเด็กนักเรียนเป็นสำคัญ โดยมีการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่องจึงมีการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก มีการจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน เครื่อง อุปโภคบริโภคต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก
ทางศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสิตีร่วมกับโรงเรียนอุปถัมภ์ศาสน์ มองเห็นความสำคัญเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย เพราะเป็นอย่างก้าวแรกที่เข้าสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีครูเป็นผู้กำกับดูแล ฉะนั้นแล้วครูผู้ดูแลเด็กต้องมีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัย ทั้งด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม การจัดโครงการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยสู่มืออาชีพ มีครูผู้ดูแลเด็ก 24 ท่าน โรงเรียนละ 3 ท่าน ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดลำไพล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดปริก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอีกอมาติสสุนนะห์ โรงเรียนรัศมีธรรมวิทยา โรงเรียนสุขสวัสดิ์ โรงเรียนลำไพลศาสน์ติวิทย์ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสิตี และโรงเรียนอุปถัมภ์ศาสน์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กมีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก

ร้อยละของครูผู้ดูแลเด็กมีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก

60.00 85.00
2 เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพและบุคลากรทุกคนมีความภาคภูมิใจในวิชาชีพ

ร้อยละของครูผู้เดูแลเด็กมีความก้าวหน้าในวิชาชีพและบุคลากรทุกคนมีความภาคภูมิใจในวิชาชีพ

70.00 80.00
3 เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข

ร้อยละของเด็กปฐมวัยได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข

60.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 24
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการจัดเตรียมโครงการ "พัฒนาครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยสู่มืออาชีพ"

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการจัดเตรียมโครงการ "พัฒนาครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยสู่มืออาชีพ"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 6 ท่าน ทั้งหมด 13 คน ณ อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนอุปถัมภ์ศาสน์ เวลา 10.00 น. - 12.00 น. 2.เอกสารประกอบโครงการ 13 ฉบับ

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 0 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤศจิกายน 2566 ถึง 13 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะกรรมการมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการไปในทิศทางเดียวกัน 2.คณะทำงานสามารถแบ่งหน้าที่ในความรับผิดชอบของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย : READ Model"

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย : READ Model"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวลา 08.00 - 09.00 น.  ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เวลา 09.00 - 09.15 น.  เปิดพิธีโดยเด็กชายเอียะซาน  เขตเทพา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 09.00 - 09.30 น.  กล่าวเปิดโครงการ โดยนายวีรชาติ  สาแมแน็ง รองประธานศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสิตี เวลา 09.30 - 09.45 น.  วัตถุประสงค์โครงการ โดยนางสาวตัสนีม  สาแมแน็ง ผู้รับผิดชอบโครงการ เวลา 09.45 - 12.00 น.   อบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ "นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย : READ Model" รายละเอียดกิจกรรมดังนี้
-ทำความรู้จักโลกในศตวรรษที่ 21 เวลา 10.30  รับประทานอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม - การพัฒนาทักษะการอ่านเริ่มแรกสำหรับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 เวลา 12.00 น.  รับประทานอาหารเที่ยง เวลา 13.00 - 16.00 น. ดำเนินกิจกรรมต่อ - กิจกรรมการเล่านิทานเพื่อนรัก เรื่อง “จุด” และการวิเคราะห์การจัดกิจกรรมรูปแบบ READ Model กับการพัฒนาเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 - กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง “เคาะให้ถูกนะ” เวลา 16.00 น. เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ งบประมาณ
1. ค่าป้ายไวนิล คิดตารางเมตรละ 150 บาท ขนาด 42 เมตร 1 ป้าย * 1,500 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท
2. ค่าวิทยากร จำนวน 7 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท * 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,100 บาท 3.ค่าปากกา ราคา ด้ามละ 5 บาท * 24 ด้าม เป็นเงิน 120 บาท
4. ค่าสมุด ราคา เล่ม 10 บาท * 24 เล่ม เป็นเงิน 240 บาท 5.ค่าแก้วสแตค หรือ แก้วเรียงซ้อน ราคา ชุดละ 129 บาท * 4 ชุด เป็นเงิน 516 บาท 6. กระดาษดับเบิ้ลเอ a4 ราคา รีมละ 180 * 1 รีม เป็นเงิน 180 บาท 7. ฮูล่าฮูปเด็กเล็ก (ถอดปรกอบได้) ราคา 52 บาท * 24 อัน เป็นเงิน 1,248 บาท 8. นิทานพัฒนาทักษะสมอง EF เรื่อง จุด ราคา 110 บาท * 24 เล่ม เป็นเงิน 2,640 บาท 9. สีทามือ มาสเตอร์อาร์ต 75ม มล. 6 สี ราคา 250 บาท * 24 กล่อง เป็นเงิน 6,000 บาท 10. ดินสอ ราคา ด้ามละ 5 บาท * 24 ด้าม เป็นเงิน 120 บาท 11. ค่ากระเป๋าผ้าแคนวาส ไซส์ s ขนาด a4 ราคา 25 บาท * 24 ใบ เป็นเงิน 600 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 15,264 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมมีความรู้และนำวิธีการที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติกับนักเรียนได้ถูกต้อง ถูกวิธี และเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15264.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปรายงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปรายงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เอกสารสรุปผลการดำเนินงาน 2 เล่ม เป็นเงิน 0 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 0 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กันยายน 2567 ถึง 27 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลดำเนินโครงการจำนวน 2 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,264.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละ 85 เด็กปฐมวัยได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข
2. ร้อยละ 80 ครูได้รับความรู้ไปต่อยอดกับนักเรียนชั้นเรียนและมีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก


>