กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขามีเกียรติ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คัดกรองสุขภาพกลุ่มเกษตรกรผู้มีภาวะเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขามีเกียรติ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้

-

หมู่ที่ 3,4,5 ตำบลเขามีเกียรติ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้ ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีจำนวนประชากรทั้งหมด 2,650 คน (ข้อมูล ณ 1 กรกฎาคม 2566) เป็นพื้นที่หนึ่ง ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้การเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดประกอบก้วยพื้นที่ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ และสวนผัก การทำเกษตรของประชาชนในพื้นที่ยังมีการพึ่งพาสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ในการทำการเกษตร ซึ่งผลกระทบของสารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงรุนแรงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หากเกษตรกรไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้สารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น พฤติกรรมการทำงานของเกษตรกรที่ไม่ถูกต้อง การสัมผัสสารเคมีโดยไม่ใส่ผ้าปิดจมูก ไม่สวมถุงมือ ใส่เสื้อผ้าที่ไม่ปกปิด และไม่สวมรองเท้าบู๊ท เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรสามารถสัมผัสสารเคมีโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การสูดดมสารเคมีเข้าไปและถึงภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมี เป็นต้น เกษตรกรที่สัมผัสสารเคมีอาจส่งผลต่อสุขภาพทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู๋กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้นสารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้ยังส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่นทำให้ระบบนิเวศน์จะเปราะบางลง ไม่สามารถรักษาสมดุลทางธรรมชาติ การระบาดของศัตรูพืชนับวันจะรุนแรงและถี่ขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้ ตำบลเขามีเกียรติอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกร ผู้มีภาวะเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีในพื้นที่ ให้มีความรู้และเกิดความตระหนักถึงอันตราย ผลกระทบ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของตนเองและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเป็นการเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงให้แก่กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดี พึ่งตนเองได้ บริโภคอาหารปลอดภัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้เกษตรกรได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด
2. เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดได้รับการดูแลที่ถูกต้อง
3. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้สารเคมี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/10/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรองให้แก่เกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดกรองให้แก่เกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้เรื่องสารเคมีและอันตรายจากการใช้สารเคมี 2. ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรที่ใช้ล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย 3. คัดกรองโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงและเจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด (เจาะเลือดกลุ่มเสี่ยง 1 เดือน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกษตรกรได้รับการตรวจหาระดับปริมรณสารเคมีจำนวน 90 คน 2. ผลการตรวจเลือดเกษตรกรที่ตรวจพบสารตกค้างในเลือดน้อยลงร้อยละ 50 3. เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมี ร้อยยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10740.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,740.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตร ได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถป้องกันอันตรายจากสารเคมีได้
2. ผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตร ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง


>