กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาทักษะชีวิตผู้สูงวัยในกลุ่มชมรมแพทย์ทางเลือก (ตำบลคูหาสวรรค์)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาทักษะชีวิตผู้สูงวัยในกลุ่มชมรมแพทย์ทางเลือก (ตำบลคูหาสวรรค์)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

กลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลพัทลุง

เทศบาลเมืองพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

10.00

การพัฒนาประเทศไทยนับตั้งแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่งผลให้ประเทศ มีการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น คือ การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรไทย จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนวัยเด็กและวัยทำงานลดลง แต่วัยผู้สูงอายุกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ในปี พ.ศ. 2564 มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 18.8 ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี (คิดเป็น 400,000 คนต่อปี) และในอนาคตอันใกล้ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีกมาก ประเทศไทย จะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือ มีผู้สูงอายุร้อยละ 20 ใน ปี 2564 และคาดว่า ในปี พ.ศ. 2574 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือ มีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ 28 ผู้สูงอายุ คือ ปูชนียบุคคล คือ คลังสมอง คือ ภูมิปัญญาของแผ่นดิน ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัย และมีความต้องการ การดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวและชุมชน แต่ถ้าผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงและมีสุขภาพจิตดี ก็จะสามารถ ช่วยเหลือสังคมได้อย่างมีคุณค่า ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ให้ความสำคัญกับการส่งเสริม สุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนี้ แนวคิด Active Ageing ขององค์การอนามัยโลก 3 Active Ageing ขององค์การอนามัยโลก อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญ ของการเป็นผู้สูงอายุที่มีพลัง ประกอบด้วย 3 ประการ ได้แก่ 1. มีสุขภาพที่ดี (Healthy) 2. มีความมั่นคง หรือการมีหลักประกันในชีวิต (Security) 3. มีส่วนร่วม (Participation)
ชมรมแพทย์ทางเลือก ซึ่งเป็นชมรมหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวของผู้สูงอายุประกอบกิจกรรมดูแลซึ่งกันและกันสุขภาพทางการเริ่มเสื่อมถอยลงตามอายุ การประกอบกิจวัตรประจำวัน เริ่มไม่ได้ตามที่คาดหวัง คุณภาพชีวิตถดถอยลง จากสภาพดังกล่าวจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาทักษะชีวิต โดยประกอบด้วยการประเมินคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้ทักษะชีวิตในด้านอาหาร การเคลื่อนไหว สุขภาพในช่องปาก ความจำ การจัดการทางอารมณ์ และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้อายุ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างผู้อายุด้วยกัน ติดตามประเมินซ้ำ เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาในชมรมแพทย์ทางเลือกต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

1.เพื่อประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิตของกลุ่มแพทย์ทางเลือก 2.เพื่อรับรู้ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพผู้สูงวัย 3.กลุ่มเสี่ยงผู้สูงวัยในชมรมแพทย์ทางเลือกได้รับการส่งต่อ

10.00 30.00

1. เพื่อประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตร และคุณภาพชีวิตของกลุ่มแพทย์ทางเลือก
2. เพื่อรับรู้ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพผู้สูงวัย
3. กลุ่มเสี่ยงผู้สูงวัยในชมรมแพทย์ทางเลือกได้รับการส่งต่อ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมและประเมินความสามารถประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิต

ชื่อกิจกรรม
อบรมและประเมินความสามารถประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 อบรมและประเมินความสามารถประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิตของกลุ่มแพทย์ทางเลือก

รายละเอียดเนื้อหาอบรม

1.ประเมินความสามารถประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิตของกลุ่มแพทย์ทางเลือก

2.ตรวจสุขภาพเบื้องต้นและวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย

3.ให้ความรู้เรื่องทักษะชีวิตและช่องทางการส่งต่อ

4.การจัดการความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะชีวิต(อาหาร การเคลื่อนไหว สุขภาพช่องปาก การจัดการทางอารมณ์และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย)

5.สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ค่าใช้จ่าย 1. ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มประเมินความสามารถประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิต ( 50 ชุด X 10 บาท) เป็นเงิน 500บาท

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 คน X 30 บาท X 2มื้อ) เป็นเงิน 3,000บาท

  2. ค่าอาหารเที่ยง (50คน X 65บาท X 1 มื้อ) เป็นเงิน 3,250บาท

  3. ค่าถ่ายเอกสารชุดความรู้ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพผู้สูงวัย(50 ชุดX 50บาท) เป็นเงิน 2,500บาท

  4. ค่าวิทยากร (6ชม. X 600 บาท) เป็นเงิน 3,600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สมาชิกชมรมแพทย์ทางเลือกได้รับการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตร และคุณภาพชีวิต ของตนเองและบุคคลอื่น
  2. ชมรมแพทย์ทางเลือกรับรู้ปัจจัยเสี่ยงความสามารถในการประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิตของตนเอง
  3. สามารถจำแนกกลุ่มเสี่ยงและได้รับการส่งต่อคลินิกผู้สูงอายุ
  4. กลุ่มเสี่ยงผู้สูงวัยในชมรมแพทย์ทางเลือกได้รับการส่งต่อและดูแลอย่างต่อเนื่องจากชุมชนและคลินิกผู้สูงอายุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12850.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามประเมินซ้ำ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินซ้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่2 ติดตามประเมินซ้ำ

รายละเอียดกิจกรรม

1.ประเมินความสามารถประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิตของกลุ่มแพทย์ทางเลือก

2.ตรวจสุขภาพเบื้องต้นและวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 คน X 30 บาท X 1มื้อ) เป็นเงิน 1,500บาท

  2. ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มประเมินความสามารถประกอบกิจวัตรและ คุณภาพชีวิต (50 ชุด X 10 บาท) เป็นเงิน 500บาท

    หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สมาชิกชมรมแพทย์ทางเลือกได้รับการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตร และคุณภาพชีวิต ของตนเองและบุคคลอื่น
  2. ชมรมแพทย์ทางเลือกรับรู้ปัจจัยเสี่ยงความสามารถในการประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิตของตนเอง
  3. สามารถจำแนกกลุ่มเสี่ยงและได้รับการส่งต่อคลินิกผู้สูงอายุ
  4. กลุ่มเสี่ยงผู้สูงวัยในชมรมแพทย์ทางเลือกได้รับการส่งต่อและดูแลอย่างต่อเนื่องจากชุมชนและคลินิกผู้สูงอายุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุชมรมแพทย์ทางเลือกในตำบลคูหาสวรรค์ได้รับการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตร และคุณภาพชีวิต
2. รับรู้ปัจจัยเสี่ยงความสามารถในการประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิตของตนเอง
3. สามารถจำแนกกลุ่มเสี่ยงและได้รับการส่งต่อและดูแลอย่างต่อเนื่องจากชุมชนและคลินิกผู้สูงอายุ


>