โครงการพัฒนาทักษะชีวิตผู้สูงวัยในกลุ่มชมรมแพทย์ทางเลือก (ตำบลคูหาสวรรค์)
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาทักษะชีวิตผู้สูงวัยในกลุ่มชมรมแพทย์ทางเลือก (ตำบลคูหาสวรรค์) |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 12 มกราคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 12 มกราคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 14,850.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) | 10.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาประเทศไทยนับตั้งแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่งผลให้ประเทศ มีการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น คือ การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรไทย จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนวัยเด็กและวัยทำงานลดลง แต่วัยผู้สูงอายุกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ในปี พ.ศ. 2564 มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 18.8 ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี (คิดเป็น 400,000 คนต่อปี) และในอนาคตอันใกล้ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีกมาก ประเทศไทย จะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือ มีผู้สูงอายุร้อยละ 20 ใน ปี 2564 และคาดว่า ในปี พ.ศ. 2574 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือ มีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ 28 ผู้สูงอายุ คือ ปูชนียบุคคล คือ คลังสมอง คือ ภูมิปัญญาของแผ่นดิน ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัย และมีความต้องการ การดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวและชุมชน แต่ถ้าผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงและมีสุขภาพจิตดี ก็จะสามารถ ช่วยเหลือสังคมได้อย่างมีคุณค่า ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ให้ความสำคัญกับการส่งเสริม สุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนี้ แนวคิด Active Ageing ขององค์การอนามัยโลก 3 Active Ageing ขององค์การอนามัยโลก อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญ ของการเป็นผู้สูงอายุที่มีพลัง ประกอบด้วย 3 ประการ ได้แก่ 1. มีสุขภาพที่ดี (Healthy) 2. มีความมั่นคง หรือการมีหลักประกันในชีวิต (Security) 3. มีส่วนร่วม (Participation) ชมรมแพทย์ทางเลือก ซึ่งเป็นชมรมหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวของผู้สูงอายุประกอบกิจกรรมดูแลซึ่งกันและกันสุขภาพทางการเริ่มเสื่อมถอยลงตามอายุ การประกอบกิจวัตรประจำวัน เริ่มไม่ได้ตามที่คาดหวัง คุณภาพชีวิตถดถอยลง จากสภาพดังกล่าวจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาทักษะชีวิต โดยประกอบด้วยการประเมินคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้ทักษะชีวิตในด้านอาหาร การเคลื่อนไหว สุขภาพในช่องปาก ความจำ การจัดการทางอารมณ์ และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้อายุ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างผู้อายุด้วยกัน ติดตามประเมินซ้ำ เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาในชมรมแพทย์ทางเลือกต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 1.เพื่อประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิตของกลุ่มแพทย์ทางเลือก 2.เพื่อรับรู้ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพผู้สูงวัย 3.กลุ่มเสี่ยงผู้สูงวัยในชมรมแพทย์ทางเลือกได้รับการส่งต่อ |
10.00 | 30.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 14,850.00 | 2 | 14,850.00 | 0.00 | |
15 - 29 ก.พ. 67 | อบรมและประเมินความสามารถประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิต | 0 | 12,850.00 | ✔ | 12,600.00 | 250.00 | |
1 มี.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 | ติดตามประเมินซ้ำ | 0 | 2,000.00 | ✔ | 2,250.00 | -250.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 14,850.00 | 2 | 14,850.00 | 0.00 |
- ผู้สูงอายุชมรมแพทย์ทางเลือกในตำบลคูหาสวรรค์ได้รับการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตร และคุณภาพชีวิต
- รับรู้ปัจจัยเสี่ยงความสามารถในการประกอบกิจวัตรและคุณภาพชีวิตของตนเอง
- สามารถจำแนกกลุ่มเสี่ยงและได้รับการส่งต่อและดูแลอย่างต่อเนื่องจากชุมชนและคลินิกผู้สูงอายุ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2566 13:44 น.