กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัย (RDU) ในชุมชน รพ.สต.ตำบลปากน้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

1.นายพิเชษฐ์ ปัจฉิมศิริ

2.นางนูรอัยนี นกเกษม

3.นางสุนิดา งะสมัน

4.นางฮานีฝ๊ะ สะอีด

5.นางสาวอารตี รองเดช

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคหวัด

 

0.00

ปัจจุบันร้านค้าปลีกในชุมชน ถือเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านค้าปลีกในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสารสเตียรอยด์ เครื่องสำอางมีสารอันตราย การใช้ยาไม่สมเหตุสมผล ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากประชาชนมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้อง ก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง ตำบลปากน้ำเป็นชุมชนกึ่งเมือง เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ มีสถานที่ท่องเที่ยว และสถานประกอบการต่างๆจำนวนมาก ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อ และได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำ มีหมู่บ้านรับผิดชอบทั้งหมด 5 หมู่บ้าน มีร้านขายยา 3 ร้าน ร้านร้านค้าปลีกในชุมชน 90 ร้าน จากผลจากการสำรวจร้านค้าปลีกในชุมชน ภายใต้โครงการร้านชำคุณภาพ ผู้ประกอบการรอบรู้ ผู้บริโภคปลอดภัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำ ในปี 2565 สำรวจร้านค้าในชุมชนที่มีการขายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ จำนวน 50 ร้าน พบว่ามีการขายยาไม่สมเหตุผลจำนวน 38 ร้าน ร้านค้าปลีกจำนวนมากขายยาอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์ที่เป็นยาควบคุมพิเศษ นอกจากนี้ยังพบผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารสเตียรอยด์ เช่น ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพร ซึ่งมี หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ยาผง ยาเม็ด ยาลูกกลอน เป็นต้น การดำเนินการเชิงรุกในชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนให้มีทักษะในคุ้มครองตนเองและครอบครัวในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัย (RDU) ในชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องและปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจใน การใช้ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ชุมชนมีเครือข่าย แกนนำที่สามารถให้ความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลแก่คนในชุมชนได้ และคนในชุมชนสามารถลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุด ยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น

ชุมชนมีเครือข่าย แกนนำที่สามารถให้ความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลแก่คนในชุมชนได้ และคนในชุมชนสามารถลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุด ยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลมาวางแผนดําเนินกิจกรรม

  2. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำร่วมกับเครือข่าย และ อสม.เพื่อวางแผนดําเนินงานตามกิจกรรม จำนวน 30 คน / งบประมาณ : ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คน คนละ 30 บาท

จำนวน 1 มื้อ คิดเป็นเงิน 900 บาท

  1. ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินงาน

  2. ประสานติดต่อวิทยากรในการอบรมให้ความรู้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แนวทางในการดำเนินงานกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 2 2. อบรมให้ความรู้ เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัยในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
2. อบรมให้ความรู้ เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัยในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยวิธีการบรรยาย อภิปราย สาธิต ฝึกปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมายประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 150 คน

แบ่งการอบรมเป็น 3 วัน แยกรายหมู่บ้าน ดังนี้

วันที่ 1 : ท่ายาง และท่าพยอม จำนวน 40 คน จัดอบรมที่มัสยิดบ้านท่ายาง

วันที่ 2 : ท่ามาลัย และตะโละใส จำนวน 60 คน จัดอบรมที่มัสยิดตะโละใส

วันที่ 3 : ปากบารา จำนวน 50 คน จัดอบรมที่โรงเรียนบ้านปากบารา

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คน คนละ 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 9,000 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คน คนละ 80 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 12,000 บาท

  • ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 5 ชั่วโมง x 3 วัน เป็นเงิน 4,500 บาท

  • ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 2000 บาท จำนวน 8 รายการ ดังนี้

    1. กระดาษ A4 ดับเบิลเอ จำนวน 3 รีมๆ ละ 225 เป็นเงิน 675 บาท
    2. ปากกาน้ำเงิน จำนวน 2 กล่องๆ ละ 250 เป็นเงิน 500 บาท
    3. ปากกาเคมี จำนวน 15 แท่งๆ ละ 15 เป็นเงิน 225 บาท
    4. แฟ้มสอด A4 จำนวน 10 ชิ้นๆ ละ 10 เป็นเงิน 100 บาท
    5. ตัวหนีบ จำนวน 4 กล่องๆ ละ 45 เป็นเงิน 180 บาท
    6. แม็ค จำนวน 2 ตัวๆ ละ 80 เป็นเงิน 160 บาท
    7. ไส้แม็คเบอร์ 10 จำนวน 6 กล่องๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 120 บาท
    8. ปากกาลบคำผิด จำนวน 1 ชิ้นๆ ละ 40 เป็นเงิน 40 บาท
  • ค่าโปสเตอร์ยาสามัญประจำบ้าน และยาอันตราย (ขนาด A3) แผ่นละ 50 บาท x 100 แผ่น เป็นเงิน 5,000 บาท

  • ค่าป้ายโครงการ (ขนาด 1.5x3 เมตร) เป็นเงิน 900 บาท

ทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม โดยให้แบบทดสอบความรู้

ตารางการอบรม

08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรม ทดสอบก่อนการอบรม

09.00-09.30 น. เปิดพิธีการอบรม

09.30-12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และอันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาชุด ยาสเตียรอยด์ /วิทยากร เภสัชกรชำนาญการ สสจ.สตูล

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-15.30 น. อบรมให้ความเรื่องการสืบค้นเลขผลิตภัณฑ์ พร้อมสาธิตและฝึกปฏิบัติการสืบค้นเลขผลิตภัณฑ์

15.30-16.00 น. เลือกแกนนำของชุมชน เพื่อเป็นตัวแทนในการให้ความรู้แก่คนในชุมชนในการลดการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลในชุมชน/วิทยากร เภสัชกรชำนาญการ สสจ.สตูล

16.15-16.30 น. ทดสอบหลังการอบรม สรุปผลการอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33400.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจติดตามการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจติดตามการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ออกติดตามสุ่มตรวจร้านชำที่มีการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพร่วมกับเครือข่าย โดยทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เภสัชกรโรงพยาบาลละงู ผู้นำชุมชน และ อสม. โดยใช้แบบประเมินมาตรฐานร้านชำคุณภาพ จังหวัดสตูล

(โดยร้านหนึ่งๆ นั้น จะสุ่มตรวจ 2 ครั้ง ห่างกัน 3 เดือน)

  1. ในหว่างการติดตามสุ่มตรวจร้านชำที่มีการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีการให้คำแนะนำผู้ประกอบการถึงอันตรายและโทษจากการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน

แผนตรวจติดตามการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ : แบ่งวันลงพื้นที่ตรวจร้านแยกเป็นรายหมู่บ้าน

วันที่ 1 : ตรวจติดตามร้านชำ ม.5 ม.6 และ ม.7 จำนวน 10 ร้าน เวลาออกตรวจ 8.00 - 16.00 น.

วันที่ 2 : ตรวจติดตามร้านชำ ม.4 จำนวน 11 ร้าน เวลาออกตรวจ 8.00 - 16.00 น.

วันที่ 3 : ตรวจติดตามร้านชำ ม.2 จำนวน 15 ร้าน เวลาออกตรวจ 8.00 - 16.00 น.

วันที่ 4 : ตรวจติดตามร้านชำ ม.2 จำนวน 14 ร้าน เวลาออกตรวจ 8.00 - 16.00 น.

  1. มอบป้ายประกาศเกียรติคุณ"ร้านชำสีขาว"สำหรับร้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินร้านชำคุณภาพจังหวัดสตูล ปี 2567

งบประมาณ :

  • ค่าเบี้ยเลี้ยงการออกติดตามตรวจร้านชำที่มีการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ จำนวน 2 ครั้ง วันละ 120 บาท x 10 คน x 4 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท
  • ค่าป้ายประกาศเกียรติคุณ "ร้านชำสีขาว" ป้ายโฟมบอร์ด ขนาด A3 จำนวน 50 ป้าย ป้ายละ 150 บาท x 50 แผ่น เป็นเงิน 7,500 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ยาอันตรายในชุมชน ป้ายไวนิลพร้อมโครงและติดตั้ง ขนาด 1.2 x 2.4 จำนวน 5 ป้าย ป้ายละ 1500 บาท x 5 แผ่น เป็นเงิน 7,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านชำมีการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผ่านมาตรฐานร้านชำคุณภาพ จังหวัดสตูล ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24600.00

กิจกรรมที่ 4 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาการใช้ยาในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาการใช้ยาในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยวิธีการประชุมแลกเปลี่ยน และแบ่งกลุ่ม Focus group สรุปประเด็นปัญหาการใช้ยาในชุมชน และแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลในชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย : แกนนำ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ อสม. หมู่บ้านละ 10 คน จำนาน 5 หมู่บ้าน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน คนละ 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน คนละ 80 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท

  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 คน (วิทยากรหลัก 1 คน และวิทยากรกลุ่ม กลุ่มละ 1คน x 5กลุ่ม) ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 5 ชั่วโมง x 6 คน เป็นเงิน 9,000 บาท

ตารางการประชุมแลกเปลี่ยน

08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าประชุม

09.00-10.00 น. ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาเรื่องสมเหตุสมผลในชุมชน และคืนข้อมูลการใช้และจำหน่ายยาในชุมชน

10.00-12.00 น. กิจกรรม Focus group สรุปประเด็นปัญหาการใช้ยาในชุมชน และแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลในชุมชน โดยแกนนำ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ อสม. แต่ละหมู่บ้าน

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-16.00 น. แกนนำหมู่บ้านร่วมแลกเปลี่ยนผลการถอดบทเรียนปัญหาการใช้ยาในชุมชน เพื่อให้ตำบลมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการใช้ยาในชุมชนอย่างสมเหตุสมผลในทิศทางเดียวกัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำมีแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลในชุมชนไปในทิศทางเดียวกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 74,900.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์มากขึ้น
2. ชุมชนมีเครือข่าย แกนนำที่สามารถให้ความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลแก่คนในชุมชนได้ และคนในชุมชนสามารถลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุด ยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น


>