กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัย (RDU) ในชุมชน รพ.สต.ตำบลปากน้ำ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
กลุ่มคน
1.นายพิเชษฐ์ ปัจฉิมศิริ

2.นางนูรอัยนี นกเกษม

3.นางสุนิดา งะสมัน

4.นางฮานีฝ๊ะ สะอีด

5.นางสาวอารตี รองเดช
3.
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันร้านค้าปลีกในชุมชน ถือเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านค้าปลีกในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสารสเตียรอยด์ เครื่องสำอางมีสารอันตราย การใช้ยาไม่สมเหตุสมผล ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากประชาชนมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้อง ก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง ตำบลปากน้ำเป็นชุมชนกึ่งเมือง เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ มีสถานที่ท่องเที่ยว และสถานประกอบการต่างๆจำนวนมาก ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อ และได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำ มีหมู่บ้านรับผิดชอบทั้งหมด 5 หมู่บ้าน มีร้านขายยา 3 ร้าน ร้านร้านค้าปลีกในชุมชน 90 ร้าน จากผลจากการสำรวจร้านค้าปลีกในชุมชน ภายใต้โครงการร้านชำคุณภาพ ผู้ประกอบการรอบรู้ ผู้บริโภคปลอดภัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำ ในปี 2565 สำรวจร้านค้าในชุมชนที่มีการขายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ จำนวน 50 ร้าน พบว่ามีการขายยาไม่สมเหตุผลจำนวน 38 ร้าน ร้านค้าปลีกจำนวนมากขายยาอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์ที่เป็นยาควบคุมพิเศษ นอกจากนี้ยังพบผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารสเตียรอยด์ เช่น ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพร ซึ่งมี หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ยาผง ยาเม็ด ยาลูกกลอน เป็นต้น การดำเนินการเชิงรุกในชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนให้มีทักษะในคุ้มครองตนเองและครอบครัวในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัย (RDU) ในชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องและปลอดภัย

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจใน การใช้ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์
    ตัวชี้วัด : 1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้ชุมชนมีเครือข่าย แกนนำที่สามารถให้ความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลแก่คนในชุมชนได้ และคนในชุมชนสามารถลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุด ยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น
    ตัวชี้วัด : ชุมชนมีเครือข่าย แกนนำที่สามารถให้ความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลแก่คนในชุมชนได้ และคนในชุมชนสามารถลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุด ยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. 1. กิจกรรมประชุมคณะทำงาน
    รายละเอียด
    1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลมาวางแผนดําเนินกิจกรรม

    2. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำร่วมกับเครือข่าย และ อสม.เพื่อวางแผนดําเนินงานตามกิจกรรม จำนวน 30 คน / งบประมาณ : ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คน คนละ 30 บาท

    จำนวน 1 มื้อ คิดเป็นเงิน 900 บาท

    1. ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินงาน

    2. ประสานติดต่อวิทยากรในการอบรมให้ความรู้

    งบประมาณ 900.00 บาท
  • 2. 2. อบรมให้ความรู้ เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัยในชุมชน
    รายละเอียด

    โดยวิธีการบรรยาย อภิปราย สาธิต ฝึกปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมายประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 150 คน

    แบ่งการอบรมเป็น 3 วัน แยกรายหมู่บ้าน ดังนี้

    วันที่ 1 : ท่ายาง และท่าพยอม จำนวน 40 คน จัดอบรมที่มัสยิดบ้านท่ายาง

    วันที่ 2 : ท่ามาลัย และตะโละใส จำนวน 60 คน จัดอบรมที่มัสยิดตะโละใส

    วันที่ 3 : ปากบารา จำนวน 50 คน จัดอบรมที่โรงเรียนบ้านปากบารา

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คน คนละ 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 9,000 บาท

    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คน คนละ 80 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 12,000 บาท

    • ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 5 ชั่วโมง x 3 วัน เป็นเงิน 4,500 บาท

    • ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 2000 บาท จำนวน 8 รายการ ดังนี้

      1. กระดาษ A4 ดับเบิลเอ จำนวน 3 รีมๆ ละ 225 เป็นเงิน 675 บาท
      2. ปากกาน้ำเงิน จำนวน 2 กล่องๆ ละ 250 เป็นเงิน 500 บาท
      3. ปากกาเคมี จำนวน 15 แท่งๆ ละ 15 เป็นเงิน 225 บาท
      4. แฟ้มสอด A4 จำนวน 10 ชิ้นๆ ละ 10 เป็นเงิน 100 บาท
      5. ตัวหนีบ จำนวน 4 กล่องๆ ละ 45 เป็นเงิน 180 บาท
      6. แม็ค จำนวน 2 ตัวๆ ละ 80 เป็นเงิน 160 บาท
      7. ไส้แม็คเบอร์ 10 จำนวน 6 กล่องๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 120 บาท
      8. ปากกาลบคำผิด จำนวน 1 ชิ้นๆ ละ 40 เป็นเงิน 40 บาท
    • ค่าโปสเตอร์ยาสามัญประจำบ้าน และยาอันตราย (ขนาด A3) แผ่นละ 50 บาท x 100 แผ่น เป็นเงิน 5,000 บาท

    • ค่าป้ายโครงการ (ขนาด 1.5x3 เมตร) เป็นเงิน 900 บาท

    ทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม โดยให้แบบทดสอบความรู้

    ตารางการอบรม

    08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรม ทดสอบก่อนการอบรม

    09.00-09.30 น. เปิดพิธีการอบรม

    09.30-12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และอันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาชุด ยาสเตียรอยด์ /วิทยากร เภสัชกรชำนาญการ สสจ.สตูล

    12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.00-15.30 น. อบรมให้ความเรื่องการสืบค้นเลขผลิตภัณฑ์ พร้อมสาธิตและฝึกปฏิบัติการสืบค้นเลขผลิตภัณฑ์

    15.30-16.00 น. เลือกแกนนำของชุมชน เพื่อเป็นตัวแทนในการให้ความรู้แก่คนในชุมชนในการลดการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลในชุมชน/วิทยากร เภสัชกรชำนาญการ สสจ.สตูล

    16.15-16.30 น. ทดสอบหลังการอบรม สรุปผลการอบรม

    งบประมาณ 33,400.00 บาท
  • 3. ตรวจติดตามการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ
    รายละเอียด
    1. ออกติดตามสุ่มตรวจร้านชำที่มีการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพร่วมกับเครือข่าย โดยทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เภสัชกรโรงพยาบาลละงู ผู้นำชุมชน และ อสม. โดยใช้แบบประเมินมาตรฐานร้านชำคุณภาพ จังหวัดสตูล

    (โดยร้านหนึ่งๆ นั้น จะสุ่มตรวจ 2 ครั้ง ห่างกัน 3 เดือน)

    1. ในหว่างการติดตามสุ่มตรวจร้านชำที่มีการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีการให้คำแนะนำผู้ประกอบการถึงอันตรายและโทษจากการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน

    แผนตรวจติดตามการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ : แบ่งวันลงพื้นที่ตรวจร้านแยกเป็นรายหมู่บ้าน

    วันที่ 1 : ตรวจติดตามร้านชำ ม.5 ม.6 และ ม.7 จำนวน 10 ร้าน เวลาออกตรวจ 8.00 - 16.00 น.

    วันที่ 2 : ตรวจติดตามร้านชำ ม.4 จำนวน 11 ร้าน เวลาออกตรวจ 8.00 - 16.00 น.

    วันที่ 3 : ตรวจติดตามร้านชำ ม.2 จำนวน 15 ร้าน เวลาออกตรวจ 8.00 - 16.00 น.

    วันที่ 4 : ตรวจติดตามร้านชำ ม.2 จำนวน 14 ร้าน เวลาออกตรวจ 8.00 - 16.00 น.

    1. มอบป้ายประกาศเกียรติคุณ"ร้านชำสีขาว"สำหรับร้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินร้านชำคุณภาพจังหวัดสตูล ปี 2567

    งบประมาณ :

    • ค่าเบี้ยเลี้ยงการออกติดตามตรวจร้านชำที่มีการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ จำนวน 2 ครั้ง วันละ 120 บาท x 10 คน x 4 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท
    • ค่าป้ายประกาศเกียรติคุณ "ร้านชำสีขาว" ป้ายโฟมบอร์ด ขนาด A3 จำนวน 50 ป้าย ป้ายละ 150 บาท x 50 แผ่น เป็นเงิน 7,500 บาท
    • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ยาอันตรายในชุมชน ป้ายไวนิลพร้อมโครงและติดตั้ง ขนาด 1.2 x 2.4 จำนวน 5 ป้าย ป้ายละ 1500 บาท x 5 แผ่น เป็นเงิน 7,500 บาท
    งบประมาณ 24,600.00 บาท
  • 4. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาการใช้ยาในชุมชน
    รายละเอียด

    โดยวิธีการประชุมแลกเปลี่ยน และแบ่งกลุ่ม Focus group สรุปประเด็นปัญหาการใช้ยาในชุมชน และแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลในชุมชน

    กลุ่มเป้าหมาย : แกนนำ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ อสม. หมู่บ้านละ 10 คน จำนาน 5 หมู่บ้าน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน คนละ 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน คนละ 80 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท

    • ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 คน (วิทยากรหลัก 1 คน และวิทยากรกลุ่ม กลุ่มละ 1คน x 5กลุ่ม) ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 5 ชั่วโมง x 6 คน เป็นเงิน 9,000 บาท

    ตารางการประชุมแลกเปลี่ยน

    08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าประชุม

    09.00-10.00 น. ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาเรื่องสมเหตุสมผลในชุมชน และคืนข้อมูลการใช้และจำหน่ายยาในชุมชน

    10.00-12.00 น. กิจกรรม Focus group สรุปประเด็นปัญหาการใช้ยาในชุมชน และแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลในชุมชน โดยแกนนำ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ อสม. แต่ละหมู่บ้าน

    12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.00-16.00 น. แกนนำหมู่บ้านร่วมแลกเปลี่ยนผลการถอดบทเรียนปัญหาการใช้ยาในชุมชน เพื่อให้ตำบลมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการใช้ยาในชุมชนอย่างสมเหตุสมผลในทิศทางเดียวกัน

    งบประมาณ 16,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 74,900.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์มากขึ้น
  2. ชุมชนมีเครือข่าย แกนนำที่สามารถให้ความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลแก่คนในชุมชนได้ และคนในชุมชนสามารถลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุด ยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 74,900.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................