กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน

นายเลอศักดิ์ จันทร์น้อย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน

พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน หมู่ที่1, 2 , 4 , 5 , 6, 9 , 10 , 11 ,13

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

5.00
2 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

10.00

เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมอย่างกว้างขวาง โรคซึมเศร้าเป็นปัจจัยสำคัญของการฆ่าตัวตาย ผลวิจัยส่วนใหญ่พบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย แต่ทว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเพศชายมีจำนวนมากกว่า ซึ่งเมื่อเพศชายเกิดอาการเครียดหรือซึมเศร้าขั้นรุนแรงช่วงปีที่ผ่านมาคนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คนหรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คนและเสียชีวิตราว 4,000 คนจากข้อมูลการปฏิบัติงานในปี 2566 เขต รพ.สต.บ้านหัวถนน ปีงบประมาณ 2566 มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 ราย โดยเป้าหมายที่กระทรวงตั้งไว้ไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากร ปัญหาพบว่าการเข้าถึงการบริการโรคซึมเศร้ามีน้อย และการคัดกรองโรคซึมเศร้าของประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีน้อย อสม.ไม่สามารถช่วยเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองเบื้องต้นได้ ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการส่วนใหญ่คือผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเองก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม เป็นผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการเมื่อมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ไม่ได้พบจากการคัดกรอง ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าผู้ป่วยหรือญาติจะมารับยาในช่วงที่มีอาการ เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะไม่มาตามนัดขาดการรักษาต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยาและผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านหัวถนน มีความครอบคลุมการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายอยู่ในเกณฑ์น้อย คิดเป็นร้อยละ 40.49 ทำให้การเข้าถึงบริการน้อยไปด้วย ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องจึงร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาการเพื่อหาแนวทางแก้ไข ซึ่งจากการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น พบว่ามีผลการศึกษาทางวิชาการรายงานไว้ว่า "การป้องกันโรคซึมเศร้าที่ได้ผลคือ Early detection และให้การช่วยเหลือทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการโดยมีเครื่องมือประเมินที่ง่ายและมีความไวในการประเมิน ใช้ง่ายเหมาะสมสำหรับใช้ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)แกนนำชุมชนหรือประชาชนทั่วไปก็สามารถนำมาใช้ในการประเมินตนเองได้ด้วยตนเอง" เครื่องมือที่กล่าวถึงเรียกว่า แบบประเมินคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือ 2Q Plus ของกรมสุขภาพจิต
ดังนั้น เพื่อการป้องกันการฆ่าตัวตายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ 2567ขึ้น โดยใช้แบบคัดกรองกลุ่มเสี่่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือ 2Q Plus ของกรมสุขภาพจิต อสม.ได้นำไปใช้กับชุมชนเพื่อช่วยหยุดยั้งและฉุดคนจากการคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือเบื้องตันได้ทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.มีความรู้สามารถค้นหา เฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

อสม.ได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็น "อสม.เชี่ยวชาญสุขภาพจิต"ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายร้อยละ 80

40.49 80.00
3 เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตาย

ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 100

100.00
4 เพื่อติดตามดูแลให้ผู้ป่วยจิตเวชและโรคซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ผู้ป่วยจิตเวชและซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาต่อเนื่องร้อยละ 100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,193
กลุ่มผู้สูงอายุ 856
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 286
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานสุขภาพจิตแก่แกนนำสุขภาพ ให้เป็น"แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต"

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานสุขภาพจิตแก่แกนนำสุขภาพ ให้เป็น"แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานสุขภาพจิตแก่แกนนำสุขภาพ ให้เป็น"แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต"

  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมฯ จำนวน 82 คน คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,050 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5ม.x2.0ม. เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าป้ายให้ความรู้ในชุมชน 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตาย (9 หมู่่บ้าน) ขนาด 1.5ม.x 2.0ม. จำนวน 9 แผ่นๆละ 500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มกราคม 2567 ถึง 26 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
อสม.ได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพ ให้เป็น "อสม. เชี่ยวชาญสุขภาพจิต" ร้อยละ 90
ผลลัพธ์
อสม.สามารถค้นหา เฝ้าระวังและแจ้งเหตุการฆ่าตัวตายได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8850.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบประเมิน 2Q Plus

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบประเมิน 2Q Plus
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมคัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบประเมิน 2Q Plus โดย อสม.ที่ผ่านการอบรมอสม.เชี่ยวชาญได้สุขภาพจิต
- ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มคัดกรองภาวะซึมเศร้า จำนวน 2,340 ชุด เป็นเงิน 2,340 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 80
ผลลัพธ์
กลุ่มเสี่ยงรับทราบข้อมูลสุขภาพจิตของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2340.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้า เพื่อติดตามประเมิน 9Q 8Q

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้า เพื่อติดตามประเมิน 9Q 8Q
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้า
- ติดตามประเมิน 9Q 8Q และวางแผนส่งต่อเพื่อพบแพทย์/ปรึกษาแพทย์
- ให้ความรู้กับญาติ คนใกล้ตัว เรื่อง 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้
ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 100
ผลลัพธ์
กลุ่มเสี่ยงมีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามดูแลให้ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามดูแลให้ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ให้ความรู้ คำแนะนำกับญาติ/ ผู้ดูแล เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ได้รับการรักษาได้รับการรักษาต่อเนื่องร้อยละ 100
ผลลัพธ์
ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,190.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบข้อมูลสุขภาพจิตของตนเอง
อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จลดลงไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากร


>