กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง รหัส กปท. L8415

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน
กลุ่มคน
นายเลอศักดิ์ จันทร์น้อย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน
3.
หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมอย่างกว้างขวาง โรคซึมเศร้าเป็นปัจจัยสำคัญของการฆ่าตัวตาย ผลวิจัยส่วนใหญ่พบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย แต่ทว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเพศชายมีจำนวนมากกว่า ซึ่งเมื่อเพศชายเกิดอาการเครียดหรือซึมเศร้าขั้นรุนแรงช่วงปีที่ผ่านมาคนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คนหรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คนและเสียชีวิตราว 4,000 คนจากข้อมูลการปฏิบัติงานในปี 2566 เขต รพ.สต.บ้านหัวถนน ปีงบประมาณ 2566 มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 ราย โดยเป้าหมายที่กระทรวงตั้งไว้ไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากร ปัญหาพบว่าการเข้าถึงการบริการโรคซึมเศร้ามีน้อย และการคัดกรองโรคซึมเศร้าของประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีน้อย อสม.ไม่สามารถช่วยเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองเบื้องต้นได้ ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการส่วนใหญ่คือผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเองก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม เป็นผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการเมื่อมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ไม่ได้พบจากการคัดกรอง ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าผู้ป่วยหรือญาติจะมารับยาในช่วงที่มีอาการ เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะไม่มาตามนัดขาดการรักษาต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยาและผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านหัวถนน มีความครอบคลุมการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายอยู่ในเกณฑ์น้อย คิดเป็นร้อยละ 40.49 ทำให้การเข้าถึงบริการน้อยไปด้วย ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องจึงร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาการเพื่อหาแนวทางแก้ไข ซึ่งจากการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น พบว่ามีผลการศึกษาทางวิชาการรายงานไว้ว่า "การป้องกันโรคซึมเศร้าที่ได้ผลคือ Early detection และให้การช่วยเหลือทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการโดยมีเครื่องมือประเมินที่ง่ายและมีความไวในการประเมิน ใช้ง่ายเหมาะสมสำหรับใช้ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)แกนนำชุมชนหรือประชาชนทั่วไปก็สามารถนำมาใช้ในการประเมินตนเองได้ด้วยตนเอง" เครื่องมือที่กล่าวถึงเรียกว่า แบบประเมินคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือ 2Q Plus ของกรมสุขภาพจิต ดังนั้น เพื่อการป้องกันการฆ่าตัวตายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ 2567ขึ้น โดยใช้แบบคัดกรองกลุ่มเสี่่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือ 2Q Plus ของกรมสุขภาพจิต อสม.ได้นำไปใช้กับชุมชนเพื่อช่วยหยุดยั้งและฉุดคนจากการคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือเบื้องตันได้ทันท่วงที

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ อสม.มีความรู้สามารถค้นหา เฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
    ตัวชี้วัด : อสม.ได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็น "อสม.เชี่ยวชาญสุขภาพจิต"ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 40.49 เป้าหมาย 80.00
  • 3. เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตาย
    ตัวชี้วัด : ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 100
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
  • 4. เพื่อติดตามดูแลให้ผู้ป่วยจิตเวชและโรคซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยจิตเวชและซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาต่อเนื่องร้อยละ 100
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานสุขภาพจิตแก่แกนนำสุขภาพ ให้เป็น"แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต"
    รายละเอียด

    จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานสุขภาพจิตแก่แกนนำสุขภาพ ให้เป็น"แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต"

    • ค่าสมนาคุณวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมฯ จำนวน 82 คน คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,050 บาท
    • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5ม.x2.0ม. เป็นเงิน 500 บาท
    • ค่าป้ายให้ความรู้ในชุมชน 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตาย (9 หมู่่บ้าน) ขนาด 1.5ม.x 2.0ม. จำนวน 9 แผ่นๆละ 500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
    งบประมาณ 8,850.00 บาท
  • 2. กิจกรรมคัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบประเมิน 2Q Plus
    รายละเอียด

    กิจกรรมคัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบประเมิน 2Q Plus โดย อสม.ที่ผ่านการอบรมอสม.เชี่ยวชาญได้สุขภาพจิต
    - ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มคัดกรองภาวะซึมเศร้า จำนวน 2,340 ชุด เป็นเงิน 2,340 บาท

    งบประมาณ 2,340.00 บาท
  • 3. กิจกรรมเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้า เพื่อติดตามประเมิน 9Q 8Q
    รายละเอียด

    เจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้า
    - ติดตามประเมิน 9Q 8Q และวางแผนส่งต่อเพื่อพบแพทย์/ปรึกษาแพทย์
    - ให้ความรู้กับญาติ คนใกล้ตัว เรื่อง 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้
    ไม่มีค่าใช้จ่าย

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. กิจกรรมติดตามดูแลให้ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
    รายละเอียด

    เจ้าหน้าที่ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
    ให้ความรู้ คำแนะนำกับญาติ/ ผู้ดูแล เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

    ไม่มีค่าใช้จ่าย

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 5 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน หมู่ที่1, 2 , 4 , 5 , 6, 9 , 10 , 11 ,13

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 11,190.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบข้อมูลสุขภาพจิตของตนเอง อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จลดลงไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากร

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง รหัส กปท. L8415

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง รหัส กปท. L8415

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 11,190.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................