กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมแบบบูรณาการระบบบริการสุขภาพสาขามะเร็ง รพ.สต.บ้านจันนา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา

เขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกHPV DNA TEST

 

20.00
2 ร้อยละของสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

 

91.45
3 ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และสำไส้ตรงและส่งต่อได้รวดเร็ว

 

90.00

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทย พบว่าสตรีทุก 16 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้1 คนแม้ว่ามะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่สูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งการขาดความรู้ ความเชื่อมั่น ในการตรวจเต้านม
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านจันนา จึงได้จัดทำส่งเสริมแบบบูรณาการบริการสุขภาพ สาขาโรคมะเร็ง ตำบลดอนทรายอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2567เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว และเป็นการค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เพื่อให้ได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ลดความรุนแรงของโรคให้น้อยลงด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV DNATEST

ร้อยละ 40 ของสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวคัดกรองมะเร็งปากมดลูกHPV DNA TEST

20.00 40.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 -70 ปี ได้รบการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 90 ของสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30- 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองเต้านม

91.45 94.67
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงและส่งต่อได้รวดเร็ว

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงและส่งต่อได้รวดเร็ว

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้นำชุมชน  อสม วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง พร้อมคืนข้อมูลอัตราการเกิด อัตราการตายโรคมะเร็งผ่านการประชุมหมู่บ้าน งบประมาณ ไม่ใช่งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2567 ถึง 10 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. ภาคีเครือข่ายรับทราบข้อมูลโรคมะเร็งในพื้นที่่ ผลลัพธ์  1. สามารถพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคมะเร็ง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกันโรค จำนวน50 คน งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่รพ.สต. ผู้เกี่ยวข้องวิทยากรจำนวน5คนและผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน รวมเป็น 55 คน X 1มื้อ X 25 บาท เป็นเงิน 1,375 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท 3. สื่อโมเดลเต้านมแบบซิลิโคน ราคา 5,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1 กลุ่มเป้าหมายมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปากมดลูก จำนวน 50 คน เข้ารับการบอบรมดังกล่าว
ผฃลัพธ์ 1. กลุ่มเป้าหมายมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปากมดลูก ได้รับความรู้เรื่องโรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8675.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มเป้าหมาย หญิงอายุ 30-60 ปี โดย HPV DNA TEST  2. ส่งต่อกรณีที่ผลการตรวจพบความผิดปกติ งบประมาณ  1.อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ (ผ้าถุง) ผื่นละ 100 บาท จำนวน 40 ผืน เป็นเงิน 4000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 26 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมาย หญิงอายุ 30-60 ปี  ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก จำนวน 40 คน  โดย HPV DNA TEST
ผลลัพธ์  1.  กลุ่มเป้าหมาย หญิงอายุ 30-60 ปี  ได้รับรู้สถานะสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ได้รับการส่งต่อวินิจฉัยีที่รวดเร็งหากผิลปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้กลุ่มเป้าหมาย (Fit test)

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้กลุ่มเป้าหมาย (Fit test)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้กลุ่มเป้าหมาย อายุ 50-70 ปี (Fit test) ตามจำนวนจัดสรรจากโรงบาลควนขนุน  2. ส่งต่อกรณีที่มีผลการตรวจพบความผิดปกติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1 กลุ่มเป้าหมาาย  อายุ 50-70 ปี ตามจำนวนจัดสรรจากโรงบาลควนขนุน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้  (Fit test)
ผลลัพธ์ 1. กลุ่มเป้าหมายอายุ อายุ 50-70 ปี  ได้รับรู้สถานะภาพสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ได้รับการส่งต่อทำ Colonoscopy วินิจฉัยและรักษาที่รวดเร็วหากผิดปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 พัฒนาแนวทางการดูแลส่งต่อและติดตามเยี่ยมผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาแนวทางการดูแลส่งต่อและติดตามเยี่ยมผู้ป่วยโรคมะเร็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำข้อมูลสารสนเทศโรคมะเร็ง ข้อมูลผู้ป่วย การรักษา เพื่อการส่งต่อ ติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง
  2. ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เพื่อทบทวนแนวทางการส่งต่อโรคมะเร็ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีแนวทางการส่งต่อ โรคมะเร็งของ รพ.สต. บ้านจันนา ผลลัพธ์เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งสามารถรับการส่งต่อวินิจฉัยได้รวดเร็ว และลดอัตราตายต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,675.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประช่าชนกลุ่มเป้าหมายรับรู้ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็งมีความรู้ ในการป้องกันการเกิดโรค เพื่อลดอัตราป่วยมะเร็งรายใหม่ และอัตราการตายด้วยโรคมะเร็ง
2. กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองมากขึ้น และเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็วในรายที่ผิดปกติ
3. อัตราการป่วยและการตายจากโรคมะเร็งลดลง
4. มีกระบวนการส่งต่อเชื่อมโยงข้อมูลที่ทันสมัย รวดเร็วง่ายต่อการตรวจรักษาต่อเนื่อง


>