กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมแบบบูรณาการระบบบริการสุขภาพสาขามะเร็ง รพ.สต.บ้านจันนา
รหัสโครงการ 67-50105-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปิยเรศ คงพรม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกHPV DNA TEST
20.00
2 ร้อยละของสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
91.45
3 ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และสำไส้ตรงและส่งต่อได้รวดเร็ว
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทย พบว่าสตรีทุก 16 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้1 คนแม้ว่ามะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่สูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งการขาดความรู้ ความเชื่อมั่น ในการตรวจเต้านม ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านจันนา จึงได้จัดทำส่งเสริมแบบบูรณาการบริการสุขภาพ สาขาโรคมะเร็ง ตำบลดอนทรายอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2567เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว และเป็นการค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เพื่อให้ได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ลดความรุนแรงของโรคให้น้อยลงด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV DNATEST

ร้อยละ 40 ของสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวคัดกรองมะเร็งปากมดลูกHPV DNA TEST

20.00 40.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 -70 ปี ได้รบการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 90 ของสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30- 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองเต้านม

91.45 94.67
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงและส่งต่อได้รวดเร็ว

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงและส่งต่อได้รวดเร็ว

90.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,675.00 0 0.00
2 - 10 ม.ค. 67 ประชุมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
16 ก.พ. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง 0 8,675.00 -
1 มี.ค. 67 - 26 เม.ย. 67 ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย 0 4,000.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 พ.ค. 67 ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้กลุ่มเป้าหมาย (Fit test) 0 0.00 -
1 ก.ค. 67 - 30 พ.ย. 66 พัฒนาแนวทางการดูแลส่งต่อและติดตามเยี่ยมผู้ป่วยโรคมะเร็ง 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประช่าชนกลุ่มเป้าหมายรับรู้ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็งมีความรู้ ในการป้องกันการเกิดโรค เพื่อลดอัตราป่วยมะเร็งรายใหม่ และอัตราการตายด้วยโรคมะเร็ง
    1. กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองมากขึ้น และเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็วในรายที่ผิดปกติ
    2. อัตราการป่วยและการตายจากโรคมะเร็งลดลง
    3. มีกระบวนการส่งต่อเชื่อมโยงข้อมูลที่ทันสมัย รวดเร็วง่ายต่อการตรวจรักษาต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2566 08:40 น.