กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านจันนา ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านจันนา ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา

พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนาหมู่ที่7 และหมู่ที่ 8 ตำบลชะมวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรความดันโลหิตสูง

 

42.50
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

40.79
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA)

 

1.20

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนในประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศในปี 2556 - 2558 เท่ากับ 14.93, 17.53 และ 17.83 ตามลำดับ เห็นได้ว่า อัตราการตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายในประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ครั้งที่ 3, 4 และ 5 (ปี 2547, 2552 และ 2557) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวาน ของครั้งที่ 3 ร้อยละ 7 ใกล้เคียงกับครั้งที่ 4 ร้อยละ 6.9 ส่วนครั้งที่ 5 เพิ่มสูงขึ้นเป็น ร้อยละ 8.8 (คิดเป็น 4.8 ล้านคน)นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2551 ยังพบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกในการรักษาพยาบาลโรคเบาหวานเฉลี่ย 1,172 บาทต่อราย ส่วนผู้ป่วยในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 10,217 บาทต่อราย รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 3,984 ล้านบาทต่อปี หากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน รวม 3 ล้านคนต่อปี มารับบริการที่สถานพยาบาล จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 47,596 ล้านบาทต่อปี
จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95อำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2561 – 2566ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 4.615, 5.158, 5.483, 5.481 ต่อแสนประชากร ตามลำดับจากสถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไป รพ.สต.บ้านจันนา ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงปี ๒๕66คัดกรองโรคเบาหวานกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปดำเนินการคัดกรอง จำนวน 429 คนพบว่า กลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 83คน ร้อยละ 38.95 และกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 4คน ร้อยละ 1.84 คัดกรองโรคความดันโลหิต กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 372 คน พบกลุ่มแฝง/เสี่ยงจำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 23.01 กลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.45 การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ยังไม่เป็นโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองร้อยละ 90

0.00 90.00
2 เพื่อคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรอง  ร้อยละ 90

0.00 90.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ 2 ส ในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง

กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมรับการอบรมร้อยละ 90

0.00 5.00
4 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรค(SBP=120-139 mmHg.หรือ DBP=80-89 mmHg.) ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองได้รับการติดตามวัดความดันที่บ้าน ร้อยละ80

0.00 50.00
5 5 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และเข้าสู่ระบบการรักษา

กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และเข้าสู่ระบบการรักษา ร้อยละ 100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 450
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/12/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในชุมชน โดยการวัดความดัน และเจาะปลายนิ้วโดย อสม และเจ้าหน้าที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในชุมชน โดยการวัดความดัน และเจาะปลายนิ้วโดย อสม และเจ้าหน้าที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าแถบวัดระดับน้ำตาล (Instant) พร้อมเข็มเจาะ 5 กล่อง ๆละ 960 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
  2. ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง หน้า - หลัง จำนวน 450 แผ่นๆละ 1บาท เป็นเงิน 450 บาท
  3. เครื่องชั่งน้ำหนักจำนวน 2 เครื่องละๆ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิตกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 90 ผลลัพธ์ประชาชน ได้รับรู้ข้อมูลสุขภาพตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยตามหลัก 3 อ 2 ส

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยตามหลัก 3 อ 2 ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร 5 คนและผู้เข้ารับการอบรม 30 คน รวมเป็น35คน x1มื้อ x25บาท
    เป็นเงิน875 บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 90 ผลลัพธ์กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกลุ่มปกติได้ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2675.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรค เบาหวานรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มแฝง/เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (SBP=120-139 mmHg. หรือ DBP = 80-89 mmHg.) หลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มแฝง/เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (SBP=120-139 mmHg. หรือ DBP = 80-89 mmHg.) หลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้บประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่< ร้อยละ 5

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,925.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบรพ.สต. บ้านจันนาหมู่ 7 และหมู่ 8ตำบลชะมวง
1. อัตราการป่วยโรคเบาหวาน รายใหม่ ไม่เกิน ร้อยละ 1.75
2. อัตราการป่วยโรคความดันโลหิตสูง รายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 5
3 กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่ ร้อยละ 5


>