กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงเทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล ปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล
กลุ่มคน
1. นายศุภกิจ สัจกุล หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
2. น.ส.รุสนา คชฤทธิ์ นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ0810971550
3. น.ส.รัตนา ยูดีเจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
4. นายนัฐวุฒิ ทิพย์รักษ์ เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน
3.
หลักการและเหตุผล

ตามที่ เทศบาลเมืองสตูล ได้ตราเทศบัญญัติและออกระเบียบในเรื่องต่างๆ ตามอำนาจ หน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อบังคับใช้ในเขตพื้นที่ แต่เนื่องด้วยปัจจุบันสถานการณ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และประกาศกระทรวง ได้มีการปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ ทำให้เทศบัญญัติที่ตราขึ้นและระเบียบที่ออกไว้นั้น ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และทำให้ไม่สามารถเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพของประชาชนในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้อย่างครอบคลุม นั้น
เทศบาลเมืองสตูล จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเทศบัญญัติและระเบียบของเทศบาลเมืองสตูล ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และประกาศกระทรวงที่มีการปรับปรุงแก้ไข โดยจะมีการปรับปรุงเทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล เพื่อเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อให้สามารถเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพของประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม ดังนี้ 1. เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป เนื่องจากเทศบาลเมืองสตูล มีศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองสตูล ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ที่ 5 บ้านกาลันยีตัน ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งมีวิธีการกำจัดมูลฝอยโดยวิธีฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล ( Sanitary landfill ) และมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งหมด 18 แห่ง ร่วมทำ MOU เพื่อร่วมใช้สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าว และเนื่องจากในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล เป็นพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีประชากรที่หนาแน่น ทำให้มีขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ประชาชนยังให้ความสำคัญในเรื่องการคัดแยกขยะมูลฝอยน้อย รวมทั้งเทศบัญญัติของเทศบาลเมืองสตูล เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ที่คับใช้ในปัจจุบันได้ตราขึ้น ในปี พ.ศ.2541 ทำให้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และข้อกฎหมายต่างๆ จึงทำให้ต้องมีการตราเทศบัญญัติฉบับนี้ขึ้นใหม่ เพื่อให้รองรับและสามารถบังคับใช้กฎหมายที่เป็นปัจจุบันได้ เพื่อให้สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการกำจัดขยะมูลฝอย กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ที่ร่วมทำ MOU ใช้สถานที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองสตูล สามารถบังคับใช้กฎหมายที่เป็นปัจจุบันกับประชาชนและผู้ประกอบกิจการต่างๆ ในเขตเทศบาล เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการ มีความตระหนัก และให้ความสำคัญในเรื่องการคัดแยกขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น รวมทั้งสามารถใช้ข้อกฎหมายในการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพของประชนในเรื่องขยะได้ 2. เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ เนื่องจากในเขตเทศบาลเมืองสตูล ประกอบด้วยสถานที่ที่มีการให้บริการประชาชนในด้านการรักษาโรค สุขภาพ ของคนและสัตว์ อาทิเช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ คลินิครักษาโรค คลินิครักษาฟัน คลินิครักษาสัตว์ เป็นต้น โดยสถานที่ให้บริการดังกล่าวจะทำให้เกิดมูลฝอยติดเชื้อขึ้น และถ้าไม่มีการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวที่ถูกต้องและเหมาะสม จะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของประชนได้นั้น ซึ่งในปัจจุบันเทศบาลเมืองสตูลยังไม่มีเทศบัญญัติ หรือข้อกฎหมาย ในการบังคับใช้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดจากการให้บริการ รักษาสุขภาพของคนและสัตว์ จึงทำให้ต้องมีการตราเทศบัญญัติเรื่องนี้ขึ้นใหม่ เพื่อให้รองรับและสามารถบังคับใช้กฎหมายในด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้ ทั้งด้านการขออนุญาต จัดเก็บค่าธรรมเนียมในการเก็น ขน และกำจัดขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นในเขตเทศบาลเมืองสตูลได้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพของประชนในด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดจากขยะติดเชื้อได้ 3. เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล มีการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนหลายกิจการ อาทิเช่น กิจการร้านเสริมสวย กิจการซ่อมรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ กิจการ กิจการจำหน่ายน้ำมัน เป็นต้น โดยข้อกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน คือประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2558 นั้น มีการเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งทำให้เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล เรื่องการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2541 ที่ใช้อยู่ไม่สอดคล้องกับข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้ต้องมีการตราเทศบัญญัติฉบับนี้ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายตามเทศบัญญัติ ในการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพของประชาชนได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตเทศบาลเมืองสตูลได้ครอบคลุมทุกประเภท
    ตัวชี้วัด : ประเภทกิจการที่ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 142 กิจการ
    ขนาดปัญหา 130.00 เป้าหมาย 142.00
  • 2. เพื่อจัดระบบการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ และคลินิคต่างๆ ได้อยางเป็นระบบ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของผู้ประกอบการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อ อยู้ในระบบของเทศบาลเมืองสตูล
    ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 100.00
  • 3. เพื่อใช้ข้อกฎหมายในการควบคุมและจัดระบบในการเก็บ ขน กำจัด มูลฝอยทั่วไป
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 สามารถใช้กฎหมายในการควบคุมและจัดระบบในการเก็บขนกำจัดมูลฝอยทั่วไป ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ผู้ประกอบกิจการต่างๆ และประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสตูล
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมคณะทำงาน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจง วางแผนในการการดำเนินการจัดทำโครงการ
    รายละเอียด

    วิธีดำเนินการ
    1. จัดประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขฯ งานนิติกร คณะผู้บริหาร เพื่อปรึกษาหารือ สถานที่ ณ ห้องประชุม สปสช. เทศบาลเมืองสตูล
    2. ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและยกร่างเทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการจากหลายภาคส่วน
    งบประมาณ
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการประชุมคณะทำงาน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท

    งบประมาณ 600.00 บาท
  • 2. ประชุมคณะกรรมการยกร่างเทศบัญญัติ
    รายละเอียด

    คณะกรรมการยกร่างเทศบัญญัติ ประกอบด้วยคณะกรรมการจากหลายภาคส่วน ได้แก่ เทศบาลเมืองสตูล สมาชิกสภาเทศบาล สำนักงานสาธาณสุขจังหวัดสตูล ประธานชุมชน เป็นต้น
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับการประชุมคณะกรรมการยกร่างเทศบัญญัติ จำนวน 15 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท
    - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มสำหรับการประชุมคณะกรรมการยกร่างเทศบัญญัติ จำนวน 15 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
    - ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประชุม ค่าถ่ายเอกสาร วัสดุเครื่องเขียน เช่น กระดาษ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 1,550 บาท

    งบประมาณ 3,500.00 บาท
  • 3. การอบรมให้ความรู้ และการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย
    รายละเอียด

    วิธีดำเนินการ
    1. จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตัวแทนประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำเทศบัญญัติ และข้อกฎกมายต่างๆ ที่บังคับใช้
    2. การเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ต่อการยกร่างเทศบัญญัติฉบับใหม่
    กำหนดการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ในการยกร่างเทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล
    เวลา 08.30 – 09.00 น. - ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม
    เวลา 09.00 – 12.00 น. - จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ในการยกร่างเทศบัญญัติ โดยวิทยากร จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล
    เวลา 13.00 – 15.00 น. - จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ต่อการยกร่างเทศบัญญัติฉบับใหม่ โดยวิทยากร จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล เทศบาลเมืองสตูล
    เวลา 15.00 – 16.30 น. - สรุปผลการจัดอบรมและการเปิดรับฟังความคิดเห็น
    งบประมาณ
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 60 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท
    - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม สำหรับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 60 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
    - ค่าตอบแทนวิทยากร บรรยายในเรื่องการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น และการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
    - ค่าถ่ายเอกสาร วัสดุเครื่องเขียน อุปกรณ์ที่ใช้ในการประชุม เช่น กระดาษ กระดาษบรู๊ฟ กระดาษกาวปากกาเคมี ฯลฯ เป็นเงิน 1,100 บาท
    - ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นในโครงการ เช่น ค่าที่พักวิทยากร ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯเป็นเงิน 3,500 บาท

    งบประมาณ 15,400.00 บาท
  • 4. พิจารณาร่างเทศบัญญัติ ขอความเห็นชอบต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และประกาศใช้เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล
    รายละเอียด
    1. นำเทศบัญญัติที่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดจากประชาชนผู้มีส่วนได้เสียแล้ว เสนอในการประชุมสภาเทศบาลเมืองสตูล
    2. นำเทศบัญญัติฉบับใหม่ ทั้ง 3 เรื่อง ที่ผ่านการการพิจารณาจากสภาเทศบาลเมืองสตูลแล้ว เสนอขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
    3. นำเสนอเทศบัญญัติ ที่ผ่านการเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เสนอให้นายกเทศมตรีลงนามประกาศใช้
    4. ประกาศใช้เทศบัญญัติ โดยติดประกาศเปิดเผย ณ สำนักงานเทศบาลเมืองสตูล ไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือ 15 วัน แล้วแต่กรณี
    5. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล
    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 5. ติดตามและประเมินผลโครงการ
    รายละเอียด

    วิธีดำเนินการ
    - ทำรายงานการดำเนินโครงการ รายงานผลโครงการ
    งบประมาณ
    - จัดทำรูปเล่มสรุปโครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

    งบประมาณ 500.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 60 คน

ควบคุม กำกับ ดูแลไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

เทศบาลเมืองสตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 20,000.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เทศบัญญัติและระเบียบของเทศบาลเมืองสตูล มีความถูกต้อง ครอบคลุม และเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
  2. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน สามารถนำเทศบัญญัติไปใช้ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผู้ประกอบการ ประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองสตูล ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้อย่างถูกต้อง
  4. เทศบาลเมืองสตูล สามารถเฝ้าระวังและคุ้มครองสุขภาพของประชาชน ภายใต้ข้อบัญญัติที่จัดทำขึ้น
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 20,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................