กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการความสุขและการรับรู้คุณค่าของตัวเองเพื่อป้องกันภาวะเครียด ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ หมู่ 1,2,6,8,10,12,13และ 14

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพื่อลดจำนวนของเด็กนักเรียนที่มีภาวะเครียดลงร้อยละ 40

 

60.00
2 เพื่อลดจำนวนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่รับผิดชอบที่มีภาวะเครียดลงร้อยละ 30

 

60.00

จากสถานการณ์ภาวะเครียดในประเทศไทย กรมสุขภาพจิต รายงานว่ามีผู้ป่วยร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดหรือประมาณ 3 ล้านคน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบันพบว่าคนไทยให้ความสนใจกับโรคนี้น้อยมักมีทัศนคติในทางลบ คิดว่าเป็นโรคจิตโรคประสาทหรือบ้า ทำให้ไม่กล้ารับการรักษา จึงพบว่าการเข้าถึงบริการและการวินิจฉัยรักษาเพียงร้อยละ 28 เท่านั้น ภาวะเครียดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีจะก่อให้เกิดการสูญเสียสุขภาวะ ส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจรวมทั้งเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาของภาครัฐ นอกจากนี้หากเป็นเรื้อรังจะทำให้ผู้ป่วยมีความคิดทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตายในที่สุด ซึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมให้คนป่วยเป็นภาวะเครียดมีหลายปัจจัย ได้แก่พันธุกรรม ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผู้ที่เก็บกดอารมณ์ มองโลกในแง่ร้าย มีโรคทางกายหรือโรคเรื้อรังเนื่องจากโรคเรื้อรังที่รับยาประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับจำนวน 347 คน และจำนวนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปี่ 1 2 และ 3 จำนวน 160 คนเป็นการเจ็บป่วยที่รักษาไม่หายขาด ใช้เวลารักษายาวนาน มีผลกระทบต่อร่างกายทุกระบบต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติและลดภาวะแทรกซื้อต่าง ๆ ที่จะตามมา การเจ็บป่วยเรื้อรังไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ต้องการฟื้นฟูและต้องใช้ระยะเวลานานในการดูแลรักษาต่อเนื่องตลอดไปดังนั้นการเจ็บป่วยเรื้อรังก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ของผู้ป่วยอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากการเจ็บป่วยทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ครอบครัวและเศษฐกิจ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเครียด วิตกกังวล หากผู้ป่วยไม่สามารถจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลจะก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตที่รุนแรงขึ้นได้ ทำให้เกิดความท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อหน่าย ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง มีภาวะซึมเศร้าดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จึงได้จัดทำโครงการความสุขและการรับรู้คุณค่าของตนเอง เพื่อป้องกันภาวะเครียดและการเกิดโรคซึมเศร้าตามมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและค้นหาภาวะเครียดในกลุ่มนักเรียน

เพื่อลดจำนวนของเด็กนักเรียนที่มีภาวะเครียดลงได้ร้อยละ 40

60.00 30.00
2 เพื่อคัดกรองและค้นหาภาวะเครียดในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่รับผิดชอบ

เพื่อลดจำนวนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่รับผิดชอบที่มีภาวะเครียดลงได้ร้อยละ 30

60.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 347
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
1จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน ให้แก่แกนนำกลุ่มเป้าหมาย - ครูโรงเรียนจำนวน 3 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คนค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 9X30 บาท =270 บาท - แกนนำกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 8 หมุ่บ้าน หมู่บ้านละ 2 คน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 16X30 บาท =480 บาท

1.2 การคัดกรองซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 - แบบคัดกรองซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 ในเด็กวัยเรียนจำนวนทั้งหมด 150 คนX 1 บาท รวมเป็นเงิน 150 บาท - แบบคัดกรองซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 ในกลุ่มโรคเรื้อรังที่รับยาในรพ.สต.นาทับจำนวนทั้งหมด 347 คนX 1 บาท รวมเป็นเงิน 347 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 9 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานโครงการค้นหาและคัดกรองภาวะเครียด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1247.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติแก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติแก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการและฝึกทักษะการจัดการเมื่อพบปัญหาภาวะเครียดแก่กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นฐานข้อมูล คือ เด็กนักเรียน (จำนวน 40 % ของกลุ่มเป้าหมาย) และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (จำนวน 30 % ของกลุ่มเป้าหมาย)

  • เด็กวัยเรียน(40 %จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด) จำนวน 60 คน ค่าอาหารกลางวัน 60 คน X 70 บาทX 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 4,200 บาท
  • กลุ่มโรคเรื้อรัง (30 %จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด) ค่าอาหารกลางวัน 105 คน X 70 บาทX 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 7,350 บาท
  • ค่าวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการและฝึกทักษะการจัดการเมื่อพบปัญหาภาวะเครียด 2 คน X 600 บาท X 3 ชั่วโมง รวมเป็นเงิน 3,600 บาท --ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม
  • ปากกา ด้ามละ 5 บาท จำนวน 165 ด้าม X 5 บาท รวมเป็นเงิน 825 บาท
  • แฟ้มใส่เอกสาร ใบละ 20 บาท จำนวน 165 ใบ X 20 บาท รวมเป็นเงิน 3,300 บาท
  • กระดาษ A4 เปล่า 1 ริม ริมละ จำนวน 1 ริม X 200 บาท รวมเป็นเงิน 200 บาท
  • กระดาษฟลิบชาร์ต 10 แผ่น X 5 บาท เป็นเงิน 50 บาท
  • อุปกรณ์เบ็ดเตล็ดสำหรับกิจกรรมสันทนาการในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 500 บาท
  • ปากกาเมจิก จำนวน 10 ด้าม X 10 บาท เป็นเงิน 100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คัดกรองและค้นหาโรคซึมเศร้าในกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20125.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมและประเมินความรู้ การเผชิญปัญหาความเครียดหลังการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้หลังเสร็จสิ้นโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมและประเมินความรู้ การเผชิญปัญหาความเครียดหลังการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้หลังเสร็จสิ้นโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าแบบการคัดกรองซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 เด็กวัยเรียน(40 %จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด) จำนวน 60 คน X1 แผ่น X 1 บาท รวมเป็นเงิน 60 บาท
  • การคัดกรองซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 กลุ่มโรคเรื้อรัง (30 %จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด) จำนวน 105 คน X1 แผ่น X 1 บาท รวมเป็นเงิน 105 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้กลุ่มนักเรียนและผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่รับผิดชอบเกิดทักษะการแก้ปัญหาและเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับตนเองผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นสุขมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
165.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,537.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยระหว่างกิจกรรมได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กวัยเรียนและผู้ป่วยโรคเรื้อรังเข้าถึงบริการภาวะเครียดมากขึ้นร้อยละ 40
2.เด็กวัยเรียนและผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะและจัดการเกี่ยวกับภาวะเครียดได้มากขึ้นร้อยละ 40


>