กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการความสุขและการรับรู้คุณค่าของตัวเองเพื่อป้องกันภาวะเครียด ปี 2567
รหัสโครงการ L5181-67-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 21,537.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประทีป ปิ่นทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 347 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพื่อลดจำนวนของเด็กนักเรียนที่มีภาวะเครียดลงร้อยละ 40
60.00
2 เพื่อลดจำนวนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่รับผิดชอบที่มีภาวะเครียดลงร้อยละ 30
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ภาวะเครียดในประเทศไทย กรมสุขภาพจิต รายงานว่ามีผู้ป่วยร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดหรือประมาณ 3 ล้านคน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบันพบว่าคนไทยให้ความสนใจกับโรคนี้น้อยมักมีทัศนคติในทางลบ คิดว่าเป็นโรคจิตโรคประสาทหรือบ้า ทำให้ไม่กล้ารับการรักษา จึงพบว่าการเข้าถึงบริการและการวินิจฉัยรักษาเพียงร้อยละ 28 เท่านั้น ภาวะเครียดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีจะก่อให้เกิดการสูญเสียสุขภาวะ ส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจรวมทั้งเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาของภาครัฐ นอกจากนี้หากเป็นเรื้อรังจะทำให้ผู้ป่วยมีความคิดทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตายในที่สุด ซึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมให้คนป่วยเป็นภาวะเครียดมีหลายปัจจัย ได้แก่พันธุกรรม ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผู้ที่เก็บกดอารมณ์ มองโลกในแง่ร้าย มีโรคทางกายหรือโรคเรื้อรังเนื่องจากโรคเรื้อรังที่รับยาประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับจำนวน 347 คน และจำนวนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปี่ 1 2 และ 3 จำนวน 160 คนเป็นการเจ็บป่วยที่รักษาไม่หายขาด ใช้เวลารักษายาวนาน มีผลกระทบต่อร่างกายทุกระบบต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติและลดภาวะแทรกซื้อต่าง ๆ ที่จะตามมา การเจ็บป่วยเรื้อรังไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ต้องการฟื้นฟูและต้องใช้ระยะเวลานานในการดูแลรักษาต่อเนื่องตลอดไปดังนั้นการเจ็บป่วยเรื้อรังก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ของผู้ป่วยอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากการเจ็บป่วยทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ครอบครัวและเศษฐกิจ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเครียด วิตกกังวล หากผู้ป่วยไม่สามารถจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลจะก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตที่รุนแรงขึ้นได้ ทำให้เกิดความท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อหน่าย ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง มีภาวะซึมเศร้าดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จึงได้จัดทำโครงการความสุขและการรับรู้คุณค่าของตนเอง เพื่อป้องกันภาวะเครียดและการเกิดโรคซึมเศร้าตามมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและค้นหาภาวะเครียดในกลุ่มนักเรียน

เพื่อลดจำนวนของเด็กนักเรียนที่มีภาวะเครียดลงได้ร้อยละ 40

60.00 30.00
2 เพื่อคัดกรองและค้นหาภาวะเครียดในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่รับผิดชอบ

เพื่อลดจำนวนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่รับผิดชอบที่มีภาวะเครียดลงได้ร้อยละ 30

60.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,537.00 0 0.00
5 - 9 ก.พ. 67 1จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน 0 1,247.00 -
12 ก.พ. 67 - 31 มี.ค. 67 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติแก่กลุ่มเป้าหมาย 0 20,125.00 -
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามเยี่ยมและประเมินความรู้ การเผชิญปัญหาความเครียดหลังการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้หลังเสร็จสิ้นโครงการ 0 165.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กวัยเรียนและผู้ป่วยโรคเรื้อรังเข้าถึงบริการภาวะเครียดมากขึ้นร้อยละ 40 2.เด็กวัยเรียนและผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะและจัดการเกี่ยวกับภาวะเครียดได้มากขึ้นร้อยละ 40

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2566 00:00 น.