กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ติดตามเยี่ยมและประเมินความรู้ การเผชิญปัญหาความเครียดหลังการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้หลังเสร็จสิ้นโครงการ27 สิงหาคม 2567
27
สิงหาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.นาทับ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-คัดกรองภาวะเครียดโดยใช้แบบคัดกรองคำถาม ST-5 กลุ่มเด็กนักเรียน (40% จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด) จำนวน 60 คน -คัดกรองภาวะเครียดโดยใช้แบบคัดกรองคำถาม ST-5 กลุ่มโรคเรื้อรัง (40% จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด) จำนวน 105 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มนักเรียนทั้งหมด ๓ โรงเรียน จำนวน ๖๐ ราย               ผลลัพธ์ในกลุ่มเด็กนักเรียนการจากคัดกรองโรคซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 จำนวน ๖๐ ราย ที่มีผลผิดปกติและนำกลุ่มเด็กนักเรียนมาฝึกทักษะการจัดการเมื่อพบปัญหาภาวะเครียด หลังจากเสร็จสิ้นโครงการมีการประเมินซ้ำโดยใช้แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 และการทดสอบการแก้ปัญหารายบุคคลพบว่าวิธีการแก้ปัญหาไม่เหมาะสม ทั้งหมดจำนวน ๑๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๖ ได้รับการดูแลพูดคุย,พร้อมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการเผชิญปัญหาและประเมินโรคซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 ซ้ำครบทั้ง ๑๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่รับผิดชอบ ๘ หมู่บ้าน จำนวน ๑๐๕ ราย             ผลลัพธ์ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังการจากคัดกรองโรคซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 จำนวน ๑๐๕ ราย ที่มีผลผิดปกติและนำกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังมาฝึกทักษะการจัดการเมื่อพบปัญหาภาวะเครียด หลังจากเสร็จสิ้นโครงการมีการประเมินซ้ำโดยใช้แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 และการทดสอบการแก้ปัญหารายบุคคลพบว่าวิธีการแก้ปัญหาไม่เหมาะสม ทั้งหมดจำนวน ๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖.๖๖ ได้รับการดูแลพูดคุย,พร้อมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการเผชิญปัญหาและประเมินโรคซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 ซ้ำครบทั้ง ๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐