กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) ตำบลบ้านนา ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) ตำบลบ้านนา ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)

นางอรวรรณ์ ทวีโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

หมู่ที่ 1, 3, 5, 6, 8, 9, 11 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

27.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

41.00
3 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

5.00
4 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

83.00
5 ผู้สูงอายุมีภาวะเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน มีปัญหาการการมองเห็น มีปัญหาสุขภาพช่องปาก มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว มีปัญหาเกี่ยวกับความคิดความจำ มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะ เสี่ยงต่อซึมเศร้า และพบผู้สูงอายุขาดสารอาหาร

 

50.24

ขนาดและแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุไทยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ จากการคาดการณ์ในปี พ.ศ. 2568 หรืออีก 1 ปี ข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 14.9 ล้านคน และในปี พ.ศ. 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 17.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 25 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุ ชี้ให้เห็นความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตของสังคมไทย ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบระดับสูงต่อสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม และระบบบริการ โดยการนําไปสู่ความต้องการการดูแลด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ที่มักมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ควบคู่ไปกับการเสื่อมโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพต้องพึ่งพาผู้อื่น และต้องการความช่วยเหลือจากบริการด้านสุขภาพและสังคมเพิ่มมากขึ้น ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพส่งผลกระทบต่อฐานะความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน และภาพรวมทั้งประเทศ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ต้องมีระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สามารถตอบสนองความต้องการด้านบริการพื้นฐานของผู้สูงอายุได้ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ ในขณะที่ผู้สูงอายุซึ่งเจ็บป่วยเรื้อรังต้องการการดูแลต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันระบบบริหารโรงพยาบาลยังไม่สามารถตอบสนองได้เพียงพอ ระบบบริการสาธารณสุขเดิมมีลักษณะออกแบบเพื่อดูแลภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน จำนวนเตียงในโรงพยาบาลมีจำนวนจํากัด และมีความพยายามในการลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยการจําหน่ายผู้ป่วยเร็วขึ้น การดูแลผู้สูงอายุต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปสู่บ้าน และการดูแลที่บ้านจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งการเชื่อมต่อช่องทางการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลกับบ้าน หรือระบบสุขภาพในชุมชนนั้น ควรมีการวางแผนตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน การดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้อายุในชุมชน จะต้องมีรูปแบบการดูแลที่ต่อเนื่อง จากสถานบริการเชื่อมโยงถึงชุมชน โดยอาศัยกลยุทธ์การมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เนื่องจากการมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการหล่อหลอมให้เกิดการเพิ่มศักยภาพของผู้ให้บริการและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้มีขีดความสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้ในการพัฒนาอย่างแท้จริง ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาคนให้รู้จักใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณในการวางแผน และตัดสินใจดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเขาเองอย่างอิสระเป็นประชาธิปไตยและสอดคล้องกับความต้องการปัญหาสุขภาพท้องถิ่นชุมชนนั้น ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ) มีกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมรับผิดชอบ ๗ หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด 5,523 คน มีผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป 991 คน คิดเป็นร้อยละ 17.94 ของประชากรทั้งหมด พบว่าปัญหาการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุเข้ารักษาที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง มีผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังถึงร้อยละ 50.24
ปัญหาที่พบบ่อย คือ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพต้องรับยาต่อเนื่องแต่ไม่มารับยาต่อเนื่อง มักจะให้ญาติมารับแทนเนื่องจากผู้สูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว หรือผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง มีภาวะ แก่หง่อมมากต้องพึ่งพาญาติในการทำกิจวัตรประจำวัน และจากการที่เจ้าหน้าที่ออกไปเยี่ยมบ้านในชุมชน จะ พบปัญหาการกินยาไม่ถูกขนาด ไม่ถูกเวลาหรือมีการใช้ยาหลายชนิดเกินความจำเป็น บางครัวเรือนผู้สูงอายุ อยู่บ้านตามลำพัง เนื่องจากญาติต้องไปทำงานนอกบ้าน ด้านการดูแลต่อเนื่องพบว่าการให้บริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุส่วนมาก จะเป็นการบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนมากกว่าการให้บริการที่บ้าน การติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุยังทำได้ไม่ครอบคลุม ขาดความต่อเนื่อง ให้บริการสุขภาพเชิงรับมากกวาเชิงรุก เน้นเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่กลับออกจากโรงพยาบาล การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุยังคงยึดหลักการเยี่ยมบ้านตามโรค หรือการเจ็บป่วยมากกว่าการคำนึงถึงความสูงอายุหรือความไวต่อปัญหาผู้สูงอายุ ยังไม่มีการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ ปัจจุบันมีการดำเนินกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะแทรกซ้อนและภาวะทุพพลภาพ ผู้สูงอายุขาดคุณภาพชีวิต จากประเด็นดังกล่าวกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม จึงพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการในชุมชนเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมพัฒนาให้ตรงกับปัญหาความต้องการและวิถีชีวิตของคนในชุมชนนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ให้การสนับสนุน และส่งเสริมพลังอำนาจให้กับผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชนในการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงเพื่อดำรงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและป้องกันการเกิดภาวะทุพพลภาพ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวและชุมชนได้ตามอัตภาพ โดยได้รับความ ช่วยเหลือดูแลหรือมีผู้ดูแลช่วยเหลือจากครอบครัว ชุมชน สังคม ตามความต้องการ และไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการได้รับการประเมินสุขภาพจิต 2Q , 9Q และประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามแบบคัดกรอง ADL และแบบสำรวจข้อมูลสภาพปัญหาของผู้สูงอายุ

ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ ได้รับการประเมินสุขภาพจิต 2Q , 9Qและประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามแบบคัดกรอง ADL

83.56 100.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ ได้รับการเยี่ยมบ้านและได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ ได้รับการเยี่ยมบ้านและได้รับการช่วยเหลือตามแผนการดูแล

53.00 100.00
3 เพื่อพัฒนาระบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ ให้มีคุณภาพทั้งในสถานบริการและบริการเชิงรุกในชุมชน

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ มีความพึงพอใจโครงการ

85.00 90.00
4 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ

ร้อยละ 90 ของครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ

85.00 90.00
5 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ มีสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ มีความพึงพอใจโครงการ

85.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 127
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รวบรวมฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ. 7 หมู่บ้าน จำนวน 127 คน

ชื่อกิจกรรม
รวบรวมฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ. 7 หมู่บ้าน จำนวน 127 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชาสัมพันธ์โครงการ และมีหนังสือเชิญผู้สูงอายุเข้ารับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพผ่านทางโดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครอบครัวของผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส สนใจเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมทีมสหวิชาชีพวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ประกอบด้วย โดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่บ้านละ 5 คน รวม 35 คน, ผู้ดูแล(CG) 10 คน, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คนรวม 50 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมสหวิชาชีพวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ประกอบด้วย โดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่บ้านละ 5 คน รวม 35 คน, ผู้ดูแล(CG) 10 คน, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คนรวม 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นดำเนินการ : การจัดกิจกรรมพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ ตามแผนที่วางไว้ ดังนี้
1.ทีมสหวิชาชีพ ร่วมกันกำหนดเป้าหมายและวางแผนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ
2.จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุหรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอคนที่ 1
3.จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน โดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอคนที่ 1 ดำเนินการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีการติดตามผล ให้การปรึกษาและสนับสนุนอย่างใกล้ชิดโดยทีมเจ้าหน้าที่ หมอคนที่ 2
4.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เยี่ยมบ้านระหว่างกลุ่มอาสาสมัคร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในชุมชน
5.ดำเนินการร่างแนวทางการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและการประสานงานเพื่อปรับปรุง และส่งต่อบริการเพื่อการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ ระหว่างสถานบริการระดับตติยภูมิ สู่ปฐมภูมิและชุมชนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย โดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่บ้านละ 5 คน รวม 35 คน, ผู้ดูแล(CG) 10 คน, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คนรวม 50 คน ได้ร่วมประชุมทีมสหวิชาชีพวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอคนที่ 1 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพโดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในการดำเนินงานเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอคนที่ 1 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพโดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในการดำเนินงานเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน โดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอคนที่ 1 ดำเนินการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีการติดตามผล ให้การปรึกษาและสนับสนุนอย่างใกล้ชิดโดยทีมเจ้าหน้าที่ หมอคนที่ 2
2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เยี่ยมบ้านระหว่างกลุ่มอาสาสมัคร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในชุมชน
3.ดำเนินการร่างแนวทางการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและการประสานงานเพื่อปรับปรุง และส่งต่อบริการเพื่อการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ ระหว่างสถานบริการระดับตติยภูมิ สู่ปฐมภูมิและชุมชนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

งบประมาณ -ค่าสมนาคุณวิทยากร ุ5 ชั่วโมง x 600 บาท =3,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คน x 35 บาท x 1 มื้อ = 2,450 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 80 บาท x 70 คน = 5,600 บาท รวมเป็นเงิน 11,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน โดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
2.มีแนวทางการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และแนวทางส่งต่อบริการเพื่อการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ ระหว่างสถานบริการระดับตติยภูมิ สู่ปฐมภูมิและชุมชนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11050.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ผู้ป่วยติดบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
-ผู้ป่วยติดเตียงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
-ประเมินสภาพปัญหาผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ โดยใช้การประเมิน ADL ทุกเดือน,ประเมิน 2Q, 9Q -ประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ -เอกสารแบบประเมินผู้สูงอายุ และแบบเยี่ยมบ้าน (ไม่ใช้งบประมาณ) -ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิทัล จำนวน 2 เครื่อง x 3,500 บาท= 7,000 บาท -ค่ากล่องลิ้นชักใส่ยา 4 ชั้น สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ จำนวน 100 ใบๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
รวมเป็นเงิน 17,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ ได้รับการเยี่ยมบ้านต่อเนื่องตามเกณฑ์ 2.ผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ ครบร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,050.00 บาท

หมายเหตุ :
รวมเป็นเงินทั้งหมด 28,050 บาท (สองหมื่นแปดพันสิบห้าบาทถ้วน)

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ ได้รับการประเมินภาวะสุขภาพครอบคลุมแบบองค์รวม ได้รับการเยี่ยมบ้านและได้รับการช่วยเหลือตามแผนการดูแล มีสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>