กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา รหัส กปท. L3363

อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) ตำบลบ้านนา ประจำปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
กลุ่มคน
นางอรวรรณ์ ทวีโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3.
หลักการและเหตุผล

ขนาดและแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุไทยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ จากการคาดการณ์ในปี พ.ศ. 2568 หรืออีก 1 ปี ข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 14.9 ล้านคน และในปี พ.ศ. 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 17.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 25 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุ ชี้ให้เห็นความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตของสังคมไทย ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบระดับสูงต่อสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม และระบบบริการ โดยการนําไปสู่ความต้องการการดูแลด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ที่มักมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ควบคู่ไปกับการเสื่อมโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพต้องพึ่งพาผู้อื่น และต้องการความช่วยเหลือจากบริการด้านสุขภาพและสังคมเพิ่มมากขึ้น ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพส่งผลกระทบต่อฐานะความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน และภาพรวมทั้งประเทศ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ต้องมีระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สามารถตอบสนองความต้องการด้านบริการพื้นฐานของผู้สูงอายุได้ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ ในขณะที่ผู้สูงอายุซึ่งเจ็บป่วยเรื้อรังต้องการการดูแลต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันระบบบริหารโรงพยาบาลยังไม่สามารถตอบสนองได้เพียงพอ ระบบบริการสาธารณสุขเดิมมีลักษณะออกแบบเพื่อดูแลภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน จำนวนเตียงในโรงพยาบาลมีจำนวนจํากัด และมีความพยายามในการลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยการจําหน่ายผู้ป่วยเร็วขึ้น การดูแลผู้สูงอายุต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปสู่บ้าน และการดูแลที่บ้านจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งการเชื่อมต่อช่องทางการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลกับบ้าน หรือระบบสุขภาพในชุมชนนั้น ควรมีการวางแผนตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน การดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้อายุในชุมชน จะต้องมีรูปแบบการดูแลที่ต่อเนื่อง จากสถานบริการเชื่อมโยงถึงชุมชน โดยอาศัยกลยุทธ์การมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เนื่องจากการมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการหล่อหลอมให้เกิดการเพิ่มศักยภาพของผู้ให้บริการและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้มีขีดความสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้ในการพัฒนาอย่างแท้จริง ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาคนให้รู้จักใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณในการวางแผน และตัดสินใจดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเขาเองอย่างอิสระเป็นประชาธิปไตยและสอดคล้องกับความต้องการปัญหาสุขภาพท้องถิ่นชุมชนนั้น ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ) มีกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมรับผิดชอบ ๗ หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด 5,523 คน มีผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป 991 คน คิดเป็นร้อยละ 17.94 ของประชากรทั้งหมด พบว่าปัญหาการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุเข้ารักษาที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง มีผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังถึงร้อยละ 50.24
ปัญหาที่พบบ่อย คือ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพต้องรับยาต่อเนื่องแต่ไม่มารับยาต่อเนื่อง มักจะให้ญาติมารับแทนเนื่องจากผู้สูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว หรือผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง มีภาวะ แก่หง่อมมากต้องพึ่งพาญาติในการทำกิจวัตรประจำวัน และจากการที่เจ้าหน้าที่ออกไปเยี่ยมบ้านในชุมชน จะ พบปัญหาการกินยาไม่ถูกขนาด ไม่ถูกเวลาหรือมีการใช้ยาหลายชนิดเกินความจำเป็น บางครัวเรือนผู้สูงอายุ อยู่บ้านตามลำพัง เนื่องจากญาติต้องไปทำงานนอกบ้าน ด้านการดูแลต่อเนื่องพบว่าการให้บริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุส่วนมาก จะเป็นการบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนมากกว่าการให้บริการที่บ้าน การติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุยังทำได้ไม่ครอบคลุม ขาดความต่อเนื่อง ให้บริการสุขภาพเชิงรับมากกวาเชิงรุก เน้นเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่กลับออกจากโรงพยาบาล การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุยังคงยึดหลักการเยี่ยมบ้านตามโรค หรือการเจ็บป่วยมากกว่าการคำนึงถึงความสูงอายุหรือความไวต่อปัญหาผู้สูงอายุ ยังไม่มีการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ ปัจจุบันมีการดำเนินกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะแทรกซ้อนและภาวะทุพพลภาพ ผู้สูงอายุขาดคุณภาพชีวิต จากประเด็นดังกล่าวกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม จึงพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการในชุมชนเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมพัฒนาให้ตรงกับปัญหาความต้องการและวิถีชีวิตของคนในชุมชนนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ให้การสนับสนุน และส่งเสริมพลังอำนาจให้กับผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชนในการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงเพื่อดำรงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและป้องกันการเกิดภาวะทุพพลภาพ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวและชุมชนได้ตามอัตภาพ โดยได้รับความ ช่วยเหลือดูแลหรือมีผู้ดูแลช่วยเหลือจากครอบครัว ชุมชน สังคม ตามความต้องการ และไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการได้รับการประเมินสุขภาพจิต 2Q , 9Q และประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามแบบคัดกรอง ADL และแบบสำรวจข้อมูลสภาพปัญหาของผู้สูงอายุ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ ได้รับการประเมินสุขภาพจิต 2Q , 9Qและประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามแบบคัดกรอง ADL
    ขนาดปัญหา 83.56 เป้าหมาย 100.00
  • 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ ได้รับการเยี่ยมบ้านและได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ ได้รับการเยี่ยมบ้านและได้รับการช่วยเหลือตามแผนการดูแล
    ขนาดปัญหา 53.00 เป้าหมาย 100.00
  • 3. เพื่อพัฒนาระบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ ให้มีคุณภาพทั้งในสถานบริการและบริการเชิงรุกในชุมชน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ มีความพึงพอใจโครงการ
    ขนาดปัญหา 85.00 เป้าหมาย 90.00
  • 4. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ
    ขนาดปัญหา 85.00 เป้าหมาย 90.00
  • 5. เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ มีสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ มีความพึงพอใจโครงการ
    ขนาดปัญหา 85.00 เป้าหมาย 90.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. รวบรวมฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ. 7 หมู่บ้าน จำนวน 127 คน
    รายละเอียด

    1.ประชาสัมพันธ์โครงการ และมีหนังสือเชิญผู้สูงอายุเข้ารับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพผ่านทางโดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. ประชุมทีมสหวิชาชีพวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ประกอบด้วย โดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่บ้านละ 5 คน รวม 35 คน, ผู้ดูแล(CG) 10 คน, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คนรวม 50 คน
    รายละเอียด

    ขั้นดำเนินการ : การจัดกิจกรรมพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ ตามแผนที่วางไว้ ดังนี้
    1.ทีมสหวิชาชีพ ร่วมกันกำหนดเป้าหมายและวางแผนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ
    2.จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุหรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอคนที่ 1
    3.จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน โดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอคนที่ 1 ดำเนินการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีการติดตามผล ให้การปรึกษาและสนับสนุนอย่างใกล้ชิดโดยทีมเจ้าหน้าที่ หมอคนที่ 2
    4.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เยี่ยมบ้านระหว่างกลุ่มอาสาสมัคร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในชุมชน
    5.ดำเนินการร่างแนวทางการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและการประสานงานเพื่อปรับปรุง และส่งต่อบริการเพื่อการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ ระหว่างสถานบริการระดับตติยภูมิ สู่ปฐมภูมิและชุมชนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ไม่ใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 3. ประชุมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอคนที่ 1 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพโดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในการดำเนินงานเยี่ยมบ้าน
    รายละเอียด

    1.จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน โดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอคนที่ 1 ดำเนินการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีการติดตามผล ให้การปรึกษาและสนับสนุนอย่างใกล้ชิดโดยทีมเจ้าหน้าที่ หมอคนที่ 2
    2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เยี่ยมบ้านระหว่างกลุ่มอาสาสมัคร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในชุมชน
    3.ดำเนินการร่างแนวทางการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและการประสานงานเพื่อปรับปรุง และส่งต่อบริการเพื่อการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ ระหว่างสถานบริการระดับตติยภูมิ สู่ปฐมภูมิและชุมชนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

    งบประมาณ -ค่าสมนาคุณวิทยากร ุ5 ชั่วโมง x 600 บาท =3,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คน x 35 บาท x 1 มื้อ = 2,450 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 80 บาท x 70 คน = 5,600 บาท รวมเป็นเงิน 11,050 บาท

    งบประมาณ 11,050.00 บาท
  • 4. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
    รายละเอียด

    -ผู้ป่วยติดบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
    -ผู้ป่วยติดเตียงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
    -ประเมินสภาพปัญหาผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ โดยใช้การประเมิน ADL ทุกเดือน,ประเมิน 2Q, 9Q -ประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ -เอกสารแบบประเมินผู้สูงอายุ และแบบเยี่ยมบ้าน (ไม่ใช้งบประมาณ) -ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิทัล จำนวน 2 เครื่อง x 3,500 บาท= 7,000 บาท -ค่ากล่องลิ้นชักใส่ยา 4 ชั้น สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการ จำนวน 100 ใบๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
    รวมเป็นเงิน 17,000 บาท

    งบประมาณ 17,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 1, 3, 5, 6, 8, 9, 11 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 28,050.00 บาท

หมายเหตุ : รวมเป็นเงินทั้งหมด 28,050 บาท (สองหมื่นแปดพันสิบห้าบาทถ้วน)

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

ผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ ได้รับการประเมินภาวะสุขภาพครอบคลุมแบบองค์รวม ได้รับการเยี่ยมบ้านและได้รับการช่วยเหลือตามแผนการดูแล มีสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา รหัส กปท. L3363

อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา รหัส กปท. L3363

อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 28,050.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................