2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
บริบทพื้นที่ของชุมชนบ้านหารเทา หมู่ 2 ตำบลหารเทาอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นที่ราบ มีการประกอบอาชีพทำสวน และรับจ้างทั่วไป มีแหล่งรายได้หลักจากการทำสวนจำนวนประชากรทั้งหมด 200 ครัวเรือน สมาชิก 950 คนช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา คนในชุมชนชนบท เปลี่ยนแปลงตัวเองไปคล้ายๆชุมชนเมือง ไม่นิยมปลูกผักสวนครัวรอบๆบ้านเรือน เน้นฝากครัวไว้กับตลาด การบริโภคอาหารพืชผักต่างๆ ได้มาจากแหล่งอื่น เช่น ร้านค้าในหมู่บ้าน ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัดชุมชนจากการบริโภคพืชผักที่มาจากต่างถิ่น โดยไม่รู้แหล่งการผลิตที่ชัดเจน พืชผักจากการปลูกในระบบเกษตรเชิงเดี่ยวปัญหาการตกค้างของสารเคมีในพืชผักจำนวนมาก จึงไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพโดยรวม ของประชากรในชุมชน มีตลาดนัดที่คนในชุมชนออกไปซื้อพืชผักได้ 5 แหล่งตลาดนัด ในตลาดเช้าทุกวัน 1 แห่ง ขายสินค้าทุกชนิด มีแม่ค้าขายผักในตลาดนัด โดยประมาณตลาดนัดละ 5-7 แผง และยังมีรถขายกับข้าวที่มีแกงถุงมาขายทุกวัน การที่ครัวเรือนไม่สามารถผลิตพืชผักอาหารเป็นของตัวเอง และซื้อพืชผักจากร้านค้าไม่ทราบแหล่งที่มา การปนเปื้อนของสารเคมีในระดับที่ไม่ปลอดภัยและเสี่ยง จากผลการเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีตกค้าง รพ.สต.บ้านฝาละมีวันที่ 17 กันยายน 2565 จำนวน 38 คน ไม่ปลอดภัย 8 คน เสี่ยง 17 คน จากการสำรวจพื้นที่ปรากฏว่า 90 % ทุกครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว เพียงพอต่อจำนวนสมาชิกในครัวเรือนนั้น จึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดเรื่องการเพาะปลูกพืชผักเสียใหม่ โดยเน้นการปลูกพืชผักที่ใช้ในครัวเรือน ให้อยู่ในบริเวณบ้านที่สามารถเก็บมาปรุงอาหารได้โดยง่ายกว่าการไปร้านค้าหรือตลาด พืชผักอยู่ในไร่ในสวน หากการไปร้านค้าหรือตลาดง่ายกว่า ทำให้เกิดการซื้อ แม้ว่าเราจะมีพืชผักเป็นของตัวเอง แต่อยู่ไกลครัว การเปลี่ยนพฤติกรรม “การหาอยู่หากิน” มีแหล่งอาหารปลอดภัยในครัวเรือน หรือ ตู้เย็นข้างบ้าน การปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกพืชผัก สำหรับเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือนการ รวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยหมัก เรียนรู้เรื่องดินเพาะดินปลูก และการเพาะปลูก การออกแบบพื้นที่จำกัดในบริเวณบ้านเรือน ในการสร้างแปลงผักสวนครัว ให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างยั่งยืน มีความสุขในการปลูกพืชผัก ให้ชุมชนได้มีแปลงพืชผักสวนครัวเป็นแปลงต้นแบบ ให้ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงในการสร้างแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวครบวงจร มีการจัดการแหล่งอาหารที่เหลือกินแบ่งปัน และขายให้คนในชุมชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย สร้างความสามัคคีในชุมชน ช่วยเหลือเกื้อกูลแบ่งปันเมื่อสิ้นโครงการทำให้ครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อพืชผักและการซื้อปุ๋ยเคมี ลงได้
การให้ความรู้ด้านการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัย จะมีส่วนช่วยให้คนในชุมชนลดภาวะเสี่ยงจากสารเคมีและช่วยลดปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2024
กำหนดเสร็จ 30/08/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เยี่ยม ติดตาม สนับสนุนครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมี