แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา รหัส กปท. L3339
อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นางพรรณี พานิชสุโข
2. นางบุษบา ศุภเวช
3. นายภาคภูมิ ด้วงรักษา
4 นางมณฤทัย ทองศรี
5. นส.อำมร แสงสุวรรณ
บริบทพื้นที่ของชุมชนบ้านหารเทา หมู่ 2 ตำบลหารเทาอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นที่ราบ มีการประกอบอาชีพทำสวน และรับจ้างทั่วไป มีแหล่งรายได้หลักจากการทำสวนจำนวนประชากรทั้งหมด 200 ครัวเรือน สมาชิก 950 คนช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา คนในชุมชนชนบท เปลี่ยนแปลงตัวเองไปคล้ายๆชุมชนเมือง ไม่นิยมปลูกผักสวนครัวรอบๆบ้านเรือน เน้นฝากครัวไว้กับตลาด การบริโภคอาหารพืชผักต่างๆ ได้มาจากแหล่งอื่น เช่น ร้านค้าในหมู่บ้าน ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัดชุมชนจากการบริโภคพืชผักที่มาจากต่างถิ่น โดยไม่รู้แหล่งการผลิตที่ชัดเจน พืชผักจากการปลูกในระบบเกษตรเชิงเดี่ยวปัญหาการตกค้างของสารเคมีในพืชผักจำนวนมาก จึงไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพโดยรวม ของประชากรในชุมชน มีตลาดนัดที่คนในชุมชนออกไปซื้อพืชผักได้ 5 แหล่งตลาดนัด ในตลาดเช้าทุกวัน 1 แห่ง ขายสินค้าทุกชนิด มีแม่ค้าขายผักในตลาดนัด โดยประมาณตลาดนัดละ 5-7 แผง และยังมีรถขายกับข้าวที่มีแกงถุงมาขายทุกวัน การที่ครัวเรือนไม่สามารถผลิตพืชผักอาหารเป็นของตัวเอง และซื้อพืชผักจากร้านค้าไม่ทราบแหล่งที่มา การปนเปื้อนของสารเคมีในระดับที่ไม่ปลอดภัยและเสี่ยง จากผลการเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีตกค้าง รพ.สต.บ้านฝาละมีวันที่ 17 กันยายน 2565 จำนวน 38 คน ไม่ปลอดภัย 8 คน เสี่ยง 17 คน จากการสำรวจพื้นที่ปรากฏว่า 90 % ทุกครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว เพียงพอต่อจำนวนสมาชิกในครัวเรือนนั้น จึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดเรื่องการเพาะปลูกพืชผักเสียใหม่ โดยเน้นการปลูกพืชผักที่ใช้ในครัวเรือน ให้อยู่ในบริเวณบ้านที่สามารถเก็บมาปรุงอาหารได้โดยง่ายกว่าการไปร้านค้าหรือตลาด พืชผักอยู่ในไร่ในสวน หากการไปร้านค้าหรือตลาดง่ายกว่า ทำให้เกิดการซื้อ แม้ว่าเราจะมีพืชผักเป็นของตัวเอง แต่อยู่ไกลครัว การเปลี่ยนพฤติกรรม “การหาอยู่หากิน” มีแหล่งอาหารปลอดภัยในครัวเรือน หรือ ตู้เย็นข้างบ้าน การปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกพืชผัก สำหรับเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือนการ รวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยหมัก เรียนรู้เรื่องดินเพาะดินปลูก และการเพาะปลูก การออกแบบพื้นที่จำกัดในบริเวณบ้านเรือน ในการสร้างแปลงผักสวนครัว ให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างยั่งยืน มีความสุขในการปลูกพืชผัก ให้ชุมชนได้มีแปลงพืชผักสวนครัวเป็นแปลงต้นแบบ ให้ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงในการสร้างแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวครบวงจร มีการจัดการแหล่งอาหารที่เหลือกินแบ่งปัน และขายให้คนในชุมชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย สร้างความสามัคคีในชุมชน ช่วยเหลือเกื้อกูลแบ่งปันเมื่อสิ้นโครงการทำให้ครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อพืชผักและการซื้อปุ๋ยเคมี ลงได้ การให้ความรู้ด้านการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัย จะมีส่วนช่วยให้คนในชุมชนลดภาวะเสี่ยงจากสารเคมีและช่วยลดปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นได้
-
1. เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัมตัวชี้วัด : ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัมขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 50.00
-
2. เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ตัวชี้วัด : ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมดขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 30.00
-
3. เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัยตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัยขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 40.00
-
4. เพื่อให้ครัวเรือนและกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการบริโภคผักปลอดภัยตัวชี้วัด : ครัวเรือนและกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการบริโภคผักปลอดภัยขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
-
5. เพื่อให้คนในชุมชนได้รับการบริโภคผักที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นตัวชี้วัด : มีข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ปลอดภัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 80.00
- 1. สร้างความเข้าใจ รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการรายละเอียด
นัดคณะทำงานโครงการมาทำความเข้าใจโครงการ
รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิญกลุ่มเป้าหมาย
งบประมาณ 0.00 บาท - 2. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษรายละเอียด
- กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ
- .จัดเวทีอบรมโดยวิทยากรที่มีความรู้
3.คณะทำงานประสานงานกลุ่มเป้าหมายและวิทยากร
กิจกรรมฝึกอบรม การสาธิตฝึกปฏิบัติ ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษเรื่องการเตรียมดิน การผลิตปุ๋ยชีวภาพ
- ค่าวิทยากร ชม.ละ 600x5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน คนละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน คนละ 20 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สาธิต การฝึกอบรม ได้แก่พันธุ์ผัก ,กากน้ำตาล , หัวเชื้อจิลินทรย์, มูลไก่แห้ง,แกลบดิบ,และรำละเอียด รวมเป็นเงิน 5,500 บาทงบประมาณ 14,000.00 บาท - กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ
- 3. กิจกรรมฝึกอบรม การสาธิตฝึกปฏิบัติ ความรู้เรื่อง โรคที่เกิดจากอาหารที่มีสารปนเปื้อนในอาหาร และ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ น้ำยากำจัดแมลงชีวภาพรายละเอียด
กิจกรรมฝึกอบรม การสาธิตฝึกปฏิบัติ ความรู้เรื่อง โรคที่เกิดจากอาหารที่มีสารปนเปื้อนในอาหารและ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ น้ำยากำจัดแมลงชีวภาพ
- ค่าวิทยากร ชม.ละ 600x2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน คนละ 20 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สาธิต การฝึกอบรม ได้แก่ นำ้หมักจุลินทรย์ , กากกน้ำตาล, ไข่ไก่และถังหมัก รวมเป็นเงิน 4,800 บาทงบประมาณ 7,000.00 บาท - 4. การตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อน - หลัง โครงการรายละเอียด
การตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดขอสนับสนุน จาก รพ.สต.บ้านฝาละมี
- ค่าน้ำยา และอุปกรณ์ ตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดครั้งละ 2000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสนเลือด จำนวน 2 คน จำนวน 2 ครั้ง ๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาทงบประมาณ 6,000.00 บาท - 5. เยี่ยม ติดตาม สนับสนุนครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมีรายละเอียด
- มีการติดตามจากการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน ทุกเดือน
- เยี่ยม ติดตาม สนับสนุนครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมี ในหมู่บ้าน มีค่าใช้จ่ายดังนี้
- เยี่ยม ติดตาม สนับสนุนครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมี ในหมู่บ้าน มีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าของขวัญ รางวัล แก่ครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมี อย่างต่อเนื่อง เป็นเงิน 3,000 บาท
งบประมาณ 3,000.00 บาท - มีการติดตามจากการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน ทุกเดือน
ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
หมู่ที่ 2 ตำบลหารเทา
รวมงบประมาณโครงการ 30,000.00 บาท
- เยี่ยม ติดตาม สนับสนุนครัวเรือน ที่ปลูกและกิน ผักปลอดสารเคมี
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา รหัส กปท. L3339
อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา รหัส กปท. L3339
อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................