กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจห่วงใยสิ่งแวดล้อม หมู่ที่ 1 บ้านท่าอ้อย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1. นางเสงี่ยมหีมปอง
2. นางอาริตาหลีนุ่ม
3.นางนูรมาหลังเถาะ
4.นางอุไรวรรณ หีมปอง
5. นางปอลิย๊ะเหร็บควนเคี่ยม

ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์และปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันประกอบด้วยหลายสาเหตุหลายปัจจัยจึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ขยะมูลฝอยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเช่นเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงและพาหะนำโรคก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันประชากรครัวเรือนเพิ่มขึ้นทำให้ขยะตามครัวเรือนเพิ่มขึ้นตามไปด้วยมีทั้งขยะย่อยสลายได้และขยะย่อยสลายยากเช่นกล่องโฟมถุงพลาสติกขวดพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิคส์ซึ่งขยะเหล่านี้ก่อให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษและก่อให้เกิดโรคตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชนส่วนขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกบางส่วนมีการจัดการไม่ถูกสุขลักษณะทำให้ปัญหาเรื่องการจัดการขยะยากที่จะควบคุมได้เว้นแต่ประชาชนในหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้บริโภคต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีการคัดแยกขยะเริ่มจากครัวเรือนของตนเอง
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานในการแก้ไขปัญหา การคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่1บ้านท่าอ้อยจึงจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ สร้างจิตสำนึก ตระหนักถึงความสำคัญ รู้จักและเข้าใจการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน มีความรู้กับขยะประเภทต่างๆ นำไปปฏิบัติในครัวเรือนเพื่อเป็นมาตรฐานของชุมชนนำมาซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน

1.ประชาชนได้มีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ  ร้อยละ  80

100.00 0.00
2 2.เพื่อลดปริมาณขยะ โดยการกำจัดอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ

2.ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้เกี่ยวกับขยะต่างๆและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  ร้อยละ  80

100.00 0.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และสามารถนำวิธีการการจำกัดขยะประเภทต่างๆมาใช้ได้อย่างถูกต้อง และบริหารจัดการขยะด้วยตนเองได้

3.ประชาชนในหมู่บ้านสามารถกำจัดขยะประเภทต่างๆได้อย่างถูกต้อง  ร้อยละ  80

100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยขยะโดยใช้หลัก 3 rs การใช้น้อยใช้ซำ้นำกลับมาใช้ใหม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยขยะโดยใช้หลัก 3 rs การใช้น้อยใช้ซำ้นำกลับมาใช้ใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)ระยะเตรียมการ 1. กำหนดโครงการ ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินโครงการ 2. ดำเนินการเขียนโครงการ 3. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 4. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ
ระยะดำเนินการ 1. ค้นหากลุ่มเป้าหมายประชาชนในหมู่บ้าน 2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ทราบในหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุข 3. ติดต่อวิทยากร 4. อบรมให้ความรู้เรื่องประเภทของขยะ 5. อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะตามประเภท 6. สาธิตการคัดแยกขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธืการทำถังขยะเปียกแบบฝังดิน ระยะประเมินผล 1. สรุปและประเมินผลโครงการ รายละเอียดงบประมาณ
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ600 บาท เป็นเงิน3,600บาท - ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆ 35 บาทจำนวน50คน เป็นเงิน3,500บาท - ค่าอาหารกลางวัน 1มื้อๆละ70บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน3,500บาท - ค่าป้ายไวนิล1ป้ายเป็นเงิน500บาท - ค่าอุปกรณ์ถังพลาสติก50 ใบๆละ100บาทเป็นเงิน5,000บาท - แฟ้ม ปากกา แผ่นพับ 50ชุดๆละ 40บาทเป็นเงิน2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  2. ลดปริมาณขยะ  และเสริมสร้างความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง
  3. ครัวเรือนมีการใช้ถังขยะเปียก  ลดปริมาณขยะในครัวเรือนได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
2. ลดปริมาณขยะและเสริมสร้างความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง
3. ครัวเรือนมีการใช้ถังขยะเปียกลดปริมาณขยะในครัวเรือนได้


>