กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าภายในตำบลอุใดเจริญ (ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปริธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าภายในตำบลอุใดเจริญ (ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปริธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

 

0.00
2 ร้อยละของจำนวนสัตว์ที่ขึ้นทะเบียนได้รับการฉีควัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

 

0.00

เนื่องจากเป็นโรคสัตว์ติดสัตว์ โรคสัตว์ติดคน และถ้าเป็นคนก็มีโอกาสที่จะติดคน ซึ่งกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญเล็งเห็นถึงความอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อสัตว์และโดยเฉพาะประชาชนในตำบลอุใดเจริญจึงต้องรีบดำเนินการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค จึงได้จัดโครงการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าภายในตำบล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องพิษสุนัขบ้าให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ

การประชาสัมพันธ์ รณรงค์ส่งเสริมความรู้ครอบคลุมทั้ง 9 หมู่บ้าน

0.00
2 เพื่อป้องกันและควบคุมการเกิดโรคพิษสนุขบ้าในสัตว์เลี้ยงและสัตว์เร่ร่อนซึ่งเป็นพาหะนำโรค

ร้อยละ90 ของจำนวนสัตว์ที่ขึ้นทะเบียนได้รับการฉีควัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

0.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคพิษสนุขบ้าในพื้นที่
  1. ประชาชนตื่นตัวในการนำสัตว์เลี้ยงมาฉีควัคซีน
  2. ประชาชนมีการเฝ้าระวังและแจ้งเหตุหากสงสัย
0.00
4 ลดการเพิ่มจำนวนประชากรของสุนัขและแมว

สัตว์เลี้ยง/สัตว์เร่ร่อน(สุนัขและแมว)ได้รับการทำหมัน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,156
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/10/2017

กำหนดเสร็จ 31/08/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. รณรงค์ให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1. รณรงค์ให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ส่งเสริมความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าแก่ประชาชนในพื้นที่

*กิจกรรมเดินรณรงค์

  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด1.5*3 ตร.เมตร จำนวน 1ป้ายเป็นเงิน 675 บ.
  • ค่าเอกสารแผ่นพับ จำนวน 500 ใบๆละ 4บาท เป็นเงิน 2,000 บ.

  • ค่าป้ายรณรงค์ ขนาด 1.2*2.4 ตร.เมตร จำนวน 4ป้าย เป็นเงิน 1,728 บ.

  • ค่าป้ายรณรงค์ ขนาด 0.8* 1 ตร.เมตร จำนวน 10 ป้าย เป็นเงิน 1,200 บ.

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คนๆละ 25 บ. เป็นเงิน 5,000 บ.

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการรณรงค์ อุปกรณ์แต่งตัว เช่น กระดาษขาว-เทา กระดาษปอนด์ กาว เป็นต้น เป็นเงิน 3,000 บ.

*กิจกรรมรถแห่ประชาสัมพันธ์

  • ค่าลงพื้นที่รถประชาสัมพันธ์ จำนวน 6วัน ครอบคลุม พื้นที่ 9 หมู่บ้าน วันละ 500 บ.เป็นเงิน 3,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคพิษสนุขบ้าในพื้นที่ ,ประชาชนตื่นตัวในการนำสัตว์เลี้ยงมาฉีควัคซีน,ประชาชนมีการเฝ้าระวังและแจ้งเหตุหากสงสัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16603.00

กิจกรรมที่ 2 ฉีควัคซีนสัตว์และทำหมันสัตว์มีเจ้าของและจรจัด

ชื่อกิจกรรม
ฉีควัคซีนสัตว์และทำหมันสัตว์มีเจ้าของและจรจัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมฉีควัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงและจรจัด

*ฉีควัคซีนสัตว์มีเจ้าของ *ฉีควัตซีนและทำหมัน สัตว์จรจัดหรือเร่รอน

  • ค่าฉีควัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1,500 โด๊สๆละ 35 บ. เป็นเงิน 52,500 บ.

  • ค่าฉีควัควีน จำนวน 1,500 ตัวๆละ 15 บ.เป็นเงิน 22,500 บ.

  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับฉีควัควีน
    -ถุงมือหนังชนิดยาว จำนวน 25 คู่ๆละ 130 บ.เป็นเงิน 3,250 บ.
    -อุปกรณ์ครอบปากสุนัข จำนวน 7อันๆละ 250 บ. เป็นเงิน 1,750 บ.
    -กระติกสำหรับแช่วัคซีน จำนวน 9 ใบๆละ 60 บ. เป็นเงิน 540 บ.
    -แอลกฮอล์ 70 เปอร์เซ็น ขนาด 450 ซีซี จำนวน 10 ขวดๆละ 55 บ. เป็นเงิน 550 บ.
    -สำลีก้อน 40 กรัม จำนวน 30 ถุงๆละ 45 บ. เป็นเงิน 1,350 บ.

  • ค่าอาหารสำหรับล่อสุนัข/แมว (กรณีจรจัด)1 กระสอบๆละ 1,500 บ. เป็นเงิน 1,500 บ.

  • ปลอกคอสุนัข/แมวเร่รอ่น จรจัด จำนวน 100 ชุดๆละ 50 บ. เป็นเงิน 5,000 บ.

  • ค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม เป็นเงิน 1,000 บ.

  • ค่าเบี้ยเลี้ยงคณะทำงาน(กิจกรรมสัตว์จรจัด)จำนวน 90 คน (9 หมู่บ้าน) คนละ 200 บ. เป็นเงิน 18,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สัตว์เลี้ยง/สัตว์เร่ร่อน(สุนัขและแมว)ได้รับการทำหมัน /ลดการเพิ่มจำนวนประชากรของสุนัขและแมว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
107940.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 124,543.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับภัยอันตราย การป้องกันและ การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า
2. สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์เร่รอนโดยเฉพาะสุนัขและแมวซึ่งเป็นพาหะนำโรค ได้รับการฉีควัควีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
3. พื้นที่ตำบลอุใดเจริญไม่มีรายงานการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในปี 2561


>