กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่น

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ

ตำบลตะปอเยาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในประเทศไทย วัยรุ่นจำนวนมากมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีภาวะซึมเศร้า โดยกรมสุขภาพจิต ได้เปิดเผยผลประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่าร้อยละ 28 ของเด็กและวัยรุ่นมีภาวะเครียดสูง ร้อยละ 32 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ในขณะที่อีกร้อยละ 22 มีการเข้าสังคมลดลง ติดจอและเกมออนไลน์มากขึ้น มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งและความรุนแรงในครอบครัว จนนำไปสู่อัตราเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ซึ่งปัจจัยจากครอบครัวและคนรอบข้างนี้เองมักถูกละเลยหรือไม่ค่อยพูดถึง และอีกประการหนึ่ง อาจเกิดจากความเข้าใจผิดว่าเป็นปัญหาทางด้านอารมณ์ของวัยนี้ จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น
ดังนั้น กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ ตระหนักได้ถึงปัญหาดังกล่าวและพยายามหาแนวทางแก้ไข จึงได้จัดโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่น ภายใต้กิจกรรม “ซึมเศร้า เข้าใจ” เพื่อที่จะสำรวจโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นตำบลตะปอเยาะ เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจและชี้แนวทางแก้ไขปัญหานี้ให้กับเยาวชนในตำบลตะปอเยาะได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้วัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และประชาชนในชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี ห่างไกลโรคซึมเศร้า

30

0.00
2 เพื่อเพิ่มความรักและเคารพ รู้คุณค่าของตนเองเพื่อให้ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

30

0.00
3 เพื่อให้บริการด้านสุขภาพเบื้องต้นแก่เด็กและเยาวชนในตำบลตะปอเยาะ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น เพื่อให้เยาวชนตำบลตะปอเยาะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว 1. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายโครงการ จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 720.- บาท
2. ค่าวิทยากร จำนวน3ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800.- บาท 3. ค่าจัดซื้ออาหารกลางวัน1มื้อๆ ละ70 บาท จำนวน 30คน และค่าอาหารว่างจำนวน 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,150.- บาท 4. ค่าจัดซื้อวัสดุประกอบการอบรมแฟ้ม สมุด ปากกา จำนวน 30 ชุดๆละ 100 บาทเป็นเงิน 3,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8670.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม ซึมเศร้า เข้าใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ซึมเศร้า เข้าใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจ ภาวะซึมเศร้าในตัวเอง เพื่อวัดและประเมินผลว่าตัวผู้เข้าอบรมว่ามีภาวะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ 2. ทำกิจกรรม รักกาย รักใจ เป็นกิจกรรมที่ให้ความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจ ให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า 3. ทำกิจกรรม พาตัวเองออกจากซึมเศร้า เพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้ถึงวิธีการป้องกันและแก้ไขโรคซึมเศร้าที่อาจจะเกิดขึ้น งบประมาณ 1.ค่าวิทยากร จำนวน3ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800.- บาท 2.ค่าอาหารว่างจำนวน 1 มื้อๆ ละ 35 บาท จำนวน 30 คนเป็นเงิน 1,050.- บาท 3. ค่าจัดซื้อวัสดุประกอบการอบรม เป็นเงิน 2,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนตำบลตะปอเยาะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตเพื่อห่างไกลจากโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น
2. เด็กและเยาวชนตำบลตะปอเยาะสามารถดูแล ตนเอง ครอบครัวและประชาชนในชุมชน ในด้านการสร้างความเข้าใจการดูแลสุขภาพจิตเพื่อห่างไกลจากโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นได้
3. เด็กและเยาวชนตำบลตะปอเยาะมีความรักและเคารพ รู้คุณค่าของตนเองมากขึ้น
4.เด็กและเยาวชนตำบลตะปอเยาะเข้าถึงบริการด้านสุขภาพเบื้องต้น


>