กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่น
รหัสโครงการ 67-L2497-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 เมษายน 2567 - 30 เมษายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2567
งบประมาณ 13,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปิยฉัตร ช่วยชม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในประเทศไทย วัยรุ่นจำนวนมากมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีภาวะซึมเศร้า โดยกรมสุขภาพจิต ได้เปิดเผยผลประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่าร้อยละ 28 ของเด็กและวัยรุ่นมีภาวะเครียดสูง ร้อยละ 32 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ในขณะที่อีกร้อยละ 22 มีการเข้าสังคมลดลง ติดจอและเกมออนไลน์มากขึ้น มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งและความรุนแรงในครอบครัว จนนำไปสู่อัตราเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ซึ่งปัจจัยจากครอบครัวและคนรอบข้างนี้เองมักถูกละเลยหรือไม่ค่อยพูดถึง และอีกประการหนึ่ง อาจเกิดจากความเข้าใจผิดว่าเป็นปัญหาทางด้านอารมณ์ของวัยนี้ จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ดังนั้น กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ ตระหนักได้ถึงปัญหาดังกล่าวและพยายามหาแนวทางแก้ไข จึงได้จัดโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่น ภายใต้กิจกรรม “ซึมเศร้า เข้าใจ” เพื่อที่จะสำรวจโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นตำบลตะปอเยาะ เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจและชี้แนวทางแก้ไขปัญหานี้ให้กับเยาวชนในตำบลตะปอเยาะได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้วัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และประชาชนในชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี ห่างไกลโรคซึมเศร้า

30

0.00
2 เพื่อเพิ่มความรักและเคารพ รู้คุณค่าของตนเองเพื่อให้ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

30

0.00
3 เพื่อให้บริการด้านสุขภาพเบื้องต้นแก่เด็กและเยาวชนในตำบลตะปอเยาะ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 13,520.00 2 13,520.00
30 เม.ย. 67 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต 30 8,670.00 8,670.00
30 เม.ย. 67 กิจกรรม ซึมเศร้า เข้าใจ 30 4,850.00 4,850.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนตำบลตะปอเยาะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตเพื่อห่างไกลจากโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น
  2. เด็กและเยาวชนตำบลตะปอเยาะสามารถดูแล ตนเอง ครอบครัวและประชาชนในชุมชน ในด้านการสร้างความเข้าใจการดูแลสุขภาพจิตเพื่อห่างไกลจากโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นได้
  3. เด็กและเยาวชนตำบลตะปอเยาะมีความรักและเคารพ รู้คุณค่าของตนเองมากขึ้น
    4.เด็กและเยาวชนตำบลตะปอเยาะเข้าถึงบริการด้านสุขภาพเบื้องต้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2566 00:00 น.