กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการยุติวัณโรคโดยค้นให้พบ จบด้วยหาย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรม อ.ส.ม. รพ.สต.บ้านจันนา

1.นางสาวอาภรณ์ ลูกแก้วประธาน อสม.หมู่ที่ 7 บ้านค่ายไพออก
2.นางกาญจนา จันปาน ประธาน อสม.หมู่ที่ 8 บ้านค่ายไพตก
3.นางอำพร แก้วนพรัตน์อสม.หมู่ที่ 7 บ้านค่ายไพออก
4.นางสาคร ศรีทองเพ็งอสม.หมู่ที่ 7 บ้านค่ายไพออก
5.นางสุภา คงเมือง อสม.หมู่ที่ 8 บ้านค่ายไพออก

หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงสูงวัณโรคได้รับการตรวจคัดกรองเอกซเรย์ (ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมน้ำตาลไม่ได้, ผู้ป่วยเบาหวาน 65 ปีขึ้นไป, ผู้สูบบุหรี่อายุ 65 ปีขึ้นไป)

 

54.54
2 ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี Chack List (ประชาชน อายุ 15 ปีขึ้นไป)

 

0.00

ภารกิจการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงวัณโรค (Active Case Finding) ในปี 2566 ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านจันนา ได้ดำเนินการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานควบคุมน้ำตาลไม่ได้ และกลุ่มเบาหวาน 65 ปีขึ้นไป ตามแผนของ รพ.ควนขนุน พบว่ากลุ่มเสี่ยงเข้าใช้บริการคัดกรองเอกซเรย์ปอดน้อย คิดเป็นร้อยละ 54.54 จึงเป็นที่มาของการวิจัยเพื่อการพัฒนาการโน้มน้าวจูงใจกลุ่มเสี่ยงวัณโรคที่สูบบุหรี่ให้มาคัดกรองวัณโรค ด้วยเรื่องเล่า โดย อสม.จันนา ผลปรากฏว่ากลุ่มเสี่ยงเข้าใช้บริการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้น ผลปกติทั้งหมด 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.67 ไม่มาเอกซเรย์ 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.33 เหลือกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้คัดกรอง อีก 5 กลุ่ม คือ
1. ไม่มีอาการแสดง ไม่มีโรคประจำตัวจำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.08
2. โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.38
3. มีอาการแสดง ไข้ ไอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร 1 ปีจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.38
4. โรคหอบหืด จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69
5. โรคจิตเภท จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69
ซึ่งจะต้องกำหนดในแผนเพื่อดำเนินการคัดกรองให้ครอบคลุมทั้งหมด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อโน้มน้าวกลุ่มเสี่ยงสูงเข้าใช้บริการตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยการเอกซเรย์

กลุ่มเสี่ยงสูงเข้าใช้บริการตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยการเอกซเรย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,029
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 23/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำสุขภาพโน้มน้าวกลุ่มเสี่ยงตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยเรื่องเล่า

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำสุขภาพโน้มน้าวกลุ่มเสี่ยงตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยเรื่องเล่า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมแกนนำสุขภาพโน้มน้าวกลุ่มเสี่ยงตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยเรื่องเล่า
ค่าใช้จ่าย:
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 23 คน x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 575 บาท
2. ค่าสมนาคุณแทนวิทยากร 3 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1. จัดอบรม 1 ครั้ง
2. มีแกนนำสุขภาพเข้าร่วมอบรม 23 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
1. แกนนำสุขภาพมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 85
2. แกนนำสุขภาพโน้มน้าวกลุ่มเสี่ยงสูงเข้าใช้บริการเอกซเรย์ได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2375.00

กิจกรรมที่ 2 โน้มน้าวกลุ่มเสี่ยงสูงตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยเรื่องเล่า(กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน กลุ่มเสี่ยงสูบบุหรี่)

ชื่อกิจกรรม
โน้มน้าวกลุ่มเสี่ยงสูงตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยเรื่องเล่า(กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน กลุ่มเสี่ยงสูบบุหรี่)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่เพื่อโน้มน้าวกลุ่มเสี่ยงสูงตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยเรื่องเล่า(กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน กลุ่มเสี่ยงสูบบุหรี่)
ค่าใช้จ่าย:
1. ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ อสม. 23 คน x 100 บาท เป็นเงิน 2,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1. โน้มน้าวกลุ่งเสี่ยงสูง 1 ครั้ง/คน
2. โน้มน้าวกลุ่มเสี่ยงสูงครอบคลุมร้อยละ 100
(Outcome)
1. กลุ่มเสี่ยงสูงเข้าใช้บริการตรวจคัดกรองเอกซเรย์ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ด้วยวิธี Check List ในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ด้วยวิธี Check List ในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ด้วยวิธี Check List ในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป
ค่าใช้จ่าย: 1. ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ อสม. 23 คน x 100 บาท เป็นเงิน 2,300 บาท
2. ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค 750 แผ่น x 0.50 บาทเป็นเงิน 375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1. คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ด้วยวิธี Check List ในอายุประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 1 ครั้ง/คน
2. ความครอบคลุมในการตรวจคัดกรองร้อยละ 100
(Outcome)
1. พบกลุ่มเสี่ยงมีอาการเข้าข่ายสงสัยป่วยเป็นวัณโรค ร้อยละ 20
2. ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงอาการเข้าข่ายสงสัยป่วยเป็นวัณโรค ตรวจยืนยันด้วยผลเสมหะ หรือเอกซเรย์ปอด ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2675.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงสูงเข้าใช้บริการตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยการเอกซเรย์เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 80
2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี Chack List เพิ่มขึ้นร้อยละ 100
3. ส่งต่อผู้มีอาการเข้าข่ายสงสัยป่วยเป็นวัณโรค ตรวจยืนยันด้วยผลเสมหะ หรือเอกซเรย์ปอด เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
4. พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 80


>