กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเทศบาลตำบลโคกม่วงประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลโคกม่วง

-

ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๕๒ มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ตามข้อ (4) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ซึ่งงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ให้สุขศึกษาในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
จากสถานการณ์ในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ประชาชนต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดในสังคม จนบางครั้งลืมนึกถึงภาวะสุขภาพ ทำให้เกิดโรคต่างๆเปลี่ยนแปลงไปจากโรคติดต่อเป็นโรคไม่ติดต่อ และจากโรคติดต่อที่มีความไม่รุนแรงหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น หรือเรียกว่าโรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคติดต่ออุบัติซ้ำ นั่นเอง
โรคติดต่ออุบัติใหม่หมายถึงโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในมนุษย์ เป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในมนุษย์เป็นโรคติดเชื้อชนิดใหม่ รวมถึงโรคติดต่ออุบัติซ้ำ ซึ่งก็คือโรคติดต่อจากเชื้อโรคที่เคยแพร่ระบาดในอดีต และสงบไปหลายปีแล้วกลับมาระบาดขึ้นใหม่ เช่น โรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ โรคติดเชื้อ มือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคเอดส์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคฉี่หนู เป็นต้น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เกิดโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลโคกม่วงตามลำดับ ดังนี้ 1.โรคไข้หวัดใหญ่ 102 ราย 2. โรคปอดบวม50 ราย 3. โรคไข้เลือดออก 34 ราย4. โรคมือ เท้าปาก 10 ราย5. โรคตาแดง 4 ราย6.โรคฉี่หนู 3 ราย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลโคกม่วง ได้ตระหนักถึงปัญหาโรคติดต่อที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเทศบาลตำบลโคกม่วง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและไม่เกิดการระบาดซ้ำ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำ/เครือข่ายสุขภาพ มีความรู้เรื่องการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อเพิ่มขึ้น
  1. แกนนำ/เครือข่ายสุขภาพ มีความรู้เรื่องการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
0.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อให้แก่ประชาชนและมีส่วนร่วมในการป้องกันโรค
  1. ประชาชนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดต่อร้อยละ 80
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10,450
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูให้ความรู้ และทบทวนงานของแกนนำ/เครือข่ายสุขภาพด้านงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อของตำบล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมฟื้นฟูให้ความรู้ และทบทวนงานของแกนนำ/เครือข่ายสุขภาพด้านงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อของตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แกนนำ/เครือข่ายสุขภาพด้านงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อของตำบลมีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อในตำบลเพิ่มขึ้น
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 55 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,375บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่งโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2567 ถึง 15 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำ/เครือข่ายสุขภาพด้านงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อของตำบลมีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อเพิ่มขึ้นและร่วมดำเนินการในการป้องกันควบคุมโรคตามแนวทางที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3175.00

กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วภายในหมู่บ้านและของตำบล

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วภายในหมู่บ้านและของตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของหมู่บ้านและของตำบลเพื่อแจ้งเตือนภัย การส่งข่าว หรือรายงานเบื้องต้นเฝ้าระวังและป้องกันโรค กรณีมีการเกิดโรคในพื้นที่ ร่วมค้นหา ประสานงานและติดตามผู้ป่วยสงสัยเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขโดยรวดเร็วตามแนวทางที่กำหนดและถูกต้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2567 ถึง 19 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของตำบลและร่วมกันทำงานในการเฝ้าระวังโรคติดต่อในพื้นที่ของตำบล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่สำรวจ รณรงค์การป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่เชิงรุกและต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่สำรวจ รณรงค์การป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่เชิงรุกและต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ลงพื้นที่สุ่มสำรวจ รณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่เชิงรุกทั้ง 3 เขตพื้นที่ รพ.สต. เช่น การให้คำแนะนำ แจกแผ่นพับ ป้ายรณงรงค์ต่างๆ โดยแกนนำ/เครือข่ายสุขภาพ ด้านงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อของตำบลและประชาชนในพื้นที่ที่มีความสนใจ
  • ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ การป้องกันโรคติดต่อดังกล่าวแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกม่วงโดยรถแห่ประชาสัมพันธ์ของเทศบาลอย่างต่อเนื่องเดือนละ 2 ครั้งและวิธีการปฏิบัติตัวลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเผยแพร่ความรู้ การป้องกันโรคติดต่อดังกล่าวให้กับประชาชนผ่านหอกระจายข่าวและช่องทางสื่อต่างๆในพื้นที *ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ
  • ป้ายไวนิลพร้อมกรอบไม้ติดรถแห่ประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 ป้าย ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000บาท
  • ป้ายรณรงค์โฟมบอร์ด จำนวน 5 ป้ายๆละ 435 บาท เป็นเงิน 2,175 บาท
  • ป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ติดในพื้นที่ทั้งสามเขตรพ.สต. จำนวน 3 ป้ายๆละ 500 เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4675.00

กิจกรรมที่ 4 จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมในการป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่

  • สเปรย์กำจัดยุงขนาด 300 มล. จำนวน 103 กระป๋องๆละ 90 บาท เป็นเงิน9,270 บาท
  • รองเท้าบู๊ทยางกันน้ำสูง 24 นิ้ว จำนวน 9คู่ๆละ 320 บาท เป็นเงิน2,880 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 29 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12150.00

กิจกรรมที่ 5 รายงานและสรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานและสรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2567 ถึง 30 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อได้อย่างถูกต้อง
2.มีการทำงานระหว่างภาคีเครือข่ายของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของหมู่บ้าน


>