กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเทศบาลตำบลโคกม่วงประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
รหัสโครงการ 67-L3312-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ธันวาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจริญศักดิ์ ชูสง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ เขตเทศบาลตำบลโคกม่วง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10450 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๕๒ มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ตามข้อ (4) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ซึ่งงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ให้สุขศึกษาในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ จากสถานการณ์ในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ประชาชนต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดในสังคม จนบางครั้งลืมนึกถึงภาวะสุขภาพ ทำให้เกิดโรคต่างๆเปลี่ยนแปลงไปจากโรคติดต่อเป็นโรคไม่ติดต่อ และจากโรคติดต่อที่มีความไม่รุนแรงหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น หรือเรียกว่าโรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคติดต่ออุบัติซ้ำ นั่นเอง โรคติดต่ออุบัติใหม่หมายถึงโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในมนุษย์ เป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในมนุษย์เป็นโรคติดเชื้อชนิดใหม่ รวมถึงโรคติดต่ออุบัติซ้ำ ซึ่งก็คือโรคติดต่อจากเชื้อโรคที่เคยแพร่ระบาดในอดีต และสงบไปหลายปีแล้วกลับมาระบาดขึ้นใหม่ เช่น โรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ โรคติดเชื้อ มือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคเอดส์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคฉี่หนู เป็นต้น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เกิดโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลโคกม่วงตามลำดับ ดังนี้ 1.โรคไข้หวัดใหญ่ 102 ราย 2. โรคปอดบวม50 ราย 3. โรคไข้เลือดออก 34 ราย4. โรคมือ เท้าปาก 10 ราย5. โรคตาแดง 4 ราย6.โรคฉี่หนู 3 ราย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลโคกม่วง ได้ตระหนักถึงปัญหาโรคติดต่อที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเทศบาลตำบลโคกม่วง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและไม่เกิดการระบาดซ้ำ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำ/เครือข่ายสุขภาพ มีความรู้เรื่องการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อเพิ่มขึ้น
  1. แกนนำ/เครือข่ายสุขภาพ มีความรู้เรื่องการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
0.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อให้แก่ประชาชนและมีส่วนร่วมในการป้องกันโรค
  1. ประชาชนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดต่อร้อยละ 80
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
15 ม.ค. 67 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูให้ความรู้ และทบทวนงานของแกนนำ/เครือข่ายสุขภาพด้านงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อของตำบล 0 3,175.00 -
15 - 19 ม.ค. 67 จัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วภายในหมู่บ้านและของตำบล 0 0.00 -
16 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 ลงพื้นที่สำรวจ รณรงค์การป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่เชิงรุกและต่อเนื่อง 0 4,675.00 -
1 - 29 มี.ค. 67 จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ 0 12,150.00 -
30 ก.ย. 67 - 30 ต.ค. 67 รายงานและสรุปผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในพื้นที่สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อได้อย่างถูกต้อง
2.มีการทำงานระหว่างภาคีเครือข่ายของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของหมู่บ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2566 12:13 น.