กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการการวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเขต รพ.สต.บ้านป่าบาก ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเขต รพ.สต.บ้านป่าบาก ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก

1. นายสมบัติ ช่อคง
2. นางนี เลี่ยนกัตวา
3. นางดารา ทองอินทร์
4. นายวิเชียร จงรัตน์
5. นางทัศนีย์ ดำชุม

บ้านทุ่งคลองควายหมู่ที่2 บ้านยางขาคีมหมู่ที่6 บ้านป่าบากหมู่ที่9 ต.ทุ่งนารี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า 12 ล้านคน แต่มีผู้เข้าถึงการรักษาและขึ้นทะเบียนเพียง 4 ล้านคน ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ได้เพียงร้อยละ 29.7 แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ความดันโลหิตในคนไทยลดลง ยังเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ที่ป่วยแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการมากกว่าครึ่ง ตลอดจนการวินิจฉัยและการรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร การศึกษาในกลุ่มเสี่ยงไทยที่เป็นความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้ พบว่า การวัดความดันโลหิตที่บ้าน ช่วยให้อัตราการควบคุมความดันโลหิตได้เพิ่มมากกว่า ร้อยละ 50 และผู้ป่วยความดันโลหิตที่วัดค่าความดันโลหิตที่บ้าน ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4 - 8 มม.ปรอท ในเวลา 1 ปี เมื่อเทียบกับการวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล ดังนั้นการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Monitoring : HBPM) จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ตามเกณฑ์ จากการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบากในปี 2565 พบกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง (ค่าระดับความดันโลหิตตัวบน มากกว่าหรือเท่ากับ 130 ถึง น้อยกว่า 140 มม.ปรอท หรือ ค่าระดับความดันโลหิตตัวล่าง มีค่า มากกว่าหรือเท่ากับ 85 ถึง น้อยกว่า 90 มม.ปรอท) จำนวน 126 คน จากกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองทั้งหมด 1,089 คน คิดเป็นร้อยละ 11.57 กลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านโดย อสม. ต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน โดยวัดตอนตื่นนอนตอนเช้า 2 ครั้ง และก่อนเข้านอน 2 ครั้ง เอาค่าที่ได้มาเฉลี่ย หากยังเกิน 130/90 มม.ปรอท จะต้องส่งพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป เพราะหากปล่อยไว้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ซึ่งมีผลต่อการเสียชีวิตอันดับต้นๆ เกิดภาวะพิการเป็นภาระในทุกมิติทั้งกาย จิต สังคม เศรษฐกิจต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเขต รพ.สต.บ้านป่าบาก ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อดำเนินการควบคุมกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง ตามเกณฑ์การดูแลสุขภาพ "ใกล้นบ้าน ใกล้ใจ"

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมการวัดความดันโลหิตในกลุ่มสงสัยป่วยต่อเนื่องที่บ้าน

กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตตามแนวทางครอบคลุมทุกคน

11.57 12.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาทันท่วงทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการติดตามความดันโลหิตแล้วยังสูงได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาครบทุกคน

12.00 12.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
1. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย หมู่ที่ 2,6 และ 9

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย หมู่ที่ 2,6 และ 9

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. จัดทำแนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และแบบบันทึก

ชื่อกิจกรรม
2. จัดทำแนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และแบบบันทึก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบบันทึกการวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 200 แผ่นหน้าหลัง แผ่นละ 1 บาทเป็นเงิน 200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และแบบบันทึก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

กิจกรรมที่ 3 3. ฝึกทักษณะ อสม./ญาติ/ผู้ป่วย ให้สามารถวัดความดันโลหิตได้ และวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องจนครบ 7 วัน พร้อมบันทึกในแบบบันทึก

ชื่อกิจกรรม
3. ฝึกทักษณะ อสม./ญาติ/ผู้ป่วย ให้สามารถวัดความดันโลหิตได้ และวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องจนครบ 7 วัน พร้อมบันทึกในแบบบันทึก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 3 ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 200 คน เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าเอกสารประชุม จำนวน 200 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าป้ายโครงการไวนิลขนาด 1x2 เมตร รวมจำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม./ญาติ/ผู้ป่วย สามารถวัดความดันโลหิตได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8300.00

กิจกรรมที่ 4 4. จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต ให้อาสาสมัครสาธารณสุข ออกติดตามวัดความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
4. จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต ให้อาสาสมัครสาธารณสุข ออกติดตามวัดความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัติโนมัติ 6 เครื่อง ๆ ละ 3,500 บาท เป็นเงิน 21,000 บาท
  • ค่าถ่านอัลคาไลน์ AAA สำหรับเครื่องวัดความดัน 32 ก้อน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,120 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเครื่องวัดความดันโลหิต ให้อาสาสมัครสาธารณสุข ออกติดตามวัดความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22120.00

กิจกรรมที่ 5 5. หาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในรอบ 7 วัน หากยังสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่งพบแพทย์

ชื่อกิจกรรม
5. หาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในรอบ 7 วัน หากยังสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่งพบแพทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาทันท่วงทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,620.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตตามเกณฑ์ที่กำหนด
2.กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาตามมาตรฐาน
3.มีเครื่องวัดความดันโลหิตในหมู่บ้าน สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ทันทีอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงลดลง


>