กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี รหัส กปท. L3341

อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการการวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเขต รพ.สต.บ้านป่าบาก ประจำปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก
กลุ่มคน
1. นายสมบัติ ช่อคง
2. นางนี เลี่ยนกัตวา
3. นางดารา ทองอินทร์
4. นายวิเชียร จงรัตน์
5. นางทัศนีย์ ดำชุม
3.
หลักการและเหตุผล

คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า 12 ล้านคน แต่มีผู้เข้าถึงการรักษาและขึ้นทะเบียนเพียง 4 ล้านคน ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ได้เพียงร้อยละ 29.7 แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ความดันโลหิตในคนไทยลดลง ยังเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ที่ป่วยแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการมากกว่าครึ่ง ตลอดจนการวินิจฉัยและการรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร การศึกษาในกลุ่มเสี่ยงไทยที่เป็นความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้ พบว่า การวัดความดันโลหิตที่บ้าน ช่วยให้อัตราการควบคุมความดันโลหิตได้เพิ่มมากกว่า ร้อยละ 50 และผู้ป่วยความดันโลหิตที่วัดค่าความดันโลหิตที่บ้าน ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4 - 8 มม.ปรอท ในเวลา 1 ปี เมื่อเทียบกับการวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล ดังนั้นการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Monitoring : HBPM) จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ตามเกณฑ์ จากการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบากในปี 2565 พบกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง (ค่าระดับความดันโลหิตตัวบน มากกว่าหรือเท่ากับ 130 ถึง น้อยกว่า 140 มม.ปรอท หรือ ค่าระดับความดันโลหิตตัวล่าง มีค่า มากกว่าหรือเท่ากับ 85 ถึง น้อยกว่า 90 มม.ปรอท) จำนวน 126 คน จากกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองทั้งหมด 1,089 คน คิดเป็นร้อยละ 11.57 กลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านโดย อสม. ต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน โดยวัดตอนตื่นนอนตอนเช้า 2 ครั้ง และก่อนเข้านอน 2 ครั้ง เอาค่าที่ได้มาเฉลี่ย หากยังเกิน 130/90 มม.ปรอท จะต้องส่งพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป เพราะหากปล่อยไว้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ซึ่งมีผลต่อการเสียชีวิตอันดับต้นๆ เกิดภาวะพิการเป็นภาระในทุกมิติทั้งกาย จิต สังคม เศรษฐกิจต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเขต รพ.สต.บ้านป่าบาก ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อดำเนินการควบคุมกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง ตามเกณฑ์การดูแลสุขภาพ "ใกล้นบ้าน ใกล้ใจ"

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1.เพื่อส่งเสริมการวัดความดันโลหิตในกลุ่มสงสัยป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
    ตัวชี้วัด : กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตตามแนวทางครอบคลุมทุกคน
    ขนาดปัญหา 11.57 เป้าหมาย 12.00
  • 2. 2. เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาทันท่วงทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการติดตามความดันโลหิตแล้วยังสูงได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาครบทุกคน
    ขนาดปัญหา 12.00 เป้าหมาย 12.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. 1. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
    รายละเอียด

    จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย หมู่ที่ 2,6 และ 9

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. 2. จัดทำแนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และแบบบันทึก
    รายละเอียด
    • ค่าถ่ายเอกสารแบบบันทึกการวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 200 แผ่นหน้าหลัง แผ่นละ 1 บาทเป็นเงิน 200 บาท
    งบประมาณ 200.00 บาท
  • 3. 3. ฝึกทักษณะ อสม./ญาติ/ผู้ป่วย ให้สามารถวัดความดันโลหิตได้ และวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องจนครบ 7 วัน พร้อมบันทึกในแบบบันทึก
    รายละเอียด
    • ค่าวิทยากร 3 ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
    • ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 200 คน เป็นเงิน 5,000 บาท
    • ค่าเอกสารประชุม จำนวน 200 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ค่าป้ายโครงการไวนิลขนาด 1x2 เมตร รวมจำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท
    งบประมาณ 8,300.00 บาท
  • 4. 4. จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต ให้อาสาสมัครสาธารณสุข ออกติดตามวัดความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
    รายละเอียด
    • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัติโนมัติ 6 เครื่อง ๆ ละ 3,500 บาท เป็นเงิน 21,000 บาท
    • ค่าถ่านอัลคาไลน์ AAA สำหรับเครื่องวัดความดัน 32 ก้อน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,120 บาท
    งบประมาณ 22,120.00 บาท
  • 5. 5. หาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในรอบ 7 วัน หากยังสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่งพบแพทย์
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 15 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

บ้านทุ่งคลองควายหมู่ที่2 บ้านยางขาคีมหมู่ที่6 บ้านป่าบากหมู่ที่9 ต.ทุ่งนารี

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 30,620.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตตามเกณฑ์ที่กำหนด 2.กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาตามมาตรฐาน 3.มีเครื่องวัดความดันโลหิตในหมู่บ้าน สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ทันทีอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงลดลง

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี รหัส กปท. L3341

อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี รหัส กปท. L3341

อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 30,620.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................