กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกินอยู่อย่างไรให้ปลอดภัยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลรือเสาะ /ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลบูกิ๊ตจือแร

1.นส.เจะรอฮานิงกาเดร์ ประธานอสม ม.9
2.นส.มาสด๊ะดือราแม ประธานอสม ม.7
3.นส มายีด๊ะวอแฉะอสม ม.9
4. นส รอฮานีเอกรัตน์อสม ม.9
5.นส.พาอีซะห์ ดือราแม อสม ม.7

รพสต.บ้านบูกิ๊ตจือแร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันคนไทยทั้งที่อยู่ในชุมชนเมืองและในชนบททั่วประเทศประสบปัญหาสุขภาพไม่แตกต่างกันล้วนเป็นโรคที่เกิดมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงตรวจพบจำนวนกว่า 10 ล้านคนเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2559 ถึง 4 เท่าตัวและพบว่าโรคเบาหวานกว่า 3 ล้านคน ซึ่งใช้เงินสำหรับรักษาผู้ป่วยเบาหวานอายุ 20 - 79 ปี มากถึงราว 10.688 ล้านล้านบาท สภาพปัญหาสาธารณสุข ได้มีโรคใหม่เกิดขึ้นมามากมายมีทั้งโรคติตต่อและโรคไม่ติดต่อ ซี่งกลุ่มโรคไม่ติดต่อพบลว่ามีคนไทยจำนวนมากป่วยและยังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น อันได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อุบัติเหตุ โรคหัวใจ มะเร็ง ภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โรคที่เกิดจากความเครียดและโรคทางจิตประสาท โรคไม่ติดต่อเมื่อป่วยแล้วส่วนใหญ่รักษาไม่หาย ต้องกลายเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรับประทานยาตลอดชีวิต มีผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต ทำให้คุณภาพชีวิตไม่ดี ปัจจุบันมีการปฏิรูประบบสุขภาพที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การพัฒนาขบวนการสร้างเสริมสุขภาพและการสาธารณสุขมูลฐานที่กระทำโดยประชาชนเพื่อประชาชน โดยเน้นการเสริมสร้างพลังอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองทั้งด้านกาย - ใจ สังคม จิตวิญญาณ ดังนั้นการค้นหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานทุกปี จึงเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ตื่นตัวในการตรวจสุขภาพเพื่อหาโรคดังกล่าว ซึ่งการค้นพบตั้งแต่เริ่มแรกทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สูญเสียทรัพยากรบุคคลน้อยลง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำลบ้านบูกิ๊ตจือแร ได้จัดอบรมกลุ่มเสี่ยง ซึ่งเห็นได้จากการสรุปผลการอบรมว่า กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตเพิ่มขึ้น รู้จักวิธีการกินอาหารอย่างถูกสัดส่วน ออกกำลังกายตามสภาพ และกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจึงเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีเพื่อจะได้ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดอัตราการป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

๑. อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ5

5.00
2 ๒. เพื่อลดอัตราการป่วยโรคเบาหวานรายใหม่

๒.อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ2.4

2.40

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมประชุมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคความเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมประชุมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคความเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าประชุมจำนวน 70 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน4,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าประชุม จำนวน 70 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน4,200 บาท
  • ค่าสาธิตการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 1.ผักชนิดต่างๆ ราคา 300 บาท 2. ปลา ราคา 100 บาทเป็นเงิน 400
  • ค่าวิทยากร 600 บาท x 6 ชม เป็นเงิน3,600 บาท
  • ค่าอุกรณ์เครื่องวัดความดันและเบาหวาน 1. Omron (7120) ราคา 2,2902 เครื่อง = 4,580 บาท 2.เครื่องเจาะDTX(Accu-Chek)ราคา 1,9902 เครื่อง = 3,980 บาทเป็นเงิน 8,560
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20960.00

กิจกรรมที่ 2 ๒.กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
๒.กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าประชุม จำนวน 70 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน2,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,060.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับความรู้ ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง
๒. อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลง
๓. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง


>