กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนนาทับปลอดโรค อยุ่ดี ชีวีมีสุข ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

พื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากผลการดำเนินงานคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานของในปี 2567 พบว่าประชาชนที่ได้รับการคัดกรองเป็นกลุ่มเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานจำนวน 532 คิดเป็นร้อยละ19.92

 

20.00
2 จากผลการดำเนินงานคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในปี 2567 พบว่าประชาชนที่ได้รับการคัดกรองเป็นกลุ่มเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 532 คิดเป็นร้อยละ 19.92

 

20.00
3 จากการคัดกรองความดันโลหิตสูงและคัดกรองเบาหวานในปีงบประมาณที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวาน น้ำหนักเกินและค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มารตฐานมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ส่งผลให้มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ผู้ป่วยโรคเบาห

 

5.00

จากการคัดกรองโรค NCDs ในช่วงเวลา 3 ปีย้อนหลังพบว่ากลุ่มเสี่ยงโรค NCDsและกลุ่มสงสัยป่วยเพิ่มอัตราสูงขึ้น ปี2566,2567,2568 จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 680,821,104 และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 106,275,195 ตามลำดับ กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ปี2566,2567,2568 จำนวน 74,43,21 และกลุ่มสงสัยป่วย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 92,134,127 ตามลำดับ ทำให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่สูงขึ้นตามมาปี2566,2567,2568 ผู้ป่วยรายใหม่โรคเบาหวานปี2566,2567,2568 จำนวน5,3,5 ผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 7,7,8 ตามลำดับ ซึงเกิดจากปัจจัยร่วมหลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธ์ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่และดื่มสุรา การนอนหลับและความเครียด ระดับการศึกษา และจากการทำแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า ความรู้ไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรม จึงจัดทำโครงนี้ขึ้นมาเพื่อนำมาแก้ไข้ปัญหาโรค NCDs

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดร้อยละประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูง

อัตราป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5 ต่อประชากรกลุ่มเสี่ยง

20.00 19.00
2 2.เพื่อลดร้อยละประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวาน

อัตราป่วยรายใหม่โรคเบาหวานลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5 ต่อประชากรกลุ่มเสี่ยง

20.00 19.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 532
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/03/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ทำให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.นาทับ 8 หมู่บ้านได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ทำให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.นาทับ 8 หมู่บ้านได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานความดัน - ค่าเครื่องวัดความดันแบบดิจิตัล(สำหรับ อสม.ใช้คัดกรองใน 8 หมู่บ้าน) จำนวน 3 เครื่อง X 2500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท - ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว (สำหรับ อสม.ใช้คัดกรองใน 8 หมู่บ้าน) จำนวน 3 เครื่องX 2500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ มากกว่า 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 2 2.รับสมัครกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 106 คน

ชื่อกิจกรรม
2.รับสมัครกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 106 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดในพื้นที่รับผิดชอบและให้ข้อมูลภัยเงียบจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

  • ใบตอบรับเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 106 ใบ X 1 บาท เป็นเงิน 106 บาท

  • ใบสมัครเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 106 ใบ X 1 บาท เป็นเงิน 106 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 15 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสียงได้เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส. อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
  • กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง 1 เดือน,3เดือนและ 6 เดือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
212.00

กิจกรรมที่ 3 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มสงสัยป่วยทั้งหมด 8 หมู่บ้านได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1,3และ 6 เดือน (จำนวนร้อยละ 20 ของกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพกายและจิตต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหมด 532 คน) จำนวน 106 คน X 35 บาท X ครั้ง เป็นเงิน 3,710 บาท
  • ค่าสมุดความรู้และบันทึกข้อมูลประจำตัว (จำนวนร้อยละ 20 ของกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพกายและจิตต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหมด 532 คน)จำนวน 106 คน X 70 บาท เป็นเงิน 7,420 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์
    • ปากกาสีน้ำเงิน จำนวน 1 กล่อง X 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท
    • กระดาษขนาดเอ 4 จำนวน 1 แพ็ค X 25 บาท เป็นเงิน 25 บาท
    • ปากกาเมจิกสีดำ แดง จำนวน 5 อัน X 10 บาท เป็นเงิน 50 บาท
    • อุปกรณ์ตัวอย่าง เช่นทัฟพี ผลไม้ เครื่องดื่ม เครื่องปรุ่งอาหารต่างๆ เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 1 ป้าย X ขนาดกว้าง 2.4 เมตร X ยาว1.2 เมตร X 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าวิทยากรให้ความรู้ด้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จัดเป็น 2 รุ่นๆละ 53 คน) รุ่นละ จำนวน 2 คน X 3 ชม X ุ600 บาท X 2 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทางกายและจิตมากกว่าร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15475.00

กิจกรรมที่ 4 3.ติดตามหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส

ชื่อกิจกรรม
3.ติดตามหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจซ้ำกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้า 1 เดือน,2เดือนและ 6 เดือน และสรุปผลภาวะสุขภาพหลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เมื่อครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ เพื่อนำมาคัดแยกกลุ่มตามความรุนแรงและการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดอัตราป่วยรายใหม่ - ติดตามโดยใช้สมุดความรู้และบันทึกข้อมูลประจำตัว จำนวน 106 คน แยกประเภทตามความรุนแรง เขียว เหลือง แดง
- ติดตามกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ - ติดตามกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานรายใหม่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5
  • กลุ่มป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5
  • กลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,687.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถนำไปถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เกิดบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพจากกลุ่มเป้าหมาย 106 คน เกิดบุคคลต้นแบบร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
- กลุ่มป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5
- กลุ่มป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5
- กลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่องและไม่เกิดเป็นผู้ป่วยรายใหม่ในปีถัดไป


>