กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเบาหวานในการจัดการตัวเองด้วยกระบวนการ DSMES ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางเคียงเพ็ญ ฐานะภักดี
2. นางวันวิลา ชูโชติวัฒนากูล

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่รุนแรงที่สุดในโลกและมีจำนวนผุ้ป่วยพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติในปี 2563 พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี มีผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในระบบทะเบียน 3.3 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 16,388 ราย คิดเป็นอัตราตาย 25.1 ต่อแสนประชากร ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี ในจังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยู่ในระบบทะเบียนจำนวน 27,740 ราย ในอำเภอสุไหงโก-ลก มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 2,673 ราย ในเขตตำบลสุไหงโก-ลก มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 1,423 ราย ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดี และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวน 621 ราย คิดเป็น 43.71 % และผู้ป่วยที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ที่อยู่ในระบบทะเบียน จำนวน 212 ราย สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี จำนวน 80 ราย คิดเป็น 37.74 % จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่ถูกต้องและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละบุุคคลเช่น ผู้ป่วยผิดนัด รับประทานยาไม่ถูกต้องรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ หยุดยาเอง ไม่ควบคุมอาหาร ไม่ออกกำลังกายดังนั้น ทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของปัญหาเหล่านี้ จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเบาหวานในการจัดการตัวเองด้วยกระบวนการ DSMES เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ลดภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนมีระดับ HBA1C < 8
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนมีระดับค่า HBA1C < 7
50.00 70.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ และสามารถปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ และสามารถปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  2. จัดทำทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  3. ทำแผน จัดทำโครงการเสนออนุมัติ
  4. ประสานงานกับเครือข่าย วางแผนดำเนินงานในทีมสุขภาพศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 และจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนดำเนินงาน
  5. คัดเลือกผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าร่วมโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการเตรียมการในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน
2. แกนนำในชุมชุนศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 จำนวน 20 คน
3. คณะทำงาน จำนวน 10 คน
จำนวน 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานโดยใช้กระบวนการ DSMES (Diabetes Self-Management Education and Support)
2. กิจกรรมกลุ่มโดยใช้กระบวนการ DSMES (Diabetes Self-Management Education and Support)
กำหนดการ
08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 10.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
10.00 - 11.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ2ส
11.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาโรคเบาหวาน
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. กิจกรรมกลุ่มโดยใช้กระบวนการ DSMES
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดืม 30 บาท x 2 มื้อ x 80 คน ราคา 4,800 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ x 80 คน ราคา 4,800 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม คนละ 300 บาท x 5 คน x 1 ชั่วโมง จำนวน 1,500 บาท
5. ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1,200 บาท
6. ค่าเครื่องเจาะตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องละ 2,500 บาท x จำวน 10 เครื่อง ราคา 25,000 บาท
7. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม ได้แก่ ปากกา กระดาษ สมุด แฟ้ม เป็นต้น เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. แกนนำในชุมชนรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 จำนวน 10 คน 2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 50 คน ผลลัพท์
1. แกนนำในชุมชนสามารถให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ 2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้และสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44100.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มๆละ 10 คน 5 กลุ่ม
2. แกนนำในชุมชุนศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 จำนวน 20 คน
3. คณะทำงาน จำนวน 10 คน
รวมจำนวน 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้แกนนำในชุมชุนเป็นผู้ติดตามเคสร่วมด้วย ทุก 1 เดือน 1 ครั้ง และทุก 3 เดือน 2 ครั้ง รวม 3 ครั้ง
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 1 มื้อ x 80 คน x 3 ครั้ง เป็นเงิน 7,200 บาท
2. ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงาน 20 คน x 50 บาท x 2 ชั่วโมง ราคา 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน
ผลลัพท์
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ และค่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 130 mg%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9200.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มๆละ 10 คน 5 กลุ่ม
2. แกนนำในชุมชุนศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 จำนวน 20 คน
3. คณะทำงาน จำนวน 10 คน
รวมจำนวน 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสะสม
2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. สรุปผลและมอบเกียรติบัตร
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 80 คน เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน
ผลลัพท์
1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ และค่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 130 mg%
2. ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ค่าระดับน้ำตาลสะสม น้อยกว่า 7 หรือลดลง จากเดิม
3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อน ค่าระดับน้ำตาลสะสม น้อยกว่า 8 หรือลดลง จากเดิม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,700.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ และสามารถปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง


>