กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปุโรง ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง

1. นางนารีมะห์ จินารง
2. นางสาวอามาณี แนหะ
3. นางบีเดาะ มะสาและ
4. นายเจ๊ะอูมา ดือราแม
5. นายอับดุลเลาะห์ หะยีสามะ

ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมผู้สูงอายุ เป็นแนวโน้มที่ทุกชาติทั่วโลกหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ไว้ว่าทั่วโลกจะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ถึง 1,200 ล้านคนในปี พ.ศ. 2568 และ 2,000 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2593 หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรโลกทั้งหมด สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2566 มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20.66 ของประชากรทั้งประเทศ และในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28.55 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้สูงอายุ เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความต้องการแตกต่างไปจากวัยอื่นรวมทั้งปัญหาในด้านสุขภาพที่แตกต่างกันร่างกายมีการถดถอยและเสื่อมลงเป็นผลทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เบียดเบียน สิ่งสำคัญคือการได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและใจ จากการสำรวจผู้สูงอายุตำบลปุโรงมีประชากรทั้งหมด 5,792 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 467 คน คิดเป็นร้อยละ 8.06 ของประชากร (ข้อมูลสำนักงานทะเบียน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566) จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ โดยดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดตียง และติดสังคม การดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม โดยทุกภาคส่วน “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง” และมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน การจัดการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความสุข เกิดทักษะในการดูแลตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุตำบลปุโรงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตใจที่ดี ไม่ให้เป็นภาระแก่ครอบครัวชุมชน และสังคมต่อไป จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปุโรง ประจำปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ พฤติกรรมเสี่ยง การป้องกันได้

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ พฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกัน

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

0.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ มีทักษะในการจัดการตัวเองได้

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ มีทักษะในการจัดการตัวเองได้

0.00
5 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายความเครียด เมื่อยล้า ให้ได้รับความสนุกสนาน เข้าสังคมมีเพื่อน มีกัลยาณมิตร

ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายความเครียด เมื่อยล้า สนุกสนาน เข้าสังคมมีเพื่อน มีกัลยาณมิตร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/10/2023

กำหนดเสร็จ 29/02/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 20 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 ตุลาคม 2566 ถึง 30 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

กิจกรรมที่ 2 รับสมัครนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปุโรง ประจำปี 2567

ชื่อกิจกรรม
รับสมัครนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปุโรง ประจำปี 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์และรับสมัครนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลปุโรง ประจำปี 2567
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ปฐมนิเทศนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปุโรง ประจำปี 2567

ชื่อกิจกรรม
ปฐมนิเทศนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปุโรง ประจำปี 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 ธันวาคม 2566 ถึง 12 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เรื่อง ประโยชน์ของการออกกำลังกาย - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

2.เรื่อง อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

3.เรื่อง โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

4.เรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

5.เรื่อง สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ/การดูแลตนเองเพื่อคลายเครียด - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

6.เรื่อง การใช้ยาในผู้สูงอายุ - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

7.เรื่อง การดูแลสุขภาพในช่องปากของผู้สูงอายุ - ค่าตอบแทนวิทยากรด้านสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,050 บาท

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ - ค่าทำป้ายไวนิลขนาด 1.20 x 2.50 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,050 บาท - ค่าหนังสือและวัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1-หนังสือเรียนกีรออาตี (อัลกุรอาน) จำนวน 50 ชุดๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 2-สมุด จำนวน 50 เล่มๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท 3-ปากกา จำนวน 1 กล่องๆ ละ 425 บาทเป็นเงิน 425 บาท 4-กระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 50 ใบๆ ละ 120 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท 5-ค่าจัดซื้อผ้าลือปัส (สำหรับออกกำลังกาย) จำนวน 50 ชิ้นๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,175 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 ธันวาคม 2566 ถึง 25 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
70575.00

กิจกรรมที่ 5 ฝึกอ่านอัลกุรอ่าน โดยใช้ ระบบกีรออาตี (แบ่งกลุ่มเรียน)

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอ่านอัลกุรอ่าน โดยใช้ ระบบกีรออาตี (แบ่งกลุ่มเรียน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ฝึกอ่านอัลกุรอ่าน โดยใช้ระบบกีรออาตี (แบ่งกลุ่มเรียน) โดยทีมวิทยากรอาสาประจำตำบล
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 ธันวาคม 2566 ถึง 25 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ปัจฉิมนิเทศและมอบ เกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ปัจฉิมนิเทศและมอบ เกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

กิจกรรมที่ 7 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 20 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 75,475.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ พฤติกรรมเสี่ยง การป้องกันได้
3. สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
4. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ มีทักษะในการจัดการตัวเองได้
5. ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายความเครียด เมื่อยล้า ให้ได้รับความสนุกสนาน เข้าสังคมมีเพื่อน มีกัลยาณมิตร


>