กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการวิถีโรงเรียนสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติและการพัฒนาศักยภาพยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
กลุ่มคน
นายรุสลาม ชาลี เบอร์โทร 082-8331417
นายอภิสิทธิ์ เล๊าะ เบอร์โทร 094-3201993
3.
หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะส่งผลให้ประเทศเจริญก้าวหน้า โดยการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่เหมาะสมร่วมกับการพัฒนาสุขภาพนักเรียนตามแนวทางของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติ ภายใต้แนวคิด การมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ซึ่งการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ประการหนึ่งคือ “สุขบัญญัติแห่งชาติ” โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้จัดทำข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติที่จำเป็นพื้นฐานในการดูสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติ เป็นข้อกำหนดที่เด็ก เยาวชน ตลอดจนถึงประชาชนทั่วไป พึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ตลอดจนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันโรค การละเลยในการปฏิบัติสุขบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, อัมพฤต, อัมพาต และโรคหัวใจ) หรือโรคแทรกซ้อนที่อันตรายร้ายแรง ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ จำเป็นต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ เพื่อปลูกฝั่งพฤติกรรมและส่งเสริมสุขภาพในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขโดยการพัฒนาตั้งแต่เด็กและเยาวชนให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ และครอบครัวในชุมชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และมีพฤติกรรมตาม สุขบัญญัติแห่งชาติ
การส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีและสามารถปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถจัดประสบการณ์ในการสร้างเสริมทักษะที่จะเป็นและจัดปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการปฏิบัติหรือการมีพฤติกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต สามารถจัดการสุขภาพเพื่อการพึ่งพาตนเองโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลนักเรียน ในสังกัดเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในปี 2566 (กลุ่มวัยเรียนอายุ 7 -14 ปี) ป่วยด้วยโรคอุจาระร่วงจำนวน 107 ราย อัตราป่วย 138.60 ต่อแสนประชากร, โรคไข้เลือดออกจำนวน 18 ราย อัตราป่วย 23.31 ต่อแสนประชากร และโรคตาแดงจำนวน 3 ราย อัตราป่วย 3.88 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญและ เป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดี จึงได้จัดทำโครงการวิถีโรงเรียนสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติและพัฒนาศักยภาพยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ปีงบประมาณ 2567

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อพัฒนาบุคลากรอนามัยโรงเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 85 ของบุคลากรอนามัยโรงเรียนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 85.00
  • 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสุขบัญญัติ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสุขบัญญัติ
    ขนาดปัญหา 160.00 เป้าหมาย 80.00
  • 3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง)
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 10 ของอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนลดลง
    ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 10.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรอนามัยโรงเรียน(ครู)ระดับชั้นประถมศึกษา 7 โรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (โรงเรียนเทศบาล 1 – 4, โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก, โรงเรียนบุญยลาภนฤมิตร, โรงเรียนเกษมทรัพย์) โรงเรียนละ 5 คน และคณะทำงานจำนวน 5 คน รวมทั้ง 40 คน
    รายละเอียดกิจกรรม : อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
    กำหนดการ :
    เวลา 08.00 – 08.45 น. ลงทะเบียน
    เวลา 08.45 – 09.00 น. พิธีเปิดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ โดย นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก กล่าวรายงาน โดยรองผู้อำนวยการกลุ่มปฐมภูมิ
    เวลา 09.00 – 10.30 น. Pre-test และบรรยายเรื่องความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
    เวลา 10.30 – 12.00 น. อบรมให้ความรู้ในระบบการประเมินและพัฒนาโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ (Health Gate) วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
    เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    เวลา 13.00 – 14.00 น. อบรมให้ความรู้ในระบบการประเมินความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพวิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
    เวลา 14.00 – 15.00 น. อบรมให้ความรู้ในระบบเครื่องมือและโปรแกรมประเมิน HL และ HB ปี 2567วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
    เวลา 15.00 – 16.00 น. อบรมให้ความรู้ในระบบเครื่องมือสำหรับวัยเรียนในโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
    เวลา 16.00 – 16.30 น. Post-Test พิธีปิด
    งบประมาณ
    ๑) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 บาท x 2 มื้อ x 40 คน เป็นเงิน 2,400 บาท
    ๒) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 บาท x 40 คน เป็นเงิน 2,400 บาท

    งบประมาณ 4,800.00 บาท
  • 2. การอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.)
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรอนามัยโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 7 โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (โรงเรียนเทศบาล 1 – 4, โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก, โรงเรียนบุญยลาภนฤมิตร, โรงเรียนเกษมทรัพย์) ครู 2 คน , นักเรียน 13 คน รวมโรงเรียนละ 15 คนและคณะทำงานจำนวน 5 คน รวมทั้ง 110 คน
    รายละเอียดกิจกรรม : การอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
    กำหนดการ :
    เวลา 08.00 – 08.45 น. ลงทะเบียน
    เวลา 08.45 – 09.00 น. พิธีเปิดการอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) โดย นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก กล่าวรายงาน โดยรองผู้อำนวยการกลุ่มปฐมภูมิ
    เวลา 09.00 – 10.00 น. Pre-test และบรรยายเรื่องยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) และสุขบัญญัติแห่งชาติ วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
    เวลา 10.00 – 11.00 น. การจัดการสุขภาพในชุมชนและบทบาทของแกนนำในการจัดการสุขภาพ วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
    เวลา 11.00 – 12.00 น. การดูแลสุขภาพกายด้วยโภชนาการ วิทยากรโดย (นักโภชนาการ)
    เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    เวลา 13.00 – 14.00 น. การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่อง AED วิทยากรโดย (แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน)
    เวลา 14.00 – 15.00 น. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ/ การจัดการอารมณ์ และทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่น วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
    เวลา 15.00 – 16.00 น. การทำแผนกิจกรรมการเรียนรู้และโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนและชุมชนวิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
    เวลา 16.00 – 16.30 Post-Test พิธีปิด
    งบประมาณ
    ๑) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 บาท x 2 มื้อ x 110 คนเป็นเงิน 6,600 บาท
    ๒) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 บาท x 110 คน เป็นเงิน 6,600 บาท
    3) ค่าตอบแทนวิทยากร (บรรยาย) 600 บาท 6 คน X 1 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
    4) ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ปลอกแขน) 7 โรงเรียนๆ ละ 10 คน X 110 บาท เป็นเงิน 7,700 บาท

    งบประมาณ 24,500.00 บาท
  • 3. การประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรอนามัยโรงเรียนและแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) 7 โรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (โรงเรียนเทศบาล 1 – 4, โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก, โรงเรียนบุญยลาภนฤมิตร, โรงเรียนเกษมทรัพย์) โรงเรียนละ 5 คน และคณะกรรมการ 5 คน และคณะทำงานจำนวน 10 คน รวมทั้ง 50 คน
    รายละเอียดกิจกรรม : นำเสนอผลการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติและการประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ ทั้ง 4 ด้าน
    กำหนดการ :
    เวลา 08.30 – 08.45 น. ลงทะเบียน
    เวลา 08.45 – 09.00 น. แนะนำคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ 5 ท่าน
    เวลา 09.00 – 12.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ โรงเรียนละ 20 นาที คณะกรรมการซักถาม โรงเรียนละ 10 นาที รวมโรงเรียนละ 30 นาที
    เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    เวลา 13.00 – 14.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ โรงเรียนละ 20 นาที คณะกรรมการซักถาม โรงเรียนละ 10 นาที รวมโรงเรียนละ 30 นาที (ต่อ)
    เวลา 14.00 – 16.00 น. สรุปการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ
    งบประมาณ
    ๑) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 บาท x 2 มื้อ x 50 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
    ๒) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 บาท x 50 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
    3) ค่าวัสดุอุปกรณ์ป้ายอคิลิค โรงเรียนละ 1 ป้าย X 7 โรงเรียน X 1,500 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท

    งบประมาณ 16,500.00 บาท
  • 4. การประเมินคัดเลือกนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบ
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย ตัวแทนนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) 7 โรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (โรงเรียนเทศบาล 1 – 4, โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก, โรงเรียนบุญยลาภนฤมิตร, โรงเรียนเกษมทรัพย์) โรงเรียนละ 2 คน, ครูและบุคลากรอนามัยโรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน และคณะกรรมการ 7 คน และคณะทำงานจำนวน 10 คน รวมทั้ง 45 คน
    รายละเอียดกิจกรรม : นำเสนอผลการดำเนินงานของนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบ ในโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ ตามเกณฑ์มาตรฐานแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบ
    กำหนดการ :
    เวลา 08.30 – 08.45 น. ลงทะเบียน
    เวลา 08.45 – 09.00 น. แนะนำคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ 7 ท่าน
    เวลา 09.00 – 12.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบโรงเรียนละ 20 นาที คณะกรรมการซักถาม โรงเรียนละ 10 นาที รวมโรงเรียนละ 30 นาที
    เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    เวลา 13.00 – 14.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบ โรงเรียนละ 20 นาที คณะกรรมการซักถาม โรงเรียนละ 10 นาที รวมโรงเรียนละ 30 นาที (ต่อ)
    เวลา 14.00 – 16.00 น. สรุปการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ
    งบประมาณ
    ๑) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 บาท x 2 มื้อ x 45 คน เป็นเงิน 2,700 บาท
    ๒) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 บาท x 45 คน เป็นเงิน 2,700 บาท
    3) ค่าวัสดุอุปกรณ์โล่รางวัล X 3 โล่ X โล่ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท

    งบประมาณ 9,900.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ห้องประชุมราชพฤกษ์ ตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 55,700.00 บาท

หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. บุคลากรครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ
  2. นักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) มีความรู้และสามารถปฏิบัติในการเป็นยุวอาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียน ลดโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนและชุมชนที่ถูกต้อง
  3. ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ(โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนได้
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 55,700.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................