กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการวิถีโรงเรียนสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติและการพัฒนาศักยภาพยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวิถีโรงเรียนสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติและการพัฒนาศักยภาพยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นายรุสลาม ชาลี เบอร์โทร 082-8331417
นายอภิสิทธิ์ เล๊าะ เบอร์โทร 094-3201993

ห้องประชุมราชพฤกษ์ ตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนนักเรียน (กลุ่มวัยเรียนอายุ 7 -14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ป่วยด้วยโรคอุจาระร่วง (ข้อมูลปี 2566)

 

107.00
2 จำนวนนักเรียน (กลุ่มวัยเรียนอายุ 7 -14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (ข้อมูลปี 2566)

 

18.00
3 จำนวนนักเรียน (กลุ่มวัยเรียนอายุ 7 -14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ป่วยด้วยโรคตาแดง (ข้อมูลปี 2566)

 

3.00

การพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะส่งผลให้ประเทศเจริญก้าวหน้า โดยการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่เหมาะสมร่วมกับการพัฒนาสุขภาพนักเรียนตามแนวทางของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติ ภายใต้แนวคิด การมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ซึ่งการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ประการหนึ่งคือ “สุขบัญญัติแห่งชาติ” โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้จัดทำข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติที่จำเป็นพื้นฐานในการดูสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติ เป็นข้อกำหนดที่เด็ก เยาวชน ตลอดจนถึงประชาชนทั่วไป พึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ตลอดจนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันโรค การละเลยในการปฏิบัติสุขบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, อัมพฤต, อัมพาต และโรคหัวใจ) หรือโรคแทรกซ้อนที่อันตรายร้ายแรง ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ จำเป็นต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ เพื่อปลูกฝั่งพฤติกรรมและส่งเสริมสุขภาพในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขโดยการพัฒนาตั้งแต่เด็กและเยาวชนให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ และครอบครัวในชุมชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และมีพฤติกรรมตาม สุขบัญญัติแห่งชาติ
การส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีและสามารถปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถจัดประสบการณ์ในการสร้างเสริมทักษะที่จะเป็นและจัดปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการปฏิบัติหรือการมีพฤติกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต สามารถจัดการสุขภาพเพื่อการพึ่งพาตนเองโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลนักเรียน ในสังกัดเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในปี 2566 (กลุ่มวัยเรียนอายุ 7 -14 ปี) ป่วยด้วยโรคอุจาระร่วงจำนวน 107 ราย อัตราป่วย 138.60 ต่อแสนประชากร, โรคไข้เลือดออกจำนวน 18 ราย อัตราป่วย 23.31 ต่อแสนประชากร และโรคตาแดงจำนวน 3 ราย อัตราป่วย 3.88 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญและ เป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดี จึงได้จัดทำโครงการวิถีโรงเรียนสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติและพัฒนาศักยภาพยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ปีงบประมาณ 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาบุคลากรอนามัยโรงเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ

ร้อยละ 85 ของบุคลากรอนามัยโรงเรียนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ

40.00 85.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสุขบัญญัติ

ร้อยละ 80 ของนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสุขบัญญัติ

160.00 80.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง)

ร้อยละ 10 ของอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนลดลง

20.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรอนามัยโรงเรียน(ครู)ระดับชั้นประถมศึกษา 7 โรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (โรงเรียนเทศบาล 1 – 4, โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก, โรงเรียนบุญยลาภนฤมิตร, โรงเรียนเกษมทรัพย์) โรงเรียนละ 5 คน และคณะทำงานจำนวน 5 คน รวมทั้ง 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม : อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
กำหนดการ :
เวลา 08.00 – 08.45 น. ลงทะเบียน
เวลา 08.45 – 09.00 น. พิธีเปิดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ โดย นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก กล่าวรายงาน โดยรองผู้อำนวยการกลุ่มปฐมภูมิ
เวลา 09.00 – 10.30 น. Pre-test และบรรยายเรื่องความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
เวลา 10.30 – 12.00 น. อบรมให้ความรู้ในระบบการประเมินและพัฒนาโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ (Health Gate) วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 14.00 น. อบรมให้ความรู้ในระบบการประเมินความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพวิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
เวลา 14.00 – 15.00 น. อบรมให้ความรู้ในระบบเครื่องมือและโปรแกรมประเมิน HL และ HB ปี 2567วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
เวลา 15.00 – 16.00 น. อบรมให้ความรู้ในระบบเครื่องมือสำหรับวัยเรียนในโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
เวลา 16.00 – 16.30 น. Post-Test พิธีปิด
งบประมาณ
๑) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 บาท x 2 มื้อ x 40 คน เป็นเงิน 2,400 บาท
๒) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 บาท x 40 คน เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคลากรและครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้และสามารถพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 2 การอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.)

ชื่อกิจกรรม
การอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรอนามัยโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 7 โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (โรงเรียนเทศบาล 1 – 4, โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก, โรงเรียนบุญยลาภนฤมิตร, โรงเรียนเกษมทรัพย์) ครู 2 คน , นักเรียน 13 คน รวมโรงเรียนละ 15 คนและคณะทำงานจำนวน 5 คน รวมทั้ง 110 คน
รายละเอียดกิจกรรม : การอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
กำหนดการ :
เวลา 08.00 – 08.45 น. ลงทะเบียน
เวลา 08.45 – 09.00 น. พิธีเปิดการอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) โดย นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก กล่าวรายงาน โดยรองผู้อำนวยการกลุ่มปฐมภูมิ
เวลา 09.00 – 10.00 น. Pre-test และบรรยายเรื่องยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) และสุขบัญญัติแห่งชาติ วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
เวลา 10.00 – 11.00 น. การจัดการสุขภาพในชุมชนและบทบาทของแกนนำในการจัดการสุขภาพ วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
เวลา 11.00 – 12.00 น. การดูแลสุขภาพกายด้วยโภชนาการ วิทยากรโดย (นักโภชนาการ)
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 14.00 น. การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่อง AED วิทยากรโดย (แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน)
เวลา 14.00 – 15.00 น. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ/ การจัดการอารมณ์ และทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่น วิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
เวลา 15.00 – 16.00 น. การทำแผนกิจกรรมการเรียนรู้และโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนและชุมชนวิทยากรโดย (นักวิชาการสาธารณสุข)
เวลา 16.00 – 16.30 Post-Test พิธีปิด
งบประมาณ
๑) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 บาท x 2 มื้อ x 110 คนเป็นเงิน 6,600 บาท
๒) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 บาท x 110 คน เป็นเงิน 6,600 บาท
3) ค่าตอบแทนวิทยากร (บรรยาย) 600 บาท 6 คน X 1 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
4) ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ปลอกแขน) 7 โรงเรียนๆ ละ 10 คน X 110 บาท เป็นเงิน 7,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) มีความรู้และสามารถปฏิบัติในการเป็นยุวอาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียน ลดโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24500.00

กิจกรรมที่ 3 การประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ

ชื่อกิจกรรม
การประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรอนามัยโรงเรียนและแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) 7 โรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (โรงเรียนเทศบาล 1 – 4, โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก, โรงเรียนบุญยลาภนฤมิตร, โรงเรียนเกษมทรัพย์) โรงเรียนละ 5 คน และคณะกรรมการ 5 คน และคณะทำงานจำนวน 10 คน รวมทั้ง 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม : นำเสนอผลการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติและการประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ ทั้ง 4 ด้าน
กำหนดการ :
เวลา 08.30 – 08.45 น. ลงทะเบียน
เวลา 08.45 – 09.00 น. แนะนำคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ 5 ท่าน
เวลา 09.00 – 12.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ โรงเรียนละ 20 นาที คณะกรรมการซักถาม โรงเรียนละ 10 นาที รวมโรงเรียนละ 30 นาที
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 14.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ โรงเรียนละ 20 นาที คณะกรรมการซักถาม โรงเรียนละ 10 นาที รวมโรงเรียนละ 30 นาที (ต่อ)
เวลา 14.00 – 16.00 น. สรุปการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ
งบประมาณ
๑) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 บาท x 2 มื้อ x 50 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
๒) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 บาท x 50 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
3) ค่าวัสดุอุปกรณ์ป้ายอคิลิค โรงเรียนละ 1 ป้าย X 7 โรงเรียน X 1,500 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (โรงเรียนเทศบาล 1 – 4, โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก, โรงเรียนบุญยลาภนฤมิตร, โรงเรียนเกษมทรัพย์) ผ่านการประเมินโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ ตั้งแต่ระดับดี, ดีมาก และดีเยี่ยม ตามลำดับ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

กิจกรรมที่ 4 การประเมินคัดเลือกนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
การประเมินคัดเลือกนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ตัวแทนนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) 7 โรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (โรงเรียนเทศบาล 1 – 4, โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก, โรงเรียนบุญยลาภนฤมิตร, โรงเรียนเกษมทรัพย์) โรงเรียนละ 2 คน, ครูและบุคลากรอนามัยโรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน และคณะกรรมการ 7 คน และคณะทำงานจำนวน 10 คน รวมทั้ง 45 คน
รายละเอียดกิจกรรม : นำเสนอผลการดำเนินงานของนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบ ในโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ ตามเกณฑ์มาตรฐานแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบ
กำหนดการ :
เวลา 08.30 – 08.45 น. ลงทะเบียน
เวลา 08.45 – 09.00 น. แนะนำคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ 7 ท่าน
เวลา 09.00 – 12.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบโรงเรียนละ 20 นาที คณะกรรมการซักถาม โรงเรียนละ 10 นาที รวมโรงเรียนละ 30 นาที
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 14.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบ โรงเรียนละ 20 นาที คณะกรรมการซักถาม โรงเรียนละ 10 นาที รวมโรงเรียนละ 30 นาที (ต่อ)
เวลา 14.00 – 16.00 น. สรุปการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ
งบประมาณ
๑) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 บาท x 2 มื้อ x 45 คน เป็นเงิน 2,700 บาท
๒) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 บาท x 45 คน เป็นเงิน 2,700 บาท
3) ค่าวัสดุอุปกรณ์โล่รางวัล X 3 โล่ X โล่ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนมีแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) เพื่อเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพของตนเอง นักเรียน และชุมชนในพื้นที่ได้ (รางวัลยุว อสม.ต้นแบบ)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,700.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. บุคลากรครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ
2. นักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) มีความรู้และสามารถปฏิบัติในการเป็นยุวอาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียน ลดโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนและชุมชนที่ถูกต้อง
3. ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ(โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนได้


>