กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวิถีโรงเรียนสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติและการพัฒนาศักยภาพยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L6961-1-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 55,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรุสลาม ชาลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนนักเรียน (กลุ่มวัยเรียนอายุ 7 -14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ป่วยด้วยโรคอุจาระร่วง (ข้อมูลปี 2566)
107.00
2 จำนวนนักเรียน (กลุ่มวัยเรียนอายุ 7 -14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (ข้อมูลปี 2566)
18.00
3 จำนวนนักเรียน (กลุ่มวัยเรียนอายุ 7 -14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ป่วยด้วยโรคตาแดง (ข้อมูลปี 2566)
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะส่งผลให้ประเทศเจริญก้าวหน้า โดยการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่เหมาะสมร่วมกับการพัฒนาสุขภาพนักเรียนตามแนวทางของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติ ภายใต้แนวคิด การมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ซึ่งการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ประการหนึ่งคือ “สุขบัญญัติแห่งชาติ” โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้จัดทำข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติที่จำเป็นพื้นฐานในการดูสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติ เป็นข้อกำหนดที่เด็ก เยาวชน ตลอดจนถึงประชาชนทั่วไป พึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ตลอดจนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันโรค การละเลยในการปฏิบัติสุขบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, อัมพฤต, อัมพาต และโรคหัวใจ) หรือโรคแทรกซ้อนที่อันตรายร้ายแรง ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ จำเป็นต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ เพื่อปลูกฝั่งพฤติกรรมและส่งเสริมสุขภาพในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขโดยการพัฒนาตั้งแต่เด็กและเยาวชนให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ และครอบครัวในชุมชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และมีพฤติกรรมตาม สุขบัญญัติแห่งชาติ
การส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีและสามารถปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถจัดประสบการณ์ในการสร้างเสริมทักษะที่จะเป็นและจัดปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการปฏิบัติหรือการมีพฤติกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต สามารถจัดการสุขภาพเพื่อการพึ่งพาตนเองโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลนักเรียน ในสังกัดเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในปี 2566 (กลุ่มวัยเรียนอายุ 7 -14 ปี) ป่วยด้วยโรคอุจาระร่วงจำนวน 107 ราย อัตราป่วย 138.60 ต่อแสนประชากร, โรคไข้เลือดออกจำนวน 18 ราย อัตราป่วย 23.31 ต่อแสนประชากร และโรคตาแดงจำนวน 3 ราย อัตราป่วย 3.88 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญและ เป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดี จึงได้จัดทำโครงการวิถีโรงเรียนสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติและพัฒนาศักยภาพยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ปีงบประมาณ 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาบุคลากรอนามัยโรงเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ

ร้อยละ 85 ของบุคลากรอนามัยโรงเรียนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ

40.00 85.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสุขบัญญัติ

ร้อยละ 80 ของนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสุขบัญญัติ

160.00 80.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง)

ร้อยละ 10 ของอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนลดลง

20.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 55,700.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ 0 4,800.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 การอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) 0 24,500.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 การประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ 0 16,500.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 การประเมินคัดเลือกนักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ต้นแบบ 0 9,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. บุคลากรครูอนามัยโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ
  2. นักเรียนแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) มีความรู้และสามารถปฏิบัติในการเป็นยุวอาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียน ลดโรคติดต่อ (โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนและชุมชนที่ถูกต้อง
  3. ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ(โรคอุจาระร่วง, โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง) ในโรงเรียนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2566 00:00 น.