กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสมุนไพรบำบัดเพื่อสุขภาพ ชุมชนวัดคลองแห

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

คณะกรรมการชุมชนวัดคลองแห

1.นายยุทธศักดิ์ ดวงสุวรรณ

2.นายไพโรจน์ พัฒนพงษ์

3.นายพิชัย สังข์น้อย

4.นายสุธาสินี ฤทธิวงค์

5.นางสาวปุณณิกา สาวิโรจน์

ชุมชนวัดคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สมาชิกในชุนชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเท้าอักเสบ ปวดบวมมื้อเท้า

 

79.00
2 สมาชิกในชุมชนไม่มีสถานที่แช่เท้าเพื่อผ่อนคลายด้วยการแช่สมุนไพรป้องกันโรค

 

50.30

ในปัจจุบันปัญหาเรื่อวสุขภาพของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนส่วนใหญ่มองข้ามและไม่ค่อยได้รับความสนใจ สาเหตุการเกิดโรคไม่ว่าด้วยสาเหตุใดๆ เช่น ความเจ็บป่วยจากการทำงานและการประกอบอาชีพ การทำสิ่งเดิมๆซ้ำๆทุกวัน เป็นต้น และในปัจจุบันการแพทย์ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยวิถีไทยพื้นบ้านซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบโบราณของไทยและเป็นวิธีการที่กระทำได้โดยง่ายสามารถบรรเทาการเกิดโรคต่างๆที่เกิดจากการใช้ชีวิตปัจจุบัน เช่น การนั่ง การเดินการยืน เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้าหรือเท้าบวม ปวดหลังอ่อนล้าของร่างกายเพียงบางวส่วน ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดและเป็นสาเหตุในการเกิดโรคหลายโรคตามมา ก็คือ อาการปวดเท้า เป็นตะคริว มือและเท้าชา ซึ่งอาการเหล่านี้จะนำไปสู่การเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ที่สำคัญเท้าเป็นอวัยวะที่รับน้ำหนักในทุกอิริยาบถในชีวิตประจำวันอ แต่เราไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องเท้า
คณะกรรมการชุมชนวัดคลองแหตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ที่จะเกิดกับประชาชนในชุมชน หากไม่ได้รับการดูแลอาจะส่งผลเสียด้านสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชนได้ ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการสมุนไพรบำบัดเพื่อสุขภาพ ชุมชนวัดคลองแห โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ในการดูแลป้องกันโรคที่เกิดจากการดูแลชีวิตเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย

ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันดูแลตัวเองด้วยการใช้สมุนไพร

60.00 72.00
2 ผู้เข้าร่วมโครงการมีการแช่เท้าเพื่อผ่อนคลายด้วยสมุนไพร

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการแช่เท้าและมีอาการปวดเมื่อยเท้า ข้อเท้าลดลง

90.00 79.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการใช้ยาแก้ปวดลดลง

การใช้ยาแก้ปวดลดลง

80.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท

ค่าวัสดุอุปกรณ์ (กระดาษ A 4,ปากกา,สมุดจดบันทึก,น้ำยาลบคำผิด,กระดาษสี เป็นต้น) เป็นต้น 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มีนาคม 2567 ถึง 9 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5100.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครสมาชิก

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครสมาชิก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.5 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 675 บาท

-ค่าถ่ายเอกสารเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาสัมพันธ์โครงยการและรับสมัครสมาชิก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1175.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการสมุนไพรกับการป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการสมุนไพรกับการป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสมุนไพรกับการป้องกันโรคโดยมีกิจกรรมดังนี้

1.สัญญาณโรคที่เกิดจากการผิดปกติของเท้า

2.สมุนไพรกับการบำบัดมือ เท้าด้วนสมุนไพร

งบประมาณ

-ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 x 3 เป็นเงิน 675 บาท

-ค่าวิทยากรบรรยาย 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

-ค่าวิทยากรอบรมเชิงปฎิบัติการ จำนวน 3 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท

-ค่าสมุนไพรสาธิต (การบูร,ตะไคร่หอม,มะกรูด,ขมิ้นชัน,ไพร,พิมเสน เป็นต้น) จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 1,500 บาท

-ค่าวัสดุสาธิต (กะลามะพร้าวสำหรับนวดเท้าพร้อมราวจับ,กะละมังสำหรับแช่เท้า) เป็นเงิน 5,000 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท

-ค่าซื้อกระทะต้มสมุนไพร เป็นเงิน 2,000 บาท

-ค่าชื้อเตาแก๊ส 4,500 บาท

-ค่าแก๊สหุงต้ม จำนวน 2 ถังละๆ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2567 ถึง 10 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสมุนไพร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30275.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสมุนไพรบำบัดเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสมุนไพรบำบัดเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าสมุนไพรที่ใช้ในการแช่เท้า (การบูร,ตะไคร่หอม,มะกรูด,ขมิ้นชัน,ไพร,พิมเสน เป็นต้น) เดือนละ 4 ครั้งๆละ 1,000 บาท จำนวน 6 เดือน เป็นเงิน 24,000 บาท

-ค่าแก้สสำหรับต้มสมุนไพร เดือนละ 4 ครั้งๆละ 500 บาท จำนวน 6 เดือน เป็นเงิน 12,000 บาท

-ค่าบำรุงสถานที่ เดือนละ 1,000 บาท จำนวน 6 เดือน เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2567 ถึง 28 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการผ่อนคลาย และการใช้สมุนไพรให้เกิดประโยชน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42000.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท

ค่าจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการจำนวน 2 เล่มๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปโครงการ และส่งรายงานสรุปโครงการแก่กองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน )
2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
3.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการทานอาหารเพื่อสุขภาพ โภชนาการที่เหมาะสมกับโรคและวัย


>