กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะคนในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล โดย นางสาวสะกีน๊ะนิสัน ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

เขตรับผิดชอบ รพ.สต.ลำไพล หมู่ที่ 1,2,3,9,11 และ 12 ตำบลลำไพล อ.เทพา จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

6.25
2 ร้อยละของประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ เช่น ใช้สารเคมีในการเกษตรโดยป้องกันตนเองไม่เหมาะสม

 

0.50
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

 

10.00
4 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

50.00
5 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

20.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

6.25 0.00
2 เพื่อลดจำนวนประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ เช่น ใช้สารเคมีในการเกษตรโดยป้องกันตนเองไม่เหมาะสม

ร้อยละของประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ เช่น ใช้สารเคมีในการเกษตรโดยป้องกันตนเองไม่เหมาะสม

0.50 0.00
3 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

10.00 30.00
4 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

50.00 70.00
5 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

20.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมชี้แจงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ35 บาท เป็นเงิน 2100.00 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากรในการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 1 คนๆจำนวน 2 ชั่วโมงๆละ600 บาท เป็นเงิน 1200.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 60 คน มีความรู้เรื่องความปลอดภัยในการเลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ชุดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 60 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3000.00 บาท 2.แบบบันทึกการแปรผล พร้อมใบความรู้จำนวน 60 ชุด (ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกษตรกรได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้าง และเฝ้าระวังตนเอง ปฏิบัตตนเองได้เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 ฟื้นฟูความรู้ด้านการจัดการขยะในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ฟื้นฟูความรู้ด้านการจัดการขยะในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้แก่ครัวเรือนในเรื่องการคัดแยกขยะต้นทาง 1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ตัวแทนครัวเรือน จำนวน  105 คน ๆละ 35 บาท เป็นเงิน 3675 บาท 1.2 ค่าตอบแทนวิทยากรในการให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ  จำนวน 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1200.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีตัวแทนครัวเรือนเข้ารับการอบรมฟื้นฟู จำนวน 105 คน  และมีองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4875.00

กิจกรรมที่ 4 รณรงค์การปลูกผักสวนครัว บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การปลูกผักสวนครัว บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมรณรงค์การปลูกผักสวนครัว(Kick off)   1.1 ค่าพันธุ์ผักสวนครัว เช่น มะเขือ พริก มะเขือเทศ ฯลฯ จำนวน 600 ต้นๆละ 10 บาท เป็นเงิน 6000.00 บาท   1.2 ค่าปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 60 ถุงๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3000.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีครัวเรือนปลูกผักสวนครัว 60 หลังคาเรือน และขยายผลไปยังครัวเรือนใกล้เคียง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 5 การจัดตั้งกลุ่มตลาดสีเขียว

ชื่อกิจกรรม
การจัดตั้งกลุ่มตลาดสีเขียว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดตั้งตลาดสีเขียวในชุมชน จำนวน 1 แห่ง    -ค่าป้ายตลาด จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1500.00 บาท
   -ค่าแคร่ไม้ไผ่วางผลผลิตทางการเกษตรเพื่อจำหน่าย  จำนวน 3 อันๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1500.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีตลาดสีเขียวที่เป็นต้นแบบด้านอาหารปลอดภัย จำนวน 1 แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,175.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครัวเรือน สถานศึกษา วัด มัสยิด และหน่วยงานราชการมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง 100 %
2. ครัวเรือน สถานศึกษา วัด มัสยิด และหน่วยงานราชการ มีการจัดทำถังขยะเปียก 100 %
3. ประชาชนกลุ่มเกษตรได้รับการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด
4. อสม. ทุกครัวเรือน มีการปลูกผักปลอดสารพิษ 100 %
5. มีการเปิดตลาดนัดสีเขียว อย่างน้อย 1 แห่งในพื้นที่ตำบลลำไพล


>