กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (บาดันเซฮัต) ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นาย วัชริศ เจ๊ะเล๊าะ โทร. 081-5433221
นาย กามารอเด็ง มามะ
นาย ถาวร ชุ่มมงคล
นาง จารินี เหาะสัน
นางสาว สุมิตรา อูมา

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกทั้งในมิติ ของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม จากการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลก เสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 38 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 68 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) ในปีพ.ศ. 2555 เป็น 41 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 71 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) ในปีพ.ศ. 2559 โดยกลุ่มโรค NCDs ที่พบการเสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด (17.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 44) รองลงมาคือ โรคมะเร็ง (9.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 22) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (3.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9) และโรคเบาหวาน (1.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4) ซึ่งในแต่ละปีพบผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ในกลุ่มอายุ 30-69 ปีหรือเรียกว่า “การเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร”มากถึง 15 ล้านคน โดยร้อยละ 85 เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง
โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรคและอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร (30-69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ถึงปีพ.ศ. 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปีพ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายสูงกว่าเพศหญิง
โครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เป็นโครงการที่ชมรม อสม. จัดทำขึ้นทุกปี และ จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2559 ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน โดย อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ผลตอบรับจากชาวชุมชนค่อนข้างดี มีผู้มารับบริการเพิ่มขึ้น และมีผู้รับบริการรายใหม่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกเตือน โดยในปี 2566 มีการจัดโครงการนี้ใน 31 ชุมชน ผลการดำเนินโครงการมีกิจกรรมการคัดกรองทั้งหมด 1 ครั้ง พบว่ามีจำนวนผู้ถูกคัดกรองทั้งสิ้น 993 คน พบผลระดับความดันโลหิตสูง 278 คน (28%) ผลระดับน้ำตาลในเลือดสูง 238 คน (24%) ซึ่งผู้ที่มีค่าความดันโลหิตสูงหรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะถูกส่งต่อเพื่อรับการรักษาต่อไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการ ชาวชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่องและประชาชนกลุ่มป่วย ไม่มีภาวะแทรกช้อนจากโรคเรื้อรัง ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงได้จัดให้มีการดำเนินโครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพซาวชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก(บาดันเซฮัด)ประจำปี 2567 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำชุมชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน

แกนนำชุมชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

30.00 70.00
2 เพื่อคัดกรองและค้นหาผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในชุมชนและส่งต่อเพื่อรักษาตามกระบวนการ

ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้รับการคัดกรองและส่งต่อเพื่อรักษาตามกระบวนการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,175
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำสุขภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำสุขภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชนผู้ปฎิบัติงานคัดกรองในแต่ละชุมชน 4 โซน โซนละ 50 คน รวม 200 คน รายละเอียดกิจกรรม
- จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพทั่วไป เป็นระยะเวลา 1 วัน
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นแก่ประชาชนในชุมชน และการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพทั่วไปแก่ประชาชนในชุมชน
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. ฝึกปฏิบัติการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น (การเจาะเลือดปลายนิ้ว การวัดความดันโลหิต การวัดรอบเอว การคำนวณดัชนีมวลกาย) โดยแบ่งเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 200 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 12,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 x 200 เป็นเงิน 12,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บรรยาย) 600 บาท x 3 ชม.เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (กลุ่ม) 300 บาท x 5 คน x 3 ชม. เป็นเงิน 4,500 บาท
- ชุดตรวจน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็ม (30 ชุด/กล่อง) 500 บาท x 7 กล่อง เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำสุขภาพในชุมชนที่มีความรู้ในการคัดกรองสุขภาพเบื้งต้นเชิงรุกแก่คนในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33800.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชน (บาดันเซฮัต)

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชน (บาดันเซฮัต)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในชุมชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ใน 28 ชุมชน รวมทั้งหมด 890 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชุมคณะกรรมการ อสม. คณะกรรมการชุมชน เพื่อวางแผนรูปแบบการจัดกิจกรรมร่วมกัน
2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1,2
3. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในโครงการ
4. จัดกิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเชิงรุกในชุมชน จำนวน 1 ครั้งได้แก่ การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และคำนวนดัชนีมวลกาย เป็นต้น และให้ความรู้รายบุคคล ปฏิบัติตนอย่างไร ให้ห่างไกลโรคเรื้อรัง กำหนดการ
07.00 - 07.30 น. ลงทะเบียน
07.30 - 10.30 น. คัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเชิงรุก พร้อมให้ความรู้รายบุคคล การปฏิบัติตนอย่างไร ให้ห่างไกลโรคเรื้อรัง
งบประมาณ
- ชุดตรวจน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็ม (30 ชุด/กล่อง) กล่องละ 500 บาท จำนวน 30 กล่อง เป็นเงิน 15,000 บาท
- ถุงมือ ขนาดเบอร์ M จำนวน 6 กล่อง ราคา 220 บาท เป็นเงิน 1,320 บาท
- สำลีชุบแอลกอฮอล์แบบแผง จำนวน 3 กล่อง (8 ก้อน/แผง, 40 แผง/กล่อง) x กล่องละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าเอกสาร แฟ้ม กระดาษ ปากกา 100 บาทจำนวน 28 ชุมชน เป็นเงิน 2,800 บาท
รวมเป็นเงิน 20,920 บาท
- งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน 28 ชุมชน รวมเป็นเงิน 26,700 บาท แยกเป็นชุมชน ดังนี้
1. ชุมชนกูโบร์
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน เป็นเงิน 900 บาท
2. ชุมชนโต๊ะลือเบ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน เป็นเงิน 900 บาท
3. ชุมชนตันหยงมะลิ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน เป็นเงิน 900 บาท
4. ชุมชนโก-ลกวิลเลจ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 25 คน เป็นเงิน 750 บาท
5. ชุมชนบือเร็ง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 35 คน เป็นเงิน 1,050 บาท
6. ชุมชนกือบงกาแม
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
7. ชุมชนหัวสะพาน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 35 คนเป็นเงิน 1,050 บาท
8. ชุมชนเสาสัญญาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
9. ชุมชนดงงูเห่า
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
10. ชุมชนสวนมะพร้าว
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
11. ชุมชนมัสยิดกลาง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
12. ชุมชนจือแรตูลี
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 40 คนเป็นเงิน 1,200 บาท
13. ชุมชนสันติสุข
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 60 คนเป็นเงิน 1,800 บาท
14. ชุมชนบาโงปริเม็ง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
15. ชุมชนบาโงเปาะเล็ง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 25 คน เป็นเงิน 750 บาท
16. ชุมชนโปฮงยามู
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 40 คน เป็นเงิน 1,200 บาท
17. ชุมชนอริศรา
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
18. ชุมชนเจริญสุข
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 40 คนเป็นเงิน 1,200 บาท
19. ชุมชนหัวกุญแจ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
20. ชุมชนท่ากอไผ่
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 25 คน เป็นเงิน 750 บาท
21. ชุมชนท่าประปา
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 25 คน เป็นเงิน 750 บาท
22. ชุมชนท่าโรงเลื่อย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
23. ชุมชนหลังล้อแม็กซ์
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
24. ชุมชนศรีอามาน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 40 คนเป็นเงิน 1,200 บาท
25. ชุมชนทรายทอง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
26. ชุมชนซรีจาฮายา
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
27. ชุมชนเจริญเขต
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 30 คนเป็นเงิน 900 บาท
28. ชุมชนหลังด่าน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 20 คน เป็นเงิน 600 บาท
หมายเหตุ สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 35 ปี ในชุมชนได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 81,420.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำชุมชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง
2. ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้รับการคัดกรองและส่งต่อเพื่อรักษาตามกระบวนการ


>