กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแผนสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะแก่ชุมชน ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นายพิทักศิษย์พานิชธนาคม ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตีสิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริการฯ
นางสา่วรอซีดาเจ๊ะแว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นางสาวพนิดา รัตนสุริยา พยาบาลวิชาชีพำนาญการ

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

แผนสุขภาพชุมชน หมายถึง แผนงานด้านสุขภาพของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชนเป็นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนาและรับผลประโยชน์โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำ การสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาด้านสุขภาพ และการประเมินศักยภาพของชุมชนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเองโดยคำนึงถึงศักยภาพทรัพยากรภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนรวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชนกระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตนเองตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพและร่วมติดตามประเมินผลและเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายด้านที่ผสมผสานกันอันได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจากพันธุกรรมเจตคติความรู้และความเข้าใจปัจจัยด้านครอบครัวชุมชนสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กลวิธีดำเนินงานในหลายวิธีและใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่ต่อเนื่องโดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและโดยเฉพาะบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพเองดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาด้านสุขภาพและเพื่อเป็นการส่งเสริม ป้องกันโรคในชุมชนจึงจำเป็นจะต้องมีการจัดทำข้อมูลและจัดทำแผนงานที่ใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานดังกล่าวและมีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยการจัดทำแผนงานดังกล่าวอาจใช้เครื่องมือ เช่น แผนสุขภาพชุมชนแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เป็นต้น เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการให้บริการและช่วยเหลือประชาชนควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในด้านการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแผนสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะแก่ชุมชน ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคที่ดำเนินการโดยชุมชนซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกให้มีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชนในชุมชน

ชุมชนมีส่วนร่วมและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของคนในชุมชน แนวโน้มของปัญหา กลุ่มเสี่ยง รวมทั้งการกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของคนในชุมชนแนวโน้มของปัญหา กลุ่มเสี่ยง รวมทั้งการกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10
ตัวแทน อสม. ใน 31 ชุมชน ชุมชนละ 2 คน 62
ตัวแทนคณะกรรมการชุมชนใน 31 ชุมชน ชุมชนละ 2 คน 62

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแผนสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะแก่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแผนสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะแก่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ตัวแทนคณะกรรมการชุมชนใน 31 ชุมชน ชุมชนละ 2 คน = 62 คน
- ตัวแทน อสม. ใน 31 ชุมชน ชุมชนละ 2 คน = 62 คน
- คณะทำงาน 10 คน
รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 134 คน
วิธีดำเนินการ
- เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่มาเป็นวิทยากรสะท้อนปัญหาทางด้านสุขภาพในพื้นที่แต่ละพื้นที่
- จัดอบรมตามกำหนดการจำนวน4 รุ่น รุ่นละครึ่งวัน (รวม 2 วัน) ดังนี้
รุ่นที่ 1 โซนสันติภาพ
รุ่นที่ 2 โซนสายชล
รุ่นที่ 3 โซนย่านการค้า
รุ่นที่ 4 โซนขวัญประชา
กำหนดการ
8.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. บรรยายปัญหาสาธารณสุขในชุมชนแต่ละพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ (เจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1,2) และบรรยายแนวทางการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ และสรุปผลแผนสุขภาพของชุมชนตนเอง
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรม) 30 บาท × 124 คน × 1 มื้อ เป็นเงิน 4,020 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (คณะทำงาน) 60 บาท × 10 คน x 2 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (คณะทำงาน) 30 บาท × 10 คน x 2 มื้อ × 2 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 3 ชม. x 4 รุ่น เป็นเงิน 7,200 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ เอกสารในการประชุม แฟ้ม ปากกา เป็นต้น เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างแผนสุขภาพชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,620.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชุมชนมีส่วนร่วมและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชนในชุมชน
2. ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของคนในชุมชนแนวโน้มของปัญหา กลุ่มเสี่ยง รวมทั้งการกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ


>