กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแผนสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะแก่ชุมชน ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6961-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 พฤษภาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2567
งบประมาณ 16,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพนิดา รัตนสุริยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนสุขภาพชุมชน หมายถึง แผนงานด้านสุขภาพของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชนเป็นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนาและรับผลประโยชน์โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำ การสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาด้านสุขภาพ และการประเมินศักยภาพของชุมชนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเองโดยคำนึงถึงศักยภาพทรัพยากรภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนรวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชนกระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตนเองตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพและร่วมติดตามประเมินผลและเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายด้านที่ผสมผสานกันอันได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจากพันธุกรรมเจตคติความรู้และความเข้าใจปัจจัยด้านครอบครัวชุมชนสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กลวิธีดำเนินงานในหลายวิธีและใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่ต่อเนื่องโดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและโดยเฉพาะบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพเองดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาด้านสุขภาพและเพื่อเป็นการส่งเสริม ป้องกันโรคในชุมชนจึงจำเป็นจะต้องมีการจัดทำข้อมูลและจัดทำแผนงานที่ใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานดังกล่าวและมีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยการจัดทำแผนงานดังกล่าวอาจใช้เครื่องมือ เช่น แผนสุขภาพชุมชนแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เป็นต้น เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการให้บริการและช่วยเหลือประชาชนควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในด้านการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแผนสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะแก่ชุมชน ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคที่ดำเนินการโดยชุมชนซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกให้มีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชนในชุมชน

ชุมชนมีส่วนร่วมและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของคนในชุมชน แนวโน้มของปัญหา กลุ่มเสี่ยง รวมทั้งการกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของคนในชุมชนแนวโน้มของปัญหา กลุ่มเสี่ยง รวมทั้งการกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,620.00 1 16,620.00
1 ก.พ. 67 - 31 พ.ค. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแผนสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะแก่ชุมชน 0 16,620.00 16,620.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีส่วนร่วมและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชนในชุมชน
  2. ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของคนในชุมชนแนวโน้มของปัญหา กลุ่มเสี่ยง รวมทั้งการกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2566 00:00 น.